เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการกาแฟเจ้าดังระดับโลกอย่าง สตาร์บั๊คส์ ที่ถูกศาลนครลอสแอนเจลิสตัดสินว่า ให้ติดป้ายเตือนถึงความน่ากลัวและความเสี่ยงของสารก่อมะเร็งให้ผู้บริโภครับรู้ ทั้งๆที่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความกังวลทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกาแฟนั้นลดลงเนื่องจากมีผลวิจัยจำนวนมากที่แนะนำว่ากาแฟสามารถช่วยใน เรื่องสุขภาพ และองค์การมะเร็งภายใต้องค์การอนามัยโลกได้ถอนรายชื่อกาแฟออกจากรายการสิ่งของที่มีสารก่อมะเร็งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะถอนชื่อออกกฎใดๆก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์เผยว่าในกาแฟจะมีสารเคมีที่ชื่อว่า อะคริลาไมด์ (acrylamide) ซึ่งสารตัวนี้เกิดขึ้นขณะที่เมล็ดกาแฟถูกคั่ว หน่วยงานของรัฐบาลจึงเรียกว่าสารก่อมะเร็ง แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าต้องดื่มกาแฟในปริมาณใดถึงจะพ้นความเสี่ยงโรคมะเร็ง ซึ่งหากดื่มกาแฟ 1 ถ้วยต่อวันก็เสี่ยงน้อย แต่ถ้าดื่มมาก 1 ถ้วยต่อวันก็เสี่ยงเพิ่มขึ้น ทว่าเมื่อสำนักงานอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทดสอบวัดระดับอะคริลาไมด์กับกาแฟ 6 ยี่ห้อ พบว่ามีสารอะคริลาไมด์ตั้งแต่ 175-351 ส่วนต่อพันล้าน ในขณะที่อาหารทารกบางชนิดจะมีอะคริลาไมด์ราว 121 ส่วนต่อพันล้านเท่านั้น
จริงๆแล้วความเสี่ยงมะเร็งอาจขึ้นอยู่กับการดูดซับสารเคมีในอัตราที่ต่างกันและเผาผลาญแตกต่างกัน ด้านเจ้าหน้าที่การแพทย์ของสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกามองว่าปริมาณอะคริลาไมด์ในกาแฟมีเล็กน้อยมาก
เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ในสหรัฐฯ ก็เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐแคลิฟอร์เนียนั้นตรงกันข้ามกับผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นที่เผยว่า กาแฟอาจช่วยต้านมะเร็งบางชนิดได้ ตราบใดที่ผู้บริโภคไม่เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานที่มากจนเกินไปในกาแฟ ชา และน้ำดื่ม.
...