TJRI (โครงการศึกษาวิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากนักลงทุนญี่ปุ่น ต่อกรณีที่บริษัทยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นหลายค่ายเริ่มถอนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากกาหลั่งไหลเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่รุกทำการตลาดอย่างหนัก บวกกับยอดขายรถยนต์ทุกประเภทที่ลดลงมานานกว่าสองปีแล้ว จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ Suzuki และ Subaru ต้องถอนโรงงานออกจากไทยเพราะไม่คุ้มทุน ส่วนอนาคตที่ยังคงไม่มีความแน่นอนว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะฟื้นตัวเมื่อไหร่ ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ TJRI เห็นว่าควรเร่งหารือระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น ที่ตั้งฐานการผลิตในไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อรักษา Supply chain ของรถยนต์สันดาปที่ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกันสร้างกว่า 60 ปี พร้อมแนะใช้สื่อภาษาญี่ปุ่น “THAIBIZ” เป็นช่องทางสื่อสาร ดูแลสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อนักลงทุนญี่ปุ่น หวังช่วยยกระดับความร่วมมือ ดึงบริษัทรถของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนดเพิ่ม
...
รัฐฯยกเลิกการส่งเสริม ECO Car
กันตธร วรรณวสุ ผู้ดำเนินโครงการ TJRI กล่าวว่า “แบรนด์ Suzuki ได้เข้ามาลงทุนในไทยจากการนโยบายส่งเสริมรถยนต์อีโคคาร์ในปี 2550 ซึ่งไทยคาดหวังว่ รถยนต์อีโคคาร์ราคาประหยัด จะมีโอกาสพัฒนาศักยภาพด้านความนิยม และกลายมาเป็น ‘โปรดักส์แชมเปี้ยน’ ลำดับที่สองของประเทศรองจากรถกระบะ ซึ่งปัจจุบัน นโยบายดังกล่าวกลับไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดไว้ รัฐบาลได้ยกเลิกการให้ความสนับสนุน และทาง Suzuki เองก็ต้องยอมรับที่ไม่สามารถทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ ดังนั้นการถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้”
ขณะเดียวกัน นายกันตธร มองประเด็นการปิดโรงงานของค่ายญี่ปุ่นในอนาคตว่า ”ปัจจุบัน โรงงานของค่าย Suzuki และ Subaru เน้นการจำหน่ายในประเทศ โดยนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบและจำหน่ายในประเทศ (CKD) ต่างกับค่ายอื่นที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นธุรกิจหลักด้วย จึงได้รับผลกระทบจากมาตรการณ์สนับสนุนรถ EV ของจีนโดยตรงได้เร็วกว่า ทั้งนี้ ทั้งสองแบรนด์ มีจำนวนการผลิตที่น้อย จึงยังไม่กระทบต่ออัตราการผลิตยานยนต์โดยรวมของประเทศไทยมากนัก ทว่า การที่ Subaru Suzuki และ Honda ถอนโรงงานหรือลดกำลังการผลิตลงนั้น หากมองย้อนกลับมาจากอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะพบว่าการตัดสินใจครั้งนี้อาจเป็นการจัดกำลังการผลิตของโรงงานต่างๆ ในโลกได้อย่างรวดเร็วและชาญฉลาดแล้ว ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับพานาโซนิคที่ตัดสินใจปิดโรงงานเก่าในไทยและย้ายไลน์การผลิตไปควบรวมที่โรงงานใหม่ในเวียดนามแทน ถือเป็นวงจรของธุรกิจตามปกติที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับยานยนต์ญี่ปุ่นในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่มียอดขายสินค้าในประเทศไทยที่มีนัยยะสำคัญให้ตัดสินใจไปต่อ
อีกทั้งค่ายญี่ปุ่นอื่นๆ ที่เหลือนั้นเบื้องต้นในอีก 5-10 ปี คาดว่าจะไม่ไปจากไทยอย่างแน่นอน เพราะยังมียอดการผลิตเพื่อการส่งออกจึงไม่สามารถตัดสินใจได้เร็ว แต่ในอนาคตอินโดนีเซียหรือเวียดนามก็อาจมีขนาดตลาดในประเทศที่ขยายตัวขึ้นมาก และเพียงพอที่จะทำให้ค่ายญี่ปุ่นตัดสินใจย้ายออกจากประเทศไทยในที่สุด”
...
