กระบอกฉีดยาและเข็มที่มีรูกลวงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งยารักษาโรคมานานกว่าร้อยปี ซึ่งการใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญแม่นยำของผู้ปฏิบัติงาน แต่บางพื้นที่ในร่างกายคนเรานั้นก็ซับซ้อนและมีความบอบบางมาก การใช้เข็มฉีดยาเพื่อส่งยาเข้าไปจึงเป็นเรื่องยาก เช่น บริเวณตาขาวกับเยื่อตาที่อยู่ส่วนด้านหลังของดวงตา เป็นต้น

ล่าสุดมีข่าวดีว่านักวิจัยจากโรงพยาบาลบริกแฮมและโรงพยาบาลหญิง ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตต์ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเข็มฉีดยาอัจฉริยะที่มีความไวต่อการรับรู้ในการกำหนดเป้าหมายเนื้อเยื่อ โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของการต้านทานเพื่อให้ส่งมอบยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยไม่ไปทำลายเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนอื่น อุปกรณ์ดังกล่าวมีชื่อว่า intelligent-injector for tissue-targeting (i2T2) สร้างโดยใช้เข็มฉีดยามาตรฐานและชิ้นส่วนจากหลอดฉีดยาที่มีขายทั่วไป

นักวิจัยเผยว่า เนื้อเยื่อของร่างกายของแต่ละคนมีความหนาแน่นต่างกัน ดังนั้นหัวเข็มอัจฉริยะก็จะใช้แรงดันต่างกันเพื่อให้การเคลื่อนที่ของเข็มเข้าสู่เนื้อเยื่อเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการทดสอบกับมนุษย์ แต่ทดสอบกับเนื้อเยื่อจากสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงในอนาคตอันใกล้นี้.

Credit : Nature Biomedical Engineering