ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงหลังเลือกตั้งจนมาถึงกลางปี 2567 ยังคงพบกับความซบเซาต่อเนื่อง เกิดจากเศรษฐกิจในประเทศที่มีปัญหาเรื้อรังค้างคามาจากปลายปีที่แล้ว ยอดรถยึดท่วมโกดัง และตลาดรถทั้งป้ายแดงและมือสองที่เงียบเหงา บ่งบอกถึงสภาวะทางการเงินของคนที่อยากซื้อรถใหม่ได้เป็นอย่างดี เมื่อเศรษฐกิจในประเทศไม่ดี เป็นเรื่องปกติที่สถาบันทางการเงินจะต้องเพิ่มระดับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อซื้อรถใหม่ที่อนุมัติยากกว่าเดิม การรุกตลาดของรถไฟฟ้าจีนด้วยการกระหน่ำลดราคาเพื่อเทรถที่คาโชว์รูม ทำให้เกิดความปั่นป่วนด้านราคาที่ไม่คงที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของแบรนด์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซื้อรถใหม่วันนี้ พรุ่งนี้ราคาอาจลงมาอีก 1-3 แสนบาท


...


ราคาที่ไม่นิ่งของรถไฟฟ้าจีน (บางแบรนด์) ทำให้ความมั่นใจในการถอยรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ของคนไทยหดหายไปพอสมควร ตลาดที่เงียบเหงายังทำให้เกิดข่าวลือที่มีทั้งมั่วและจริง ข่าว Suzuki ถอดใจ ซึ่งเป็นข่าวที่ไม่จริงกลับถูกแชร์ต่อด้วยความตื่นตระหนก ส่วนที่ไปจริงๆ ก็คือ Subaru แบรนด์ที่ไม่มีรถรุ่นใหม่ประกอบไทยออกมาขายนานหลายปีแล้ว การลากขายของเก่าแล้วต้องต่อสู้กับรถไฟฟ้าจีนที่บุกตะลุยด้วยแคมเปญและราคาที่โดนใจทำให้ตัวเลขยอดขายของค่ายดาวลูกไก่เหี่ยวเฉาจนตันจงสิงคโปร์ต้องยุติสายการผลิต XV และ Forester ในไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ โรงงาน Subaru ในมาเลเซียก็ยุติสายการผลิตไปก่อนหน้าไทยไม่นาน



...
ตันจงสิงคโปร์ยังคงดำเนินธุรกิจขายรถในไทยต่อไปโดยไม่มีโรงงานประกอบในไทย และใช้วิธีนำเข้าอย่างเดียว นั่นยิ่งทำให้ทุกอย่างยากเย็นแสนเข็ญเข้าไปอีก เพราะรถ Subaru ประกอบนอกมีราคาสูงยันเพดานเท่ากับ BMW หรือ Mercedes-Benz ยกตัวอย่างเช่น Outback ประกอบนอก มีราคาเริ่มต้นที่ 2,999,000 บาท แน่นอนว่าต่อไปในอนาคตการนำเข้า Forester รุ่นใหม่จากญี่ปุ่น ราคาน่าจะบานทะโล่ถึง 2,200,000 บาท หรือมากกว่านั้น จากอัตราภาษีนำเข้า 200-250% ซึ่งไม่มีทางต่อสู้กับแบรนด์จีนได้เลย หากรัฐบาลยังคงเปิดให้รถจีนเข้ามาทำตลาดอย่างอิสรเสรี พร้อมภาษีนำเข้า 0% แบบนี้คาดว่าน่าจะมีแบรนด์ญี่ปุ่นที่ต้องล้มหายตายจาก หรือโบกมือลาประเทศไทยอีกหลายแบรนด์เลยทีเดียว ส่วนรถจีนบางแบรนด์ที่มียอดขายไม่ดี หรือต่อสู้ไม่ได้ แม้จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีแล้วก็มีสิทธิ์ที่จะบ๊ายบายไทยแลนด์ได้เหมือนกันครับ
10 อันดับยอดขายรถยนต์สะสม ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2567

อันดับที่ 1 Toyota 58,810 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 35.9%

...
อันดับที่ 2 Honda 25,104 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 15.3%

อันดับที่ 3 Isuzu 24,444 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 14.9%

อันดับที่ 4 BYD 10,047 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 6.1%

...
อันดับที่ 5 Mitsubishi 7,587 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 4.6%

อันดับที่ 6 Ford 5,934 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 3.6%

อันดับที่ 7 MG 4,832 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 3.0%

อันดับที่ 8 Nissan 2,875 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 1.8%

