นักวิจัยมีความงุนงงสับสนมานานแล้วเกี่ยวกับกะโหลกมนุษย์โบราณลึกลับและก่อการถกเถียงกันมากที่พบในมองโกเลีย ซึ่งกลุ่มวิจัยพาเลโอครอน (PalaeoChron) จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ ได้นำไปวิเคราะห์ทางพันธุกรรมและหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีก็เฉลยว่า นี่เป็นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) บรรพบุรุษมนุษย์จากยุคไพลสโตซีน (Pleistocene hominin) เพียงหนึ่งเดียวที่ค้นพบในมองโกเลีย
ซากดังกล่าวเรียกว่ามองโกแลนโธรปัส (Mongolanthropus) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นมนุษย์ยุคใหม่ที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 34,950-33,900 ปีที่ผ่านมา ส่วนโค้งกลมของกะโหลกนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดรวมถึงสันคิ้วและกระดูกจมูก ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยนักวิจัยนำเอาข้อมูลจากอดีตมาเชื่อมโยงกับสายพันธุ์มนุษย์โบราณ อย่างกลุ่มมนุษย์โฮโม อิเลคตัส (Homo erectus) และกลุ่มมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthals)
กลุ่มวิจัยดังกล่าวเผยว่า การผสมผสานวิทยาศาสตร์ที่ล้ำสมัยกับการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี รวมถึงพันธุศาสตร์ ได้แสดงให้เห็นว่าซากมนุษย์ยุคใหม่และผลลัพธ์ที่เหมาะเจาะของบันทึกทางโบราณคดีมองโกเลีย ได้เชื่อมโยงยุคสมัยใหม่ไปจนถึงช่วงเหนือกว่ายุคหินเก่า (Pa-laeolithic) ได้อย่างน่าทึ่ง.