พวงมาลัยของ Mercedes-Benz ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับพวงมาลัยในยุคแรกเริ่มของยานยนต์ตราดาว พวงมาลัยแบบคาปาซิทีฟของ Mercedes-Benz New E-Class และอีกหลายรุ่นรวมถึง AMG SL43 ขอบของมันมีแผ่นเซนเซอร์สองโซน ทำหน้าที่ตรวจจับว่ามือของคนขับจับอยู่ที่พวงมาลัยหรือไม่ ปุ่มควบคุมแบบสัมผัสที่อยู่บนก้านวงใช้สัญญาณดิจิทัลในการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันต่างๆ
ย้อนเวลากลับไปในยุคเริ่มต้นที่รถยนต์มีพวงมาลัย เมื่อ 130 ก่อน Daimler-Motoren-Gesellschaft ทำการแก้ไขกลไกบังคับเลี้ยว โดยเปลี่ยนจากข้อเหวี่ยงพวงมาลัยธรรมดาหรือแกนพวงมาลัยมาเป็นพวงมาลัยที่ใช้งานได้ดีกว่า สิ่งนี้นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 120 ปี ณ ศูนย์ R&D มีการ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อทำให้การดีไซน์และทดสอบพวงมาลัยแบบใหม่รวดเร็วขึ้น พวงมาลัยในปัจจุบันของ Mercedes-Benz ให้ความรู้สึกที่ดีในการเปลี่ยนทิศทางรวมถึงผิวสัมผัสอ่อนนุ่มของหนังที่ใช้หุ้ม พวงมาลัยแบบใหม่ทำงานผ่านมอเตอร์ไฟฟ้าที่แปรผันน้ำหนักอย่างต่อเนื่องไปตามความเร็วที่แท้จริง ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางได้อย่างแม่นยำ และในขณะเดียวกันก็ควบคุม ความสะดวกสบาย การปรับตั้งค่าและระบบช่วยเหลือต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย
...
นักพัฒนาและนักออกมุ่งมั่นในทุกรายละเอียด ตัวอย่างเช่น ทุกมิลลิเมตรของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะถูกกำหนดพื้นผิว การพัฒนาอยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอกและเหนือสิ่งอื่นใดคือความรู้สึกในการตอบสนองของพวงมาลัย “การออกแบบพวงมาลัยเป็นความท้าทายที่มักถูกมองข้าม” Hans-Peter Wunderlich ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ด้านการออกแบบตกแต่งภายในของ Mercedes-Benz กล่าว
รถยนต์คันแรกของโลก ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ได้รับสิทธิบัตรโดย Carl Benz จากปี 1886 ยังไม่มีสิ่งที่เราถือว่าขาดไม่ได้ในรถยนต์ในปัจจุบัน นั่นก็คือ พวงมาลัย ยานพาหนะคันแรกของแบรนด์ตราดาวติดตั้งเพียงคันบังคับเลี้ยวแบบธรรมดาเท่านั้น สมัยนั้น รถม้ายังใช้การดึงบังเหียนทางขวาหรือซ้าย เพื่อบังคับม้าให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
วิศวกรชาวฝรั่งเศส Alfred Vacheron ถือเป็นผู้ประดิษฐ์พวงมาลัยที่ออกแบบสำหรับการแข่งรถครั้งแรกของโลก การแข่งขันจากปารีสถึงรูอ็องในเดือนกรกฎาคม คศ. 1894 (พ.ศ. 2437) Alfred Vacheron ได้ติดตั้งพวงมาลัยแทนคันบังคับเลี้ยวแบบปกติในรถ Panhard & Levassor ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Daimler เขาบรรลุเป้าหมาย นั่นคือการควบคุมทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนที่ของพวงมาลัยของล้อหน้า สามารถหมุนเปลี่ยนทิศทางของรถได้ดี คอพวงมาลัยจากตำแหน่งตรงกลาง ช่วยให้บังคับเลี้ยวได้แม่นยำยิ่งขึ้น และทำให้ความเร็วในการขับสูงขึ้น แม้ว่า Alfred Vacheron จะอยู่อันดับที่ 11 แต่ สิ่งที่ถือเป็นครั้งแรกในวงการยนตรกรรมก็คือ การคิดค้นพวงมาลัยสำหรับควบคุมทิศทางของรถยนต์
...
