สตรีที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์ก้อนมะเร็งเต้านมด้วยวิธีเจาะชิ้นเนื้อเต้านมที่น่าสงสัยส่งไปตรวจเนื้อเยื่อ (stereotactic breast biopsy) ซึ่งนักจิตวิทยาเผยว่า ขั้นตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเครียดและกังวลใจมาก ดังนั้น จึง มีความพยายามค้นหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลลง เพื่อจะได้ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตรวมถึงขั้นตอนรักษาในลำดับต่อไป หากพิสูจน์พบว่าก้อนเนื้อที่ส่งตรวจสอบเป็นมะเร็งจริง

เมื่อเร็วๆนี้ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต ในรัฐเท็กซัส แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งสนใจเกี่ยวกับการทำปฏิบัติฝึกจิตหรือการเจริญสติ (Mindfulness meditation) ได้ทดสอบสตรี 76 รายที่อยู่ในระหว่างรอตรวจชิ้นเนื้อเต้านมที่ศูนย์มะเร็งเอ็มดี แอนเดอร์สันในเมืองฮิวส์ตัน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยสุ่มให้กลุ่มหนึ่งได้รับคำแนะนำการฝึกสติ 10 นาที ส่วนอีกกลุ่มถูกสอนการเน้นหายใจ และกลุ่มสุดท้ายได้รับการดูแลตามมาตรฐานและไม่มีคำแนะนำใดๆเพิ่มเติม สตรีเหล่านี้ได้ถูก ประเมินระดับความวิตกกังวลและวัดการทำงานของสมองใน 3 ช่วงคือก่อน, ระหว่างและหลังการตรวจชิ้นเนื้อโดยใช้การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง (electroencephalography-EEG) ซึ่งสังเกตพบการเพิ่มขึ้นของคลื่นสมองในพื้นที่สมองของกลุ่มฝึกสติ แต่ไม่ได้พบในอีกสองกลุ่มที่เหลือ

นักวิจัยชี้ว่าการฝึกสติจะกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในขั้นตอนการตรวจหามะเร็งเต้านมผ่อนคลายลงแทนที่จิตใจจะหมกมุ่นฟุ้งซ่าน ซึ่งการวิจัยที่ผ่านๆมาก็พบว่าการทำสมาธิด้วยวิธีนี้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในพื้นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ความสนใจ และความตระหนักรู้ในตนเอง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเผยว่ากลุ่มทดสอบยังมีขนาดเล็กไปจำเป็นต้องทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจที่แม่นยำมากขึ้น.

...