(ซ้าย) Credit : YANG Dinghua - (ขวา) Credit : NIGPAS)

แมลงผสมเกสรมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของพืชดอกหรือพืชกลุ่มมีเมล็ดและมีเปลือกหุ้มเมล็ด (angiosperms) แต่เรื่องราวความหลากหลายของแมลงผสมเกสรยุคดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตก่อนการปรากฏตัวของพืชดอก เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีการเผยแพร่กันมากนัก เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิงแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (NIGPAS) ในประเทศจีนได้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของผีเสื้อพันธุ์ Kalligrammatid ในก้อนอำพันทั้งในพม่าและจีน ที่ระบุว่า มาจากทั้งช่วงต้นและปลายยุคครีเตเชียส และกลางยุคจูราสสิก ซึ่งอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) อีกทอดหนึ่ง

ทีมวิจัยเผยว่า ผีเสื้อพันธุ์ Kalligrammatid Lacwings ซึ่งเป็นกลุ่มแมลงที่ใหญ่ที่สุดในมหายุคมีโซโซอิกที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 230 ล้านปีที่แล้ว ผีเสื้อชนิดนี้แสดงให้เห็นความหลากหลายทางชีพพิสัยหรือวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิตในมหายุคดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นทางเคมีที่เกี่ยวกับการผสมพันธุ์รวมถึงกลไกการป้องกันตัวของแมลงผสมเกสร นับว่าเป็นตัวอย่างฟอสซิลที่ถูกนำมาตรวจสอบ
อย่างจริงจังถึงช่องทางการผสมเกสร ด้วยการจับคู่ทางสัณฐานวิทยาของอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อสำหรับดูดหรือเรียกว่างวงช้างของแมลง

ทั้งนี้ ทีมวิจัยเชื่อว่า การกระจายพันธุ์ของผีเสื้อ ชนิดนี้อาจเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการร่วม (coevolution) ระหว่างตัวผีเสื้อเองและพันธุ์พืชที่มีการผสมเกสรสูง โดยอธิบายว่าจุดใหญ่ที่อยู่บนปีกทั้ง 2 ข้างน่าจะทำหน้าที่ป้องกันในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ ส่วนหนวดจะแสดงความแตกต่างทางเพศและมีแนวโน้มที่จะใช้สื่อสารทางเคมีก่อนการผสมพันธุ์ สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้ผีเสื้อชนิดนี้อยู่รอดมาได้ในระบบนิเวศบนบกของมหายุคมีโซโซอิก แม้ว่าต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง ทว่าอาจสูญพันธุ์ไปในช่วงปลายยุคครีเตเชียสนั่นเอง.

...