อันดับที่ 9 Mazda 2,431 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 1.5%

อันดับที่ 10 GWM (เกรท วอลล์ มอเตอร์) 2,339 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาด 1.4%




Toyota Motor Thailand รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2567 ยอดขายรถยนต์ในไทยเดือนเมษายน มียอดรวม 46,738 คัน ลดลง 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับตลาดรถยนต์นั่งซึ่งถือว่าเคยดีมาตลาด กลับมียอดลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการขาย 17,288 คัน ลดลงถึง 14.4% ในขณะที่ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ หรือรถกระบะ มีปริมาณการขาย 29,450 คัน ลดลง 25.1% รถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 17,689 คัน ลดลงถึง 34%



ตลาดรถยนต์ในประเทศเดือนเมษายน 2567 มียอดขาย 46,738 คัน ลดลง 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งมีการชะลอตัวที่ 14.4% ด้วยยอดขาย 17,288 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 25.1% ด้วยยอดขาย 29,450 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัวลงมากที่สุด ด้วยยอดขาย 17,689 คัน ลดลงถึง 34% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 15,161 คัน คิดเป็นสัดส่วน 32.4% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้นถึง 27% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV เติบโตขึ้น 56% ด้วยยอดขาย 10,208 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 4,282 คัน ลดลง 4%


ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มจะดีขึ้นจากเดือนเมษายน แต่ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงฟื้นตัวช้า

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2567
ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 46,738 คัน ลดลง 21.5%
อันดับที่ 1 Toyota 19,422 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 Isuzu 6,856 คัน ลดลง 48.6% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 3 Honda 5,743 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%

ตลาดรถยนต์นั่ง
ปริมาณการขาย 17,288 คัน ลดลง 14.4%
อันดับที่ 1 Toyota 5,500 คัน ลดลง 24.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 Honda 3,442 คัน ลดลง 9% ส่วนแบ่งตลาด 19.9%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 1,665 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 29,450 คัน ลดลง 25.1%
อันดับที่ 1 Toyota 13,922 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 47.3%
อันดับที่ 2 Isuzu 6,856 คัน ลดลง 48.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 Honda 2,301 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
(Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 17,689 คัน ลดลง 34%
อันดับที่ 1 Toyota 8,647 คัน ลดลง 15.6% ส่วนแบ่งตลาด 48.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 6,091 คัน ลดลง 48.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 3 Ford 2,015 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง PPV SUV
(ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,622 คัน
อันดับที่ 1 Toyota Fortuner 1,335 คัน
อันดับที่ 2 Isuzu MU-X 1,044 คัน
อันดับที่ 3 Ford Everest 1,012 คัน
อันดับที่ 4 Mitsubishi Pajero Sport 192 คัน
อันดับที่ 5 Nissan Terra 39 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up
ปริมาณการขาย 14,067 คัน ลดลง 35.7%
อันดับที่ 1 Toyota Hilux REVO 7,312 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 52%
อันดับที่ 2 Isuzu D-MAX 5,047 คัน ลดลง 50.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 Ford Ranger 1,003 คัน ลดลง 50.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม-เดือนเมษายน 2567
ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 210,494 คัน ลดลง 23.9%
อันดับที่ 1 Toyota 78,232 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 Isuzu 31,300 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
อันดับที่ 3 Honda 30,847 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง
ปริมาณการขาย 82,903 คัน ลดลง 15.2%
อันดับที่ 1 Toyota 22,131 คัน ลดลง 37.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.7%
อันดับที่ 2 Honda 17,640 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 21.3%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 6,619 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 8%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 127,591 คัน ลดลง 28.7%
อันดับที่ 1 Toyota 56,101 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 44%
อันดับที่ 2 Isuzu 31,300 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 3 Honda 13,207 คัน เพิ่มขึ้น 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
(Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 74,114 คัน ลดลง 42.2%
อันดับที่ 1 Toyota 33,895 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 Isuzu 27,572 คัน ลดลง 50.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 Ford 7,946 คัน ลดลง 42.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง PPV SUV
(ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 13,436 คัน
อันดับที่ 1 Toyota Fortuner 4,983 คัน
อันดับที่ 2 Isuzu MU-X 4,212 คัน
อันดับที่ 3 Ford Everest 3,151 คัน
อันดับที่ 4 Mitsubishi Pajero Sport 924 คัน
อันดับที่ 5 Nissan Terra 166 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 60,678 คัน ลดลง 42.3%
อันดับที่ 1 Toyota Hilux REVO 28,912 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 47.6%
อันดับที่ 2 Isuzu D-MAX 23,360 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 Ford Ranger 4,795 คัน ลดลง 49.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%