Credit : N. Adly / TUM
ไมโครอิเล็กโทรด (microelectrode) เป็นเครื่องมือใช้วัดสัญญาณไฟฟ้าโดยตรงในสมองหรือหัวใจ โดยนำไปใช้เกี่ยวกับการทำงานของเซลล์ประสาท แต่การใช้โปรแกรมเหล่านี้ต้องอาศัยวัสดุที่อ่อนนุ่ม จึงก่อเกิดความท้าทายอย่างมากต่อนักวิจัยที่จะพัฒนาประดิษฐ์ไมโครอิเล็กโทรดให้เหมาะต่อการใช้งานภายในร่างกาย
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิชาช่างแห่งมิวนิกในเยอรมนี เผยความสำเร็จในการพิมพ์ไมโครอิเล็กโทรดลงบนพื้นผิวอ่อนหลายชนิด เช่น โพลีไดเมทิลไซลอกเซน (Polydimethylsiloxane-PDMS) คือซิลิโคนที่เป็นได้ทั้งซิลิโคนแข็งและเป็นเจลหนืดๆ หรืออะกาโรส (agarose) ที่เป็นสารทั่วไปในการทดลองทางชีววิทยา แต่นักวิจัยได้พิมพ์ไมโครอิเล็กโทรดลงบนลูกอมที่มีความเหนียวหนึบ โดยไมโครอิเล็กโทรดจะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าจำนวนมาก สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่เกิดจากกิจกรรมในเซลล์ประสาทหรือเซลล์กล้ามเนื้อ ที่สำคัญคือไม่ก่อให้เกิดการอักเสบหรือสูญเสียแก่อวัยวะต่างๆ
นักวิจัยเชื่อว่า การพัฒนาสร้างวัสดุชิ้นเล็ก ดังกล่าวนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการวินิจฉัยทางการแพทย์และเปลี่ยนวิธีรักษาผู้ป่วย โดยในอนาคตโครงสร้างอ่อนในลักษณะนี้จะสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบการทำงานของระบบประสาท หัวใจ หรือทำหน้าที่เป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งทีมวิจัยเผยว่ากำลังพยายามพัฒนาให้เป็นแบบ 3 มิติที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.