ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีความซับซ้อนและมีการเคลื่อนไหวของสนามแม่เหล็กตลอดเวลา ชั้นบรรยากาศจะส่งข้อมูลแม่เหล็กออก ไปภายนอกอย่างต่อเนื่องและห่อหุ้มระบบสุริยะของเรา เส้นสายของพลังงานแม่เหล็กสามารถระเบิดออกไปพร้อมกับแสงและอนุภาครังสี เคลื่อนที่ ผ่านอวกาศจนกระทบต่อบรรยากาศโลกเป็นครั้งคราว เช่น รบกวนสัญญาณวิทยุและสัญญาณการสื่อสารใกล้โลก
หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาดวงอาทิตย์มาหลายสิบปี สิ่งที่เคยเป็นแค่ทฤษฎีกำลังก้าวไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติจริงแล้ว เมื่อองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ได้พัฒนาสร้างยานอวกาศพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe) เพื่อทำภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ โดยออกแบบติดตั้งเครื่องมืออันล้ำสมัยมีทั้งระบบป้องกันความร้อนทำหน้า เสมือนเกราะกันการแผดเผา และมีระบบทำความเย็นที่เชื่อว่าจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อยานจะบินผ่านดวงอาทิตย์ทั้งจากระยะไกลและเข้าไป ถึงระยะใกล้
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าข้อมูลที่บันทึกได้จะช่วยไขคำตอบหลายอย่าง โดยเฉพาะความลึกลับของการเร่งความเร็วเหนือเสียงของลมสุริยะ หรือการไหลเวียนของวัตถุอย่างต่อเนื่อง ในบรรยากาศ และล่วงรู้ความลับของอุณหภูมิที่สูงมาก ของโคโรนาซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ ยานอวกาศพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ จะถูกปล่อยด้วยจรวดเดลตา โฟร์ เฮฟวี (Delta IV Heavy) จากฐานปล่อยยานที่แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้.