ในช่วง 13 ปีที่ยานอวกาศแคสสินีโคจรรอบดาวเสาร์ระหว่างปี พ.ศ.2547-2560 นักวิทยาศาสตร์สังเกตว่าบรรยากาศในซีกเหนือของดาวเคราะห์ดวงนี้เปลี่ยนจากสีฟ้าอ่อนไปเป็นสีทองหรือบ้างก็ว่าเหมือนสีเนื้อของปลาแซลมอน การเปลี่ยนสีอย่างสิ้นเชิงนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเมฆหมอกและแสงแดดในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์
นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ของภารกิจยานอวกาศแคสสินีเผยว่า มีความพยายามที่จะค้นหาแหล่งกำเนิดแสงทั้งหมดที่ส่องสว่างบนดาวเสาร์ เพื่อที่จะเข้าใจว่าแสงมีปฏิกิริยาทางเคมีอย่างไรกับบรรยากาศของดวงดาว ซึ่งหากได้คำตอบก็จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไขความกระจ่างถึงความแตกต่างในชั้นบรรยากาศของดาวก๊าซยักษ์ในระบบสุริยะของเรา อย่างดาวพฤหัสฯและดาวเสาร์ รวมถึงดาวน้ำแข็งยักษ์ เช่น ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนได้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มีเมฆหมอกที่ทำให้ดาวทั้งคู่ดูเป็นสีทอง แต่ในภาพจากยานอวกาศแคสสินี ก็พบว่าดาวเสาร์ไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกสีทองเสมอไป
เมื่อเทียบกับซีกโลกเหนือของเรา ซึ่งเผชิญหน้ากับดวงอาทิตย์โดยตรงมากที่สุดในเดือน มิ.ย. และซีกโลกใต้จะพบดวงอาทิตย์ในเดือน ธ.ค. ในกรณีของดาวเสาร์นั้นตัวขับเคลื่อนหลักของฤดูกาลบนดาวคือความเอียงของดาว เช่นเดียวกับความเอียงของโลก โดยพบว่าขั้วเหนือของดาวเสาร์เปลี่ยนจากสีฟ้าใน พ.ศ.2555 กลายเป็นสีทองใน พ.ศ.2559 เนื่องจากฤดูกาลที่ซีกเหนือเปลี่ยนจากฤดูหนาวนั่นเอง นอกจากนี้ ระบบวงแหวนอันไพศาลก็ได้ปิดกั้นแสงแดดสำหรับซีกที่เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ทำให้ฤดูหนาวมีแดดน้อยกว่า.
Credit : NASA/JPL/Space Science Institute
Credit : NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute/Hampton University
...