Gear คือชุดฐานล้อของเครื่องบิน หลายๆคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า คำว่า Gear ของเครื่องบินนั้น หมายถึงเกียร์ หรือชุดส่งกำลังขับเคลื่อนเหมือนกับรถยนต์ที่เราใช้งาน แต่สำหรับเครื่องบินแล้ว เกียร์หมายถึงฐานล้อของเครื่อง เครื่องบินพาณิชย์จะมี Nose Gear และ Main gear หรือ บางท่านอาจจะเรียกว่า Main landing gear สำหรับ Nose gear คือล้อหน้าของเครื่องบินที่ใช้ในการต่อ Tow bar เพื่อเชื่อมกับรถดัน หรือ push back car ล้อหน้านั้นไม่มีระบบเบรคติดตั้งอยู่ และสามารถหมุนขยับซ้ายขวาได้เพื่อทำการเลี้ยวในขณะที่นักบินทำการ Taxi ส่วน Main Gear จะอยู่เกือบกึ่งกลางลำตัวของเครื่องบิน ใช้รับน้ำหนักในการร่อนลงหรือ Landing เมื่อเครื่องบินสัมผัสกับพื้นผิวรันเวย์ ชุดเกียร์นี้จะมีระบบเบรค และระบบระบายความร้อนของเบรคติดตั้งมาด้วย แต่ชุด Main landing gear นั้น จะไม่สามารถขยับหมุนได้เหมือน Nose gear


...
ฐานล้ออากาศยาน
ระบบฐานล้ออากาศยาน (Landing Gear) ทําการรองรับน้ําหนักทั้งหมดของอากาศยานขณะร่อน
ลงจอด Landing Gear ยังทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของอากาศยานในขณะที่จอดอยู่บนรันเวย์ ฐานล้อลงจอดมักถูกออกแบบให้ติดอยู่กับส่วนประกอบโครงสร้างหลักของตัวเครื่องบิน ประเภทของฐานล้อขึ้นอยู่กับการออกแบบของอากาศยานและการใช้งานตามวัตถุประสงค์ ระบบฐานล้ออากาศยานจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) ฐานล้อหลัก (Main Landing Gear) ทําหน้าที่รองรับน้ําหนักส่วนใหญ่ของอากาศ ติดตั้งอยู่บริเวณจุดกึ่งกลางหรือตําแหน่งโคนปีกของอากาศยาน 2) ฐานล้อรอง (Auxiliary Landing Gear) ทําหน้าที่รับน้ําหนักบางส่วนของอากาศยาน ทําให้ลําตัวของอากาศยานขณะที่อยูบนพื้นดินมีความสมดุลหรือมีเสถียรภาพ ตําแหน่งการติดตั้งจะขึ้นอยู่กับประเภทของอากาศยาน เช่น ติดตั้งบริเวณส่วนหัวของอากาศยานจะเรียกว่า ฐานล้อหน้า (Nose Landing Gear) ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่มักติดตั้งฐานล้อหลัก และฐานล้อหน้า


ระบบไฮดรอลิค
ระบบไฮดรอลิคเป็นส่วนหนึ่งของกลศาสตร์ของไหล ซึ่งเป็นระบบถ่ายทอดพลังงาน โดยการเปลี่ยน
พลังงานความดันมาเป็นพลังงานกล ระบบไฮโดรลิคจะใช้ตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงานเป็นของเหลว ดังนั้นจึงใช้ปริมาณของเหลวที่ไม่มากในการนํามาอัดตัวให้เป็นพลังงานความดัน โดยใช้กระบวนการส่งถ่ายไฮดรอลิคที่มีความดันไปตามท่อทางแล้วแปลงความดันนั้นให้ออกมาเป็นงานกล ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบไฮดรอลิค คือ
1) อ่างหรือถังน้ํามันไฮดรอลิค (Reservoir)
2) ปั๊มสําหรับอัดน้ํามันไฮดรอลิคให้มีแรงดันสูงขึ้น
3) วาล์วหรืออุปกรณ์สําหรับควบคุมแรงดัน ใช้ควบคุมทิศทางและปริมาณการไหล
ของน้ํามันไฮดรอลิค
4) อุปกรณ์สําหรับเปลี่ยนแรงดันของน้ํามันไฮดรอลิค ให้เป็นพลังงานกล เช่น ไฮดรอลิค มอเตอร์ชุดลูกสูบ
5) ท่อไฮดรอลิค เพื่อส่งผ่านน้ํามันไฮดรอลิคไปยังจุดต่าง ๆ
6) น้ํามันไฮดรอลิค สําหรับระบบไฮดรอลิคอากาศยานนั้น มีพื้นฐานของกระบวนการส่งถ่ายความดันแล้วแปลงเป็นงานกลเช่นเดียวกับเครื่องไฮดรอลิคทั่วไป แต่จะมีอุปกรณ์เพิ่มเติมขึ้นมาหลายชนิดหลายแบบด้วยกัน เพื่อเสริมให้ระบบทํางานได้อย่างถูกต้องแม่นยํา ปลอดภัยและสะดวกในการใช้งาน

...

