เมื่อปี พ.ศ.2555 ทีมวิจัยจากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์ โฮล และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งพบว่าเป็นเวลายาวนานมากที่น้ำในมหาสมุทรดังกล่าวจะไหลเวียนลงไปยังความลึกที่ต่ำที่สุด บางทีอาจใช้เวลาหลายร้อยปีก็ว่าได้ จากข้อมูลเดิมนี้ทำให้ทีมวิจัยได้กลับมาคิดใหม่อีกครั้งถึงอุณหภูมิน้ำที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอาจเป็นตัวบอกใบ้สำคัญว่าอุณหภูมิผิวน้ำเป็นอย่างไรเมื่อหลายร้อยปีก่อน
ทีมวิจัยเผยว่า ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาจากสหพันธ์นานาชาติที่รู้จักกันในชื่อโครงการอาร์โก (Argo Program) เป็นกลุ่มคนที่ร่วมกันวัดความลึกของมหาสมุทรในช่วง 2 กิโลเมตรโดยประมาณ และจากการเปรียบเทียบหลักฐานอ้างอิง นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลการวัดอุณหภูมิความลึก 2 กิโลเมตร ระหว่างปี พ.ศ.2415-2419 และใช้ข้อมูลจากการสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ที่เลียนแบบการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตลอดช่วงเวลามากกว่า 100 ปีที่ผ่านมา แบบจำลองได้แสดงให้เห็นว่า ตลอดช่วงเวลาของศตวรรษที่ 20 นั้น ที่ความลึก 1.8-2.6 ของมหาสมุทรแปซิฟิกเคยมีอุณหภูมิความเย็น และแม้จะยังไม่สามารถชี้ชัดอย่างแม่นยำ แต่ทีมวิจัยได้เสนอความเป็นไปได้ว่าความเย็นน้ำอาจอยู่ระหว่าง 0.02-0.08 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ ยังเสนอความเป็นไปได้อื่นๆ ว่าความเย็นที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็งน้อย (Little Ice Age) ซึ่งเคลื่อนผ่านจากช่วงประมาณปี พ.ศ.1843-2413 ช่วงเวลานั้นเกิดปรากฏการณ์โลกร้อนยุคกลาง (Medieval Warm Period) ที่ทำให้น้ำลึกในมหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นมาก่อนที่จะเย็นลง และกำลังจะชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน.
Credit : Larry Madin, Woods Hole Oceanographic Institution