ฯพณฯ หลี่ว์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน จีนจัดนิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์ CAS Innovation Expo 2018 (Bangkok)ที่ไทยเป็นชาติแรก
เมื่อวันที่10 ตุลาคม 2018 หลังจากเปิดงานนิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนหรือ“CAS Innovation EXPO (Bangkok) 2018” ฯพณฯ หลี่ว์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยและ ฯพณฯ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนจีน-ไทย โดยท่านทูตหลี่ว์กล่าวถึงเหตุผลที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนได้จัดนิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทยเป็นประเทศแรกและอิทธิพลต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างจีน-ไทยในอนาคต ดังนี้
นิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นเวทีสำคัญในการจัดแสดงผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน(CAS) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural science)สูงสุดของจีน การที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนได้จัดนิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทยเป็นประเทศแรกนั้น เหตุผลประการหนึ่ง เนื่องด้วยพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีน-ไทยที่สืบเนื่องมาจากโบราณกาล และไทยถือเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อนสนิทและหุ้นส่วนที่ดีของจีน ดั่งคำว่าจีนไทยพี่น้องกัน ใช่อื่นไกล
เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ หลายปีมานี้ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างจีน-ไทยนั้นมีการพัฒนาอย่างราบรื่นและลุ่มลึกบนพื้นฐานอันมั่นคงที่มีมาก่อน การที่จัดนิทรรศการผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศไทยเป็นประเทศแรก แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับฝ่ายไทยเป็นอย่างมาก
...
ฝ่ายจีนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดของนิทรรศการฯ พร้อมทั้งทรงสนับสนุนและทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการจัดงานอย่างเต็มใจ ขณะเดียวกัน ฝ่ายจีนยังขอขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการจัดงานจนทำให้ประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ยิ่งด้วยเช่นกัน

หลายปีที่ผ่านมา ด้วยการสนับสนุนและความเอาใจใส่ของผู้นำทั้งสองประเทศ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างจีน-ไทยมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างเห็นได้เด่นชัด ทั้งสองฝ่ายมีการร่วมมือส่งเสริมการผลิต การศึกษาและการวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟความเร็วสูง จัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมด้านระบบรางระหว่างจีน-ไทยเพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการชั้นนำด้านเทคโนโลยีระดับสูงของประเทศจีนเช่นบริษัทHuawei, JD, Alibaba ฯลฯ ก็ทยอยเข้ามาจัดตั้งสำนักงานในประเทศไทย และนำมาซึ่งเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่นBigdata ระบบประมวลผลCloud Computing เมืองอัจฉริยะ Smart City และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ ฯลฯ สู่เมืองไทย เมื่อปีที่แล้ว ศูนย์นวัตกรรมและความร่วมมือ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ณ กรุงเทพจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศไทย นับเป็นเวทีความร่วมมือที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศเป็นแห่งแรกของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และเป็นเวทีสำคัญยิ่งในการส่งเสริมนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีของจีน ฉนั้น การที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างจีนไทยจึงเป็นเรื่องธรรมชาติ
เมื่อมองไปข้างหน้าแล้วจะเห็นได้ว่า ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างจีน-ไทยมีข้อได้เปรียบและศักยภาพสูง มีอนาคตที่สวยงาม ทั้งสองฝ่ายมีแนวความคิดและทัศนคติทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน ต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยฝ่ายจีนกำลังดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ส่วนฝ่ายไทยก็ได้เสนอยุทธศาสตร์ดิจิทัลไทยแลนด์ และไทยแลนด์4.0 เป็นต้น ซึ่งนโยบายของทั้งสองสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ภายใต้นโยบายดังกล่าว ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมีความกระตือรือร้นในการลงทุนและร่วมมือกันเป็นอย่างสูง มีบริษัทจีนหลายแห่งทยอยเข้ามาลงทุนในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูงของโครงการอีอีซี ทั้งสองยังมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาซึ่งกันและกันอย่างบ่อยครั้ง กำลังร่วมเปิดสอนวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตบุคลากรร่วมกันเพื่อเป็นเครื่องยืนยันทางบุคคล
สำหรับความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในอนาคต ในระหว่างเข้าชมงานนิทรรศการครั้งนี้ทุกท่านจะเห็นได้ว่า บริษัทจีนได้นำมาซึ่งเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ สินค้าและบริการที่สามารถสานต่อ 10 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ของไทย อาทิ หุ่นยนต์ให้บริการ รถยนต์พลังงานใหม่ ถ่านไฟฉายรุ่นใหม่และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งแนวทางในการสร้างเมืองอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญของความร่วมมือทวิภาคี และกำหนดทิศทางของความร่วมมือในอนาคตอีกด้วย
ประการสุดท้ายและเป็นสิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ประเทศไทยเป็นประเทศอาเซียนที่สำคัญ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีน-ไทยจะเป็นตัวนำร่องและขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนในภาพรวมต่อไป และมีส่วนช่วยในการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งไทยจะแสดงบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาค
...