ในปี 1900 Daimler-Motoren-Gesellschaft ติดตั้งพวงมาลัยให้กับรถแข่ง Phoenix คอพวงมาลัยเอียง ทำให้ควบคุมได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การบังคับเลี้ยวทุกครั้งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ใน Mercedes Simplex รุ่นต่างๆ ที่เปิดตัวในปี 1902 มีคันโยกเพิ่มเติมบนพวงมาลัย ซึ่งต้องใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ที่จำเป็น เช่น จังหวะการจุดระเบิดและส่วนผสมของเชื้อเพลิง
แม้ว่าคันโยกสำหรับปรับอัตราส่วนผสมเชื้อเพลิงและการจุดระเบิดด้วยตนเองจะค่อยๆ กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการพัฒนาเครื่องยนต์เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ฟังก์ชันเพิ่มเติมตั้งแต่ยุคแรกๆ ของรถยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ แตร รูปแบบการสื่อสารระหว่างรถที่ง่ายที่สุดเริ่มต้นด้วยแตรบอลลูนบนขอบพวงมาลัย ตามด้วยปุ่มแตรบนกึ่งกลางวงพวงมาลัย วงแหวนแตรบนซี่พวงมาลัยเปิดตัวครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463)
ปี 1949 วงแหวนแตรยังเข้ามาทำหน้าที่สั่งงานสัญญาณไฟเลี้ยวหรือไฟเลี้ยวที่ใช้กันทั่วไปจนถึงกลางทศวรรษ 1950 หากต้องการเลี้ยวก็เพียงหมุนไปทางซ้ายหรือขวา จากนั้นแขนบ่งชี้ทิศทางยาวประมาณ 20 เซนติเมตรก็เหวี่ยงออกไปด้านข้างและชี้ทิศทางการเคลื่อนที่ ไฟเลี้ยวโบราณดูตลกเมื่อเทียบกับไฟเลี้ยว LED ในทุกวันนี้ แขนบ่งชี้ทิศทางที่โบราณและใช้งานไม่ค่อยจะได้เรื่องได้ราว ถูกแทนที่ด้วยไฟกะพริบสีส้มเหลือง
...
...
ในช่วงทศวรรษปี 1950 พวงมาลัยค่อยๆ กลายเป็นส่วนเชื่อมต่อหลักระหว่างรถยนต์และคนขับ เป็นศูนย์กลางการควบคุมฟังก์ชันความสะดวกสบายแบบใหม่ จนถึงทศวรรษ 1970 คันเกียร์บนคอพวงมาลัย ยังคงเป็นวิธีการใช้งานระบบส่งกำลังที่แพร่หลายจากความนิยม ในปี ค.ศ. 1955 คันโยกสำหรับไฟกะพริบและไฟหน้า ถูกเพิ่มเข้ามาเป็นฟังก์ชันบริเวณคอพวงมาลัย อย่างไรก็ตาม การบังคับเลี้ยวมักจะทำให้ไม่สะดวกเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีอัตราส่วนการบังคับเลี้ยวที่สูงและมีเส้นผ่านศูนย์กลางพวงมาลัยที่ยื่นออกมาก็ตาม Mercedes-Benz เปิดตัวพวงมาลัยเพาเวอร์แบบใหม่ในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แบรนด์ตราดาวได้เปิดตัวคันโยกแบบรวม สำหรับไฟเลี้ยวและการกะพริบไฟหน้า ในปี ค.ศ. 1963 คันโยกถูกปรับปรุงเพื่อรวมฟังก์ชันที่ปัดน้ำฝนและระบบฉีดน้ำล้างกระจกหน้ารถ ก่อนหน้านี้ที่ปัดน้ำฝนถูกเปิดใช้งานโดยใช้สวิตช์ดึงที่ด้านบนของแผงหน้าปัด
ความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาระบบความปลอดภัย ทำให้การออกแบบพวงมาลัยเปลี่ยนไปอย่างมาก อีกครั้งตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา เหตุผลก็คือ การเปิดตัวถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับ ด้านหลังแผ่นกั้นที่ยื่นออกมาคือระบบยึดเหนี่ยวแบบใหม่ ซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ในกรณีที่เกิดการชนกัน ท้ายที่สุดแล้ว ถุงลมนิรภัยในยุคแรกๆ มีขนาดใหญ่ ดังนั้นแผ่นกั้นจึงต้องทำให้ใหญ่ขึ้นมาก ระหว่างการพัฒนาเพิ่มเติม ถุงลมนิรภัยสุญญากาศ สามารถพับให้เล็กลงเรื่อยๆ ขอบเขตในการออกแบบของวิศวกรก็ดีขึ้น ในปี 1992 ถุงลมนิรภัยของคนขับ กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ Mercedes-Benz ทุกรุ่น เมื่อเกิดการชน ถุงลมนิรภัยจะพองตัวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง 720 มิลลิเมตร และปริมาตรอากาศ 64 ลิตร ภายใน 30 มิลลิวินาที ปัจจุบัน Daimler แจ้งว่า ถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งในรถยนต์รุ่นใหม่ มีขนาดกะทัดรัดและทันสมัยที่สุดในตลาดรถ Luxury
พวงมาลัยมัลติฟังก์ชันของ Mercedes-Benz เปิดตัวในปี ค.ศ. 1998 พร้อมกับระบบ COMAND Control (การจัดการและข้อมูล) ไม่เพียงแต่ฟังก์ชันต่างๆ ของรถยนต์ Mercedes-Benz เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความก้าวหน้าของอุปกรณ์ใหม่ๆ สำหรับการเรียกดูข้อมูล การนำทาง และระบบความบันเทิง ซึ่งจำเป็นต้องมีการคิดใหม่ เกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์และแนวคิดการแสดงผลผ่านจอภาพที่คมชัดสูง เป้าหมายสำคัญในการพัฒนารถยนต์รุ่น S-Class 220 คือลดภารกรรมของคนขับจากปุ่มและสวิตช์จำนวนมาก จนสามารถมุ่งความสนใจไปที่การขับขี่แต่เพียงอย่างเดียว พวงมาลัยมัลติฟังก์ชันแบบใหม่ ควบคุมระบบต่างๆ เรียกข้อมูลสำคัญได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส นับเป็นครั้งแรกที่พวงมาลัยเชื่อมต่อกับวิทยุในรถยนต์ โทรศัพท์ในรถยนต์ และจอแสดงผลที่อยู่ตรงกลางแผงหน้าปัด ซึ่งมีเมนูหลักปรากฏขึ้นถึง 8 เมนู
ในปี 2005 Mercedes-Benz รุ่น M-Class และ S-Class เปิดตัวห้องโดยสารและตำแหน่งคนขับที่ออกแบบใหม่หมด : คันเกียร์อัตโนมัติย้ายจากคอนโซลกลางไปที่คอพวงมาลัย ปุ่มเปลี่ยนเกียร์บนพวงมาลัยเพิ่มเติม ช่วยให้สามารถเลือกอัตราทดของเกียร์อัตโนมัติ 7 สปีดได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่ปี 2008 SL Roadster มาพร้อมระบบส่งกำลังแบบสปอร์ต 7G-TRONIC พร้อม Paddle Shift หรือแป้นเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย
ด้วยฟังก์ชันใหม่ สายเคเบิล แผงวงจร และเซนเซอร์จำนวนมาก รวมถึงถุงลมนิรภัย พวงมาลัยในยุคนั้นจึงมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ในช่วงปี 2000 เมื่อเวลาผ่านไป การออกแบบก็มีความประณีตมากขึ้นเรื่อยๆ จากรูปทรงเหลี่ยมเริ่มแรก รูปทรงเรขาคณิตที่มีวงกลมอยู่ตรงกลางและรูปทรงซี่ล้อที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่
