ภาพ : ALMA (ESO/NAOJ/NRAO), S. Dagnello

รูปทรงคล้ายจานที่อยู่รอบดาวของการก่อตัวเป็นดวงดาวจะประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจานฝุ่นก๊าซเหล่านี้เชื่อมโยงกับการปรากฏตัวของดาวเคราะห์อายุน้อย ที่เกิดขึ้นจากการเผชิญอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งในบรรดาจานฝุ่นก๊าซที่ถูกศึกษาอย่างจริงจัง ก็มีจานฝุ่นก๊าซที่ล้อมรอบดวงดาวชื่อ HD 163296 ดาวดวงนี้มีอายุ 5 ปี มีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ ตรวจพบโดยกล้องวิทยุโทรทรรศน์ขนาดยักษ์อัลมา (Atacama Large Millimeter/sub-millimeter Array-ALMA)

จานฝุ่นก๊าซรอบ HD 163296 ถูกนำเสนอข้อมูลว่ามีดาวเคราะห์ยักษ์อย่างน้อย 3 ดวงอาศัยอยู่ การสังเกตการณ์ล่าสุดของกล้องอัลมาพบว่าฝุ่นมีอยู่มากมายกว่า 300 เท่าของมวลโลก และยังเห็นพฤติกรรมแปลกๆ บางอย่างของการกระจายตัวของฝุ่นในอวกาศที่ไม่อาจอธิบายได้ง่ายๆ โดยเห็นฝุ่นน่าจะย้ายจากด้านนอกเข้ามาด้านในเนื่องจากเสียดทานกับก๊าซ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ยักษ์กับดาวหาง

ทั้งนี้ จานฝุ่นก๊าซไม่ได้ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นเท่านั้น แต่ยังมีประชากรที่คล้ายกับดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง นักวิจัยจากสถาบันฟิสิกส์ ดาราศาสตร์อวกาศและวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ (IAPS) ของสถาบันฟิสิกส์ ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี (INAF) เผยว่า การปรากฏตัวของดาวเคราะห์ยักษ์ส่งผลต่อดาวเคราะห์น้อยและดาวหางเหล่านี้ ทว่าทำให้เกิดการวิวัฒนาการในวงโคจรสั้นๆ แต่มีแรงกระตุ้นพลังที่รุนแรงจนเกิดอัตราการชนที่รุนแรงในดาวเคราะห์ที่มีความเร็วสูง และการชนที่รุนแรงเหล่านี้ได้ช่วยเติมเต็มประชากรฝุ่นในจานฝุ่นก๊าซนั่นเอง.