ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าโดยทั่วไปแล้วจะมีแสงสว่างคงที่ แต่ก็ยังมีดาวฤกษ์อีกชนิดที่แตกต่างออกไป เช่น ดวงฤกษ์มีการเปลี่ยนแปลงความสว่างอย่างไม่คงที่ นักดาราศาสตร์เรียกดาวฤกษ์ลักษณะนี้ว่า ดาวแปรแสง (variable star) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวแปรแสงก็เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในดวงดาวเองหรือเกิดจากปัจจัยภายนอก

เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักดาราศาสตร์จากประเทศชิลีได้ตรวจพบดาวแปรแสงใหม่จำนวน 9 ดวงในกระจุกดาวทรงกลมชื่อ NGC 6652 ตั้งอยู่ห่าง จากโลกของเราประมาณ 32,600 ปีแสง และห่างจากใจกลางของดาราจักรหรือกาแล็กซี (galaxy) ทางช้างเผือกราวๆ 8,800 ปีแสง และอยู่ด้านหน้าของดาราจักรแคระคนยิงธนู (Sagittarius dwarf) โดยใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์เจมินี (Gemini Multiobject Spect rograph) เมื่อจำแนกลงไปในดวงดาวเหล่านั้น ก็พบว่ามีดาวฤกษ์ 6 ดวงเป็นชนิดของดาวคู่คราสหรือดาวคู่อุปราคา (Eclipsing binaries) และอีกหนึ่งดวงมีสถานะเป็นดาวแปรแสงชนิด SX Phoenicis เป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงิน

ทั้งนี้ ดาวแปรแสงที่อยู่ในกระจุกดาว นับว่าเป็นสิ่งที่บรรดานักดาราศาสตร์ให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ เนื่องจากดวงดาวประเภทนี้สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญทางด้านโครงสร้างและวิวัฒนาการของดวงดาว ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับมาตราส่วนระยะทางของจักรวาลได้.


Credit : Salinas et al., 2018