Credit : National Astronomical Observatory of Japan

เมื่อปี พ.ศ.2550 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรหรือกาแล็กซี (galaxy) ที่ชื่อคอสมอส–แอสเทค–วัน (COSMOS–AzTEC–1) อยู่ห่างออกไป 12,400 ล้านปีแสง ในตอนแรกนั้นกาแล็กซีที่แปลกประหลาดนี้ถูกมองว่าน่าจะเป็นบรรพบุรุษของกาแล็กซีรูปวงรีขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในจักรวาลปัจจุบัน อย่างเช่นกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

แต่เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติจากญี่ปุ่น เม็กซิโก และมหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตต์ แอมเฮิร์ส ในสหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์โครงสร้างอย่างละเอียดที่สุดของกาแล็กซีคอสมอส-แอส–เทค-วัน จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุช่วงคลื่นเป็นมิลลิเมตรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (Atacama Large Millimeter Array-ALMA) ตั้งอยู่ในทะเลทรายอะตาคามา ตอนเหนือของประเทศชิลี ค้นพบว่าในกาแล็กซีคอสมอส-แอสเทค-วัน มี
กลุ่มก๊าซที่ไม่เสถียรอย่างสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดของดาวฤกษ์ใหม่ๆ โดยอัตราการก่อตัวของดาวฤกษ์ก็มีจำนวนมหาศาลมากกว่า 1,000 เท่าของกาแล็กซีทางช้างเผือก

หนึ่งในข้อสันนิษฐานว่าทำไมก๊าซในคอสมอส-แอสเทค-วันถึงไม่เสถียรก็คืออาจเกิดขึ้นจากการควบรวมกาแล็กซีก็เป็นได้ แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนแต่ทีมนักดาราศาสตร์เผยว่าก๊าซในกาแล็กซีจะถูกใช้หมดอย่างสมบูรณ์ในอีก 100 ล้านปีข้างหน้า และการค้นพบนี้อาจเป็นหนทางที่ทำให้เข้าใจถึงการก่อตัวและวิวัฒนาการของกาแล็กซีดังกล่าวได้.

...