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องลงจอดโดยฐานล้อไม่กาง การลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่อง หรือการลงจอดโดยใช้ใต้ท้องเครื่อง ( Belly landing / Gear-up landing) เมื่ออากาศยานต้องลงจอดโดยไม่สามารถกางหรือใช้ฐานล้อลงจอด แต่ใช้ส่วนล่างของลำตัวเครื่องหรือใต้ท้องเครื่องเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับการลงจอดแทน โดยปกติแล้ว การลงจอดโดยไม่กางล้อลงจอด (gear-up landing) หรือร่อนลงจอดโดยใช้ใต้ท้องเครื่อง (belly landing) มักเกิดเหตุขัดข้องที่ส่งผลให้ไม่สามารถกางล้อลงจอดได้

...
การลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องด้วยความเร็วร่อนลงมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องบินจะได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีความเสี่ยงที่เครื่องจะพลิกคว่ำ หรือเกิดประกายไฟจากการเสียดสี ทำให้ลุกไหม้ได้ ปลายรันเวย์ที่สั้นและมีคันดินขวางอยู่ (แทนที่จะเป็นบึงน้ำ) นักบินจึงจำเป็นต้องใช้ความแม่นยำสูงสุดในการร่อนลงจอดโดยไม่มีฐานล้อรองรับ เพื่อประคองทิศทางและความเร็วให้ราบเรียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่รักษาความเร็วให้เพียงพอต่อควบคุมเครื่องบิน แต่ถ้าหากมีลมกระโชกแรง ทัศนวิสัยไม่ดี รันเวย์สั้นเกินไป ปลายรันเวย์มีรั้วหรือคันดิน เครื่องบินอาจได้รับความเสียหายอย่างหนัก ความเสี่ยงในการลงจอดโดยปราศจากฐานล้อนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อสนามบินไม่มีการจัดการที่ดีพอ การลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องมักเป็นอุบัติเหตุของอากาศยานที่พบบ่อยที่สุด

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2011 Boeing 767 ลอตโปลิชแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 16 กัปตัน ตาแดอุช วารอนา ได้แจ้งสถานการณ์ฉุกเฉินเนื่องจากสูญเสียระบบล้อลงจอดระหว่างเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาตินวร์กลิเบอร์ตีสู่ท่าอากาศยานวอร์ซอโชแปง Boeing 767 ลำที่เกิดเหตุนับเป็นลำที่ใหม่ที่สุดในฝูงบิน การร่อนลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องทำให้เกิดเพลิงไหม้ แต่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดได้รับการอพยพอย่างรวดเร็วโดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ท่าอากาศยานถูกปิดให้บริการนานกว่าหนึ่งวันหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว
...
วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 เครื่องบิน Airbus A320 ปากีสถานอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 8303 ทำการร่อนลงจอดโดยที่ไม่กางล้อลงจอดเนื่องจากความผิดพลาดของนักบิน การลงจอดโดยไม่กางล้อทำให้เครื่องยนต์ทั้งสองเครื่องได้รับความเสียหาย นักบินพยานยามเชิดหัวเครื่องขึ้นเพื่อวกกลับมาลงอีกครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เครื่องบินตกในย่านที่พักอาศัยที่มีประชากรหนาแน่นใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติอัลลามา อิกบัล นครการาจี มีผู้เสียชีวิต 97 คน จากทั้งหมด 99 คนที่อยู่บนเครื่อง
วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2023 Boeing 757 เฟดเอกซ์เอกซ์เพรส เที่ยวบินที่ 1376 ทำการบินจากท่าอากาศยานแชตตานูกาเมโทรโพลิตัน มุ่งหน้าไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเม็มฟิส ต้องลงจอดฉุกเฉินโดยใช้ลำตัวเครื่องหลังจากไม่สามารถกางล้อลงจอดได้ เครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งและได้รับความเสียหายอย่างหนักแต่ไม่มีลูกเรือบนเครื่องได้รับบาดเจ็บ
วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เครื่องบิน Boeing 737-800 เชจูแอร์ เที่ยวบินที่ 2216 ลงจอดฉุกเฉินเนื่องจากฐานล้อไม่กาง 737-800 ใช้ลำตัวเครื่องในการลงจอดที่ท่าอากาศยานมูอัน ประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากระบบลงจอดขัดข้องจากรายงานนกชนเครื่องบิน ในขณะที่ลงจอดโดยไม่มีฐานล้อ เครื่องบินไม่สามารถหยุดบนทางวิ่งได้และไถลเข้าไปชนเข้ากับรั้วและคันดินกั้นปลายรันเวย์ของสนามบินส่งผลให้ลำตัวเครื่องเกิดการฉีกขาดและระเบิดลุกเป็นไฟ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 179 จากผู้โดยสาร 181 รายบนเครื่อง โดยมีผู้รอดชีวิตเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น.