บอนไซชิมปาคุ อายุ 400 ปี (ภาพจาก facebook / Seiji Iimura)

บอนไซล้ำค่า 7 ต้นถูกขโมยไปจากบ้านของสามีภรรยานักเลี้ยงบอนไซชาวญี่ปุ่น ทำให้ทั้งคู่ต้องออกมาขอร้องให้คนร้ายช่วยรดน้ำดูแลต้นไม้จิ๋วเหล่านี้ต่อด้วย เพราะพวกเขารักมันเหมือนลูก...

สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานในวันที่ 11 ก.พ. ว่า เกิดเหตุคนร้ายขโมยต้นบอนไซจำนวน 7 ต้นไปจากสวนในบ้านของสามีภรรยา เซอิจิ และ ฟุยุมิ อีมุระ ในจังหวัดไซตามะ ใกล้กรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มูลค่ารวมน้อย 13 ล้านเยน หรือราว 3.68 ล้านบาท

บอนไซในงานจัดแสดงบอนไซโลกครั้งที่ 8 เมื่อปี 2560 ในจังหวัดไซตามะ ของญี่ปุ่น
บอนไซในงานจัดแสดงบอนไซโลกครั้งที่ 8 เมื่อปี 2560 ในจังหวัดไซตามะ ของญี่ปุ่น

...

ต้นบอนไซที่ถูกขโมยไปรวมถึง “ต้นสนชิมปาคุ” ที่มีอายุกว่า 400 ปี ซึ่งแค่ต้นนี้ต้นเดียวก็มีมูลค่าถึง 10 ล้านเยน (ราว 2.83 ล้านบาท) เพราะมันถือเป็นสายพันธ์ุดาวเด่นของโลกบอนไซ และเป็นที่หมายปองของบรรดานักสะสมอย่างมาก โดยบอนไซต้นนี้กำลังจะถูกส่งเข้าประกวดในการแข่งขันที่ญี่ปุ่นในเดือนนี้ด้วย

“เราดูแลต้นไม่จิ๋วเหล่านี้เหมือนลูกของเรา” นางอีมุระกล่าว “ไม่มีคำใดที่สามารถอธิบายได้ว่าเรารู้สึกอย่างไร มันเหมือนกัยแขนขาของคุณถูกตัดออกไป” นางอีมุระกล่าวอีกว่า การขโมยบอนไซเกิดขึ้นในหลายๆ คืนของเดือนมกราคม และเชื่อว่าคนร้ายน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะสามารถลูกเฉพาะต้นไม้จิ๋วที่มูลค่าสูงท่ีสุดจากสวนของพวกเธอ ซึ่งมีบอนไซกว่า 3,000 พันต้นได้

บอนไซขนาดต่างๆ ที่บูทขายบอนไซในงานจัดแสดงบอนไซโลกครั้งที่ 8 เมื่อปี 2560
บอนไซขนาดต่างๆ ที่บูทขายบอนไซในงานจัดแสดงบอนไซโลกครั้งที่ 8 เมื่อปี 2560

นางอีมุระบอกกับซีเอ็นเอ็นด้วยว่า การปลูกต้นชิมปาคุต้นนี้ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก เพราะต้นไม้ดังเดิมถูกนำมาจากภูเขาเมื่อหลายร้อยปีก่อน และต้องใช้ความรู้ลึกซึ้งทางสรีรวิทยาของพืชเพื่อค่อยๆ ลดขนาดของมันจนกลายเป็นต้นไม้จิ๋ว โดยความสูงของบอนไซชิมปาคุตอนที่ถูกขโมยไปอยู่ที่ราว 1 เมตร กว้าง 70 เซนติเมตร “มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ในข้ามคืน” นางอีมุระกล่าว

นางอีมุระยอมรับด้วยว่า เป็นเรื่องยากที่จะนำต้นบอนไซที่เปลี่ยนมือเจ้าของไปแล้วกลับคืนมา หลังจากมีช่างฝีมือหลายคนพบเห็นรูปต้นไม้ของพวกเธอถูกโพสต์ขายบนโลกออนไลน์ เธอจึงร้องของให้คนร้ายช่วยดูแลบอนไซของพวกเธอให้ดี “ฉันอยากให้ใครก็ตามที่นำบอนไซไปช่วยรถน้ำพวกมันด้วย ต้นชิมปาคุนั้นอยู่มากว่า 400 ปีแล้ว มันต้องได้รับการดูแล และไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 1 สัปดาห์หากไม่มีการรดน้ำ”

“บอนไซเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไป แม้ว่าพวกเราจะจากไปแล้ว ถ้ามันได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม” นางอีมุระกล่าว