E-Class ปี 2016 เป็นรถยนต์คันแรกในโลกที่มีปุ่มควบคุมแบบสัมผัสบนพวงมาลัย ช่วยให้ระบบสาระบันเทิงทั้งหมดสามารถควบคุมได้ด้วยการเช็ดนิ้วโดยไม่ต้องละมือออกจากพวงมาลัย เช่นเดียวกับพื้นผิวของสมาร์ทโฟน ปุ่มต่างๆ ไวต่อการสัมผัส ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของนิ้วทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ช่วยให้คนขับสามารถควบคุมฟังก์ชันทั้งหมดของระบบสาระบันเทิงได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ การกดปุ่มควบคุมแบบสัมผัสจะเรียกใช้ฟังก์ชันที่เลือกด้วยท่าทางการใช้ปลายนิ้วเขี่ย ปุ่มอีกสี่ปุ่มต่อแผงสวิตช์ได้รับการกำหนดฟังก์ชันที่คุ้นเคย เช่น การควบคุมระดับเสียงและควบคุมโทรศัพท์
พวงมาลัยเจเนอเรชันใหม่พร้อมระบบตรวจจับแบบคาปาซิทีฟ แผ่นเซนเซอร์สองโซนอยู่ที่ขอบพวงมาลัย เซนเซอร์ที่ด้านหน้าและด้านหลังของขอบล้อจะตรวจจับว่า คนขับจับพวงมาลัยอยู่หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนพวงมาลัยอีกต่อไปเพื่อส่งสัญญาณไปยังระบบช่วยเหลือว่ารถอยู่ภายใต้การควบคุม แม้แต่ปุ่มควบคุมแบบสัมผัสที่รวมอยู่ในก้านวงพวงมาลัยก็ยังทำงานแบบคาปาซิเตอร์ได้ ช่วยลดปุ่มและสวิตช์สั่งงานต่างๆ แผงควบคุมที่ไร้รอยต่อซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนการใช้งานต่างๆ รวมไว้ในก้านวงพวงมาลัย เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟน การสัมผัสจะถูกบันทึกและประเมินผ่านเทคโนโลยีเซนเซอร์แบบคาปาซิทีฟ ใช้งานได้ง่ายโดยเอาปลายนิ้วสัมผัส รูด ปัดขึ้น-ลง และการกด ตามสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย วัสดุที่ใช้ทำก้านวงและตำแหน่งสั่งงานด้วยระบบสัมผัส มีการปรับแต่งเพื่อให้สามารถใช้งานได้แม้ได้รับความร้อนจากแสงแดด ระบบจะตรวจจับตำแหน่งของนิ้วโดยอัตโนมัติ และปุ่มถูกออกแบบให้มีความทนทาน รองรับอุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส
พวงมาลัยยุคใหม่ของ Mercedes-Benz มี 3 รูปแบบ ได้แก่ “Sport”, “Luxury” และ “Supersport” ในเวอร์ชัน "Supersport" นั้นจะยึดด้วยก้านวงเล็กๆ สองชั้น ในดีไซน์สีดำเงา มีจุดประสงค์เพื่อให้นึกถึงนอตล้อของรถสปอร์ต
ขนาดของพวงมาลัยในปัจจุบันยังคงเท่าเดิม เมื่อเทียบกับรถยุคแรกๆ Mercedes-Benz ได้พัฒนาขนาดที่มีความคงที่สำหรับพวงมาลัยทั่วไป เฉลี่ยอยู่ที่ 370 มม. (“Supersport ”) ถึง 380 มม. (“Luxury”) ขอบพวงมาลัยกว้าง 29 มม. และลึก 42 ถึง 44 มม. “ขอบพวงมาลัยคือผู้สร้างความลับของพวงมาลัย” Hans-Peter Wunderlich (ฮานส์-ปีเตอร์ วุนเดอร์ลิช) Mercedes-Benz interior designers ให้ความเห็น “การออกแบบทางเรขาคณิตเป็นศาสตร์ที่ไม่มีอยู่ในตำราเรียนเล่มใดทั้งสิ้น พวงมาลัยต้องมีการออกแบบให้พอดีกับมือของมนุษย์ หากเกินหนึ่งมิลลิเมตรก็จะรู้สึกนูนไม่เป็นที่พอใจ ถ้าน้อยไปสักมิลลิเมตรก็รู้สึกเหมือนบางเกินไป และความประทับใจในการยึดจับนั้นก็บดบังความรู้สึกโดยรวมของรถไปโดยปริยาย”