เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยใหม่ที่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางชีววิทยาของธารน้ำแข็งกลุ่มย่อยส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลกมากกว่าที่เคยคิดไว้ ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยมหาวิทยาลัยบริสตอล ในประเทศอังกฤษ ทีมวิจัยรายงานลงในวารสารธรรมชาติ (Nature) หลังจากทำงานภาคสนามโดยตั้งแคมป์เป็นเวลา 3 เดือน ไม่ไกลนักจากพืดน้ำแข็ง (ice sheets) หรือธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปของกรีนแลนด์ และได้เก็บตัวอย่างน้ำที่ไหลออกจากพืดน้ำแข็งขนาดใหญ่แห่งนี้ในช่วงฤดูร้อน
ทีมวิจัยเผยว่า ได้ใช้เครื่องตรวจจับสัญญาณหรือเซ็นเซอร์ตัวใหม่ สำหรับการวัดก๊าซมีเทนในน้ำละลายและไหลบ่าออกมาจากพืดน้ำแข็ง ซึ่งพบว่าก๊าซมีเทนถูกปล่อยออกจากใต้พืดน้ำแข็งอย่างต่อเนื่อง โดยคำนวณว่ามีก๊าซมีเทนอย่างน้อย 6,000 กิโลกรัมถูกส่งไปยังเครื่องตรวจวัด มีการเปรียบเทียบว่าพืดน้ำแข็งเพียงบางส่วนปล่อยก๊าซมีเทนโดยประมาณ เท่ากับมีเทนที่ปล่อยออกมาจากวัวถึง 100 ตัว
ก่อนหน้านี้ ก๊าซมีเทนเคยถูกตรวจพบในแกนน้ำแข็งของกรีนแลนด์และในทะเลสาบแอนตาร์กติกมาบ้างแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่ามีปริมาณน้ำหลอมละลายในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนจากพืดน้ำแข็งขนาดใหญ่ และระบบจุลินทรีย์ใต้น้ำแข็งได้ทำปฏิกิริยาสร้างก๊าซชีวภาพ ซึ่งจะมีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ โดยจะปล่อยก๊าซดังกล่าวลอยขึ้นสู่บรรยากาศ.
Credit : REUTERS/Lucas Jackson