...
เกรงสงครามราคา EV ทำธุรกิจดีลเลอร์ไม่ยั่งยืน
สิ่งที่ทำให้ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์มีกำไรคือ การที่ผู้ผลิตช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้มีลูกค้ามาใช้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การซื้อซ้ำในอนาคต ทว่าสิ่งที่น่ากังวลคือ “สงครามราคา” ซึ่งค่ายจีนกำลังลดราคาอย่างหนักในปัจจุบัน ส่งผลให้คนทำธุรกิจดีลเลอร์อยู่รอดได้อย่างไม่ยั่งยืน เนื่องจากการลดราคาอย่างหนัก ทำให้ตลาดรถยนต์มือสองราคาตกหนักตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถขายรถคันเก่าเพื่อเทิร์นไปซื้อรถคันใหม่ได้ง่ายมากนักจึงกระทบต่อการซื้อซ้ำในอนาคตไปด้วย ดังนั้นสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจดีลเลอร์มีแนวโน้มการขาดทุนในระยะยาว ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดที่ค่ายญี่ปุ่นทำมาตลอดหลายสิบปี เนื่องจากญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับเจ้าของธุรกิจดีลเลอร์ทั่วประเทศเป็นอย่างมาก
...
ญี่ปุ่นย้ำไม่ปฏิเสธ EV ขอบคุณไทยชงส่งเสริม Hybrid ดีใจผลตอบรับมอเตอร์โชว์ดี เล็งนำเข้า-ผลิตเพิ่ม
จากการรวบรวมข้อมูลในกรณีที่บอร์ดอีวีออกมาตรการสนับสนุนสำหรับรถยนต์ Hybrid เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น พบว่าค่ายญี่ปุ่นหลายรายได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลไทยที่คำนึงถึง Supply chain รถยนต์สันดาปที่ไทยและญี่ปุ่นร่วมกันสร้างมานานกว่า 60 ปี อีกทั้งญี่ปุ่นเองไม่ได้ปฏิเสธรถ EV แต่อย่างใด ทว่าเล็งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างนั้นต้องใช้เวลาที่เหมาะสม โดยงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา หลายค่ายมีโอกาสนำเสนอรถ Hybrid กับผู้บริโภคไทย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในอนาคตสำหรับผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งได้รับกระแสตอบรับรถ Hybrid ทำให้บางค่ายมีแผนที่จะนำเข้าหรือผลิตรถ Hybrid ในประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในประเทศในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน
Supply chain ไทย-ญี่ปุ่นยังสำคัญ เทรนด์ค่ายญี่ปุ่นดันคนไทยขึ้นเป็นผู้บริหารฯ
นายกันตธรวิเคราะห์ว่า “สาเหตุที่ยานยนต์ญี่ปุ่นเริ่มถอนการลงทุนในประเทศไทยมีหลากหลายปัจจัย เช่น ค่ายญี่ปุ่นปรับตัวต่อการเข้ามาของ EV ได้ช้า ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง ไปจนถึงการยกเลิกการสนับสนุนนโยบายเก่า และยกระดับการสนับสนุนรถ EV ซึ่งเอื้อต่อค่ายจีนมากกว่าก็จริง ทว่า Supply chain ที่ไทย-ญี่ปุ่นร่วมกันสร้างนั้นมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งสำคัญต่อไทยอย่างยิ่งจึงควรมองเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาและควรร่วมคิดแก้ไขปัญหานี้กับนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเร็ว
นอกจากนี้หลายค่ายญี่ปุ่นกำลังเน้นเรื่องการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์”อย่างมาก ซึ่งหลายค่ายเน้นพัฒนาพนักงานไทยโดยสนับสนุนการไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น ผลักดันคนไทยให้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารขององค์กร รวมถึงให้คนไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อการ Localization วัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นให้เหมาะกับไทยและสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี”