rolls royce ghost “ยนตรกรรม ‘กู๊ดวูด โกสต์’ รุ่นแรก คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้ารุ่นใหม่ของแบรนด์ ทั้งด้านอายุและทัศนคติ ตลอดระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่การเปิดตัวเมื่อปี 2552 ‘โกสต์’ ได้กลายเป็นยนตรกรรมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 116 ปีของแบรนด์
เมื่อปี 2552 โรลส์-รอยซ์ได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยนตรกรรมแฟนธอมรุ่นเรือธง ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความสนใจจากลูกค้าที่ชื่นชอบการแสวงหาความสมบูรณ์แบบอย่างไม่หยุดยั้งด้านการออกแบบ วิศวกรรม และงานศิลป์ของแบรนด์ แต่ต้องการการแสดงออกที่ถ่อมตัวและเรียบง่ายมากขึ้นจากโรลส์-รอยซ์ การรังสรรค์ ‘กู๊ดวูด โกสต์’ คันแรก ความพยายามที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงจุด นำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดระยะเวลา 10 ปี ยนตรกรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงรุ่นนี้ก็ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 116 ปีของบริษัท ความสำเร็จของโกสต์มีส่วนสำคัญในการทำให้แบรนด์สามารถขยายการผลิต และลงทุนในการเสริมสร้างขีดความสามารถ และผลักดันให้โรลส์-รอยซ์เป็นแบรนด์ระดับโลกในปัจจุบัน
...
วิศวกรรมแพลตฟอร์ม อลูมิเนียมสเปซเฟรม
แพลตฟอร์มเฉพาะของโรลส์-รอยซ์นี้ได้ถูกนำไปใช้กับยนตรกรรมแฟนธอมรุ่นเรือธงของแบรนด์ และคัลลิแนน ซึ่งเป็นเหมือนการปฏิวัติของเอสยูวีมาแล้ว ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับขนาดของสเปซเฟรมทำให้แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียศาสตร์และจักรกลที่ไม่เหมือนใครของ ‘นิว โกสต์’ ได้อย่างเสรี และทำให้เกิดอีกตัวเลือกหนึ่งของยนตรกรรมที่มีความเหนือกว่าทางเสียง มีความแข็งแกร่ง และไดนามิกสูง เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของโรลส์-รอยซ์
พื้นที่บริเวณมุมทั้ง 4 ของตัวรถ ฝากั้นเครื่องยนต์อลูมิเนียมที่เคลื่อนย้ายได้ พื้นห้องโดยสาร คานขวางตัวรถ และแผงธรณีประตู ซึ่งได้รับการจัดวางอย่างเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่า ‘นิว โกสต์’ จะสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า สำหรับช่วงล่าง ชุดกันกระแทก 2 ชุดถูกเลื่อนออกไปอยู่ที่ด้านหน้าสุดของ ‘นิว โกสต์’ ทำให้เครื่องยนต์ V12 สูบ 6.75 ลิตร ตั้งอยู่หลังเพลาหน้าพอดี เพื่อให้ได้การกระจายน้ำหนักที่เหมาะสมแบบ 50/50 ความยาวโดยรวมของตัวรถ เพิ่มขึ้นอีก 89 มม. เมื่อเทียบกับ ‘กู๊ดวูด โกสต์’ กลายเป็น 5546 มม. ความกว้างโดยรวมเพิ่มขึ้น 30 มม. เป็น 1978 มม. นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญกับฝากั้นเครื่องยนต์แบบหุ้ม 2 ชั้นและโครงสร้างพื้นห้องโดยสาร เพื่อรองรับระบบขับเคลื่อนทุกล้อ ระบบบังคับเลี้ยวทุกล้อ และระบบช่วงล่าง Planar ที่ออกแบบใหม่ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยไม่กระทบต่อจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเข้าโค้ง
โครงสร้างส่วนบนของ ‘นิว โกสต์’ จึงทำจากโลหะ 100% ตัวถังด้านนอกของรถถูกเปลี่ยนให้เป็นแผ่นโลหะชิ้นเดียวที่มีความกว้าง และลื่นไหลอย่างไร้รอยต่อตั้งแต่เสาเอ (A-pillar) จนถึงหลังคา แผ่นหุ้มตัวถังชิ้นเดียวแบบงาน coachbuilt ช่างฝีมือ 4 คน เชื่อมตัวถังทั้งหมดของรถด้วยมือโดยพร้อมกัน เพื่อให้รอยต่อต่างๆ มีความต่อเนื่องสมบูรณ์แบบ บานประตูอลูมิเนียม เชื่อมด้วยเลเซอร์ ลดน้ำหนัก และความแข็งตึง 40,000Nm/deg
...
เครื่องยนต์ V12 ทวินเทอร์โบ สูบ 6.75 ลิตร
เครื่องยนต์เบนซิน V12 ทวินเทอร์โบ สูบ 6.75 ลิตร โครงสร้างเครื่องยนต์แบบบีสโป๊กของโกสต์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างแรงม้า 563 ตัว (420kW) แรงบิด 850Nm หรือ 627lb ft ส่งตรงไปยังระบบขับเคลื่อนทุกล้อและระบบบังคับเลี้ยวทุกล้อ แรงบิดสูงสุดตั้งแต่ 1600 รอบ/นาที จนถึงเพียง 600 รอบ/นาทีเหนือจำนวนรอบต่ำสุด ปรับแต่งระบบท่อนำอากาศเพื่อลดเสียงเครื่องยนต์ภายในตัวรถ
...
ระบบช่วงล่าง Planar
ช่วงล่าง Planar ระบบนี้ได้รับการตั้งชื่อตามแนวระนาบทางเรขาคณิต ซึ่งเรียบและราบเสมอกันตลอดแนวอย่างสมบูรณ์ ระบบนี้เป็นผลมาจากการทดสอบและพัฒนาร่วม 10 ปี เพื่อให้เกิดความรู้สึกเสมือนบินแม้จะอยู่บนพื้นดิน ช่วงล่างคือพัฒนาการทางวิศวกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีการสแกนและซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานที่มีความซับซ้อน รวมเอาตัวซับแรงกระแทกปีกนกชิ้นบน (Upper Wishbone Damper) ตัวแรกของโลกไว้เหนือระบบกันสะเทือนล้อหน้า ทำให้การขับขี่มีความมั่นคงและง่ายดายยิ่งขึ้น ระบบนี้ทำงานร่วมกับระบบกล้องสเตอริโอ Flagbearer คอยอ่านสภาพเส้นทางข้างหน้าและเตรียมระบบช่วงล่างให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวถนน และระบบสัญญาณดาวเทียมของแบรนด์ (Satellite Aided Transmission) ผ่านระบบซอฟต์แวร์ Planar ที่ออกแบบมาเฉพาะ สามารถคาดการณ์และตอบสนองได้ดี แม้จะเผชิญกับพื้นผิวถนนที่โหดร้าย
แค่ Upper Wishbone Damper เพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้เวลาในการทดสอบบนถนนจริงและด้วยซอฟต์แวร์ถึง 5 ปี เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะสำหรับโรลส์-รอยซ์ เป็นการต่อยอดระบบช่วงล่างที่นุ่มนวลดุจพรมวิเศษแบบปีกนกสองชั้น (double-wishbone Magic Carpet Ride) ของแบรนด์ เพื่อปรับปรุงระบบรองกับการกระแทกแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการผันแปรอย่างต่อเนื่อง ชุดโช้คถุงลม (air strut) ปรับระดับได้เอง ไม่เคยถูกนำมาใช้ในรถยนต์ที่มีขายในท้องตลาดมาก่อน
...
ระบบเพลาหลังแบบไฟว์ลิงก์และพวงมาลัยล้อหลังยังได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีช่วงล่างถุงลม เพลาทั้งสองได้รับการจัดการผ่านซอฟต์แวร์ Planar ของแบรนด์ ซึ่งยังควบคุมเทคโนโลยีแชสซีอื่นๆ ของโกสต์เช่นกัน เช่น ระบบขับเคลื่อนทุกล้อ ระบบบังคับเลี้ยวทุกล้อ ระบบควบคุมการทรงตัว และระบบเบรกแบบ self-drying เพื่อให้แน่ใจว่าทุกส่วนของรถจะสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวและระดับการยึดเกาะอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซอฟต์แวร์ Planar ยังจัดการข้อมูลที่จำเป็นต่อยนตรกรรมโกสต์ในการปรับตัวเชิงรุกให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวทางข้างหน้า เทคโนโลยีแรกคือระบบกล้อง Flagbearer ของแบรนด์ ซึ่งชวนให้นึกถึงผู้ถือธงแดงนำหน้ายานยนต์ในอดีต เทคโนโลยีนี้ประกอบด้วยระบบกล้องสเตอริโอที่ผนึกอยู่กับกระจกหน้าเพื่อช่วยดูเส้นทางจราจรข้างหน้า และระบบช่วงล่างที่ปรับตัวเชิงรุกได้ถึง 100 กม. / ชม. เทคโนโลยีที่ 2 คือระบบสัญญาณดาวเทียมของแบรนด์ ซึ่งจะดึงข้อมูล GPS เพื่อเลือกเกียร์ที่เหมาะสมล่วงหน้าสำหรับการเข้าโค้ง ผลลัพธ์ที่ได้คือความสะดวกสบายในการขับขี่และการควบคุมในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับรถยนต์
เจ้าของสามารถเปิดประตูได้โดยมีระบบไฟฟ้าคอยช่วยเหลือ ขั้นแรกในการเปิดประตูคือ ดึงที่จับด้านใน 1 ครั้ง จากนั้นปล่อยให้ที่จับกลับสู่ตำแหน่งเดิม ระหว่างนั้นระบบก็จะตรวจสอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม จากนั้นให้ดึงด้ามประตูค้างไว้เพื่อให้ระบบไฟฟ้าเข้ามาเลี้ยงและประตูเริ่มเปิดออก เมื่อประตูเปิดกว้างพอแล้ว ให้หยุดดึงที่จับ ซึ่งเป็นการหยุดประตูไม่ให้เปิดกว้างมากกว่านั้น เมื่อลงจากรถแล้ว สามารถปิดประตูได้โดยอัตโนมัติโดยกดปุ่มที่มือจับประตูด้านนอก หากต้องการปิดประตูด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้ด้วยการช่วยเหลือจากไฟฟ้า เซนเซอร์ตามแนวยาวและตามขวางในตัวรถ ตลอดจนเซนเซอร์ G-force ที่ติดอยู่ที่ประตูแต่ละบานจะช่วยให้การเปิด-ปิดประตูทำงานได้เร็วเท่ากัน ไม่ว่ารถจะจอดอยู่บนเนินหรือมุมถนนในซอยแคบ
‘นิว โกสต์’ มีระบบฟอกอากาศภายในห้องโดยสาร (Micro-Environment Purification System หรือ MEPS) ใหม่ เทคโนโลยีการกรองอากาศที่มีอยู่ของแบรนด์ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้นแบบครบวงจร เซนเซอร์ตรวจจับสิ่งปนเปื้อนที่มีความไวสูงถูกนำมาใช้วัดคุณภาพอากาศโดยรอบและจะเปลี่ยนโหมดการทำงานโดยอัตโนมัติจากโหมดรับอากาศภายนอก ไปเป็นโหมดหมุนเวียนอากาศภายใน (Recirculation Mode) หากพบว่าระดับของการปนเปื้อนในอากาศนั้นสูงเกินไป ระบบนี้จะผันอากาศทั้งหมดในห้องโดยสารไปยังตัวกรองนาโนฟลีซ ซึ่งสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนอนุภาคขนาดเล็กพิเศษเกือบทั้งหมดออกจากห้องโดยสารของโรลส์-รอยซ์ได้เกือบทั้งหมด ภายในเวลาไม่ถึง 2 นาที
อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ไฟหน้า LED และเลเซอร์ที่มีระยะส่องสว่างไกลกว่า 600 เมตร ระบบเสริมทัศนวิสัย รวมถึงระบบแจ้งเตือนให้ระวังสัตว์ป่าและคนเดินเท้าในเวลากลางวันและกลางคืน ระบบกระตุ้นผู้ขับ (alertness assistant) ระบบกล้อง 4 ตัวพร้อมมุมมองแบบพาโนรามา มุมมองแบบรอบตัวรถและมุมมองแบบเฮลิคอปเตอร์ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ระบบเตือนก่อนการชน ระบบเตือนการจราจรด้านหลังขณะถอยรถ ระบบเตือนเมื่อออกและเปลี่ยนเลน จอแสดงผลบนหน้ากระจก (head-up display) ความละเอียดสูง 7x3 นิ้วที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไว-ไฟ ฮอตสปอต ระบบจอดด้วยตนเอง และระบบนำทางและความบันเทิงล่าสุด
เสียง (Acoustics)
สูตรสำเร็จแห่งความเงียบสงบ
การสร้างบรรยากาศทางโสตที่เงียบสงบภายในห้องโดยสาร วิศวกรด้านเสียง ของโรลส์-รอยซ์คือผู้เชี่ยวชาญด้านความเงียบสงบ สำหรับ ‘นิว โกสต์’ สร้างสูตรสำเร็จแห่งความเงียบสงบ (Formula for Serenity) ที่จะเป็นแนวทางให้ผลิตภัณฑ์ในอนาคต
องค์ประกอบแรกของสูตรนี้คือ แพลตฟอร์มอลูมิเนียมสเปซเฟรมของโรลส์-รอยซ์ โครงสร้างอลูมิเนียมมีค่าความต้านทานคลื่นเสียง (acoustic impedance) ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับโครงสร้างจากเหล็กกล้า นอกจากนี้ยังใช้พื้นผิวที่มีรูปทรงซับซ้อนแทนที่จะเป็นแบบเรียบซึ่งก่อให้เกิดเสียงสะท้อน ฝากั้นเครื่องยนต์และพื้นห้องโดยสารเลือกใช้แบบหุ้ม 2 ชั้น ตรงกลางเป็นวัสดุคล้ายผ้าสักหลาดทำจากจากวัสดุคอมโพสิตสำหรับซับเสียง เพื่อลดเสียงจากถนนที่เข้ามาในห้องผู้โดยสาร ส่วนอื่นๆ ของยนตรกรรมยังมีจุดสำหรับมีใส่วัสดุซับเสียง ทั้งนี้ ‘นิว โกสต์’ ใช้วัสดุซับเสียงรวมกว่า 100 กิโลกรัม บริเวณประตู หลังคา ระหว่างหน้าต่างเคลือบ 2 ชั้น ในยางรถ และเกือบจะทุกที่ในโครงด้านในของตัวรถ
องค์ประกอบอื่นทุกชิ้นที่ก่อให้เกิดเสียง แม้ว่าแทบจะรับรู้ไม่ได้ด้วยหูมนุษย์ จะได้รับการตรวจสอบและปรับแต่งอย่างละเอียด กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันในหมู่วิศวกรเสียงว่า ‘hidden inputs’ ในการพัฒนา ‘นิว โกสต์’ องค์ประกอบทุกชิ้นจะถูกตรวจสอบเพื่อประเมินว่าสร้างเสียงรบกวนมากเกินกว่าจะยอมรับได้ตามที่วิศวกรกำหนดไว้หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นก็จะต้องถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ด้านในของท่อเครื่องปรับอากาศนั้นสร้างเสียงลมที่ดังเกินยอมรับได้ จึงถูกนำออกและขัดให้เรียบ แม้กระทั่งชิ้นส่วนในการระบบขับเคลื่อนก็ถูกปรับแต่ง เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อเพลากลางถูกปรับและเพิ่มความแข็ง ทั้งหมดนี้เพื่อให้สร้างห้องเก็บเสียงที่แทบจะเงียบสนิทของ ‘นิว โกสต์’
ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของแบรนด์ ได้ทดลองสร้างห้องโดยสารที่เงียบสนิท แต่กลับพบว่าความเงียบเกินไปนั้นทำให้เกิดความรู้สึกสับสนอึดอัด พวกเขาจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้าง ‘เสียงกระซิบ’ ซึ่งเป็นเสียงต่ำ โทนเดียวที่สอดแทรกมาอย่างแนบเนียน เพื่อให้เกิดบรรยากาศเช่นนี้ ทีมงานต้องปรับจูนชิ้นส่วนทุกอย่างให้สร้างเสียงสะท้อนในความถี่เดียวกัน ตัวอย่างเช่น โครงเบาะนั่งของรถต้นแบบมีเสียงสะท้อนคนละความถี่กับตัวถัง จึงต้องใช้วัสดุซับเสียงมาช่วยเพื่อปรับเสียงให้อยู่ในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ พื้นที่เก็บของขนาด 500 ลิตร สร้างเสียงความถี่ต่ำที่ผู้โดยสารจะได้ยินเมื่อรถขับด้วยความเร็วบนมอเตอร์เวย์ จึงมีการสร้างช่องไว้ใต้ชั้นเก็บของด้านหลังเพื่อสำหรับระบายเสียงรบกวนนี้ และทำให้เสียงใน ‘นิว โกสต์’ ประสานกันอย่างลงตัว
ระบบเสียงแบบบีสโป๊ก (Bespoke Audio)
เช่นเดียวกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบเพื่อให้ลูกค้าได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศที่แทบจะเงียบสนิท การแสวงหาความสมบูรณ์แบบด้านเสียงของโรลส์-รอยซ์ยังนำไปสู่การสร้างห้องโดยสารที่เป็นเหมือนห้องเก็บเสียงชั้นเลิศสำหรับวิศวกรระบบเสียงแบบบีสโป๊กของแบรนด์ การทำงานของหญิงชายเหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการออกแบบของสถาปัตยกรรมตัวรถด้วย เพื่อสร้างระบบเสียงสำหรับ ‘นิว โกสต์’ ที่สามารถส่งมอบคุณภาพเสียงผ่านทุกอณูของยนตรกรรม
‘นิว โกสต์’ ได้ใส่ Resonance Chamber ไว้ในส่วนฐานของตัวรถ โดยขนาดและรูปร่างของมันจะต้องสอดคล้องกับการตอบสนองต่อความถี่ของชิ้นส่วนในลำโพง Bespoke Audio กล่าวอีกนัยก็คือ องค์ประกอบทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนยนตรกรรมทั้งคันให้กลายเป็นซับวูฟเฟอร์ (Subwoofer) ที่ปล่อยเสียงที่มีความถี่ต่ำเป็นพิเศษ
อุปกรณ์ควบคุมลำโพง 18 ช่องสัญญาณ (หนึ่งช่องสำหรับลำโพงแต่ละตัว) ให้เอาต์พุต 1300W นอกจากนี้เทคโนโลยี optimisation ที่ล้ำสมัยและกรวยลำโพงแมกนีเซียมเซรามิกที่มีความแม่นยำสูง ยังช่วยให้รายละเอียดที่เล็กที่สุดในการเปลี่ยนแปลงของเสียงปรากฏชัดผ่านการตอบสนองต่อความถี่ที่ดีเยี่ยม ลำโพง Exciter ถูกนำมาใช้ร่วมกับลำโพงแบบกรวยตามปกติ อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับการผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวตัวรถ ณ ตำแหน่งที่มันถูกติดตั้ง เพื่อให้สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนจากมวลที่เคลื่อนที่ของ Exciter ผ่านไปยังพื้นผิวบริเวณนั้นโดยตรง ในกรณีของ ‘นิว โกสต์’ พื้นผิวนั้นคือเพดานสตาร์ไลต์ เฮดไลเนอร์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเพดานห้องโดยสารได้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นลำโพงขนาดใหญ่
ไมโครโฟนแบบแอกทีฟ 2 ตัวในห้องโดยสารยังมีฟังก์ชันที่ช่วยปรับเสียงด้วย โดยจะตรวจจับการขาดหรือการเกินของความถี่แล้วส่งสัญญาณให้แอมพลิฟายเออร์ปรับความดังของความถี่บางช่วงเพื่อหักล้างความขาดเกินนั้น ส่วนระบบ Bespoke Audio ช่วยให้ผู้โดยสารเพลิดเพลินกับประสบการณ์ฟังเพลงที่ยอดเยี่ยมด้วยคุณภาพเสียงสูงสุดที่ไม่ผ่านการบีบอัด
หน้ารถของ ‘นิว โกสต์’ งดงามราวต้องมนตร์ สิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากการออกแบบที่โจ่งแจ้ง แต่เป็นเพราะแสงไฟ LED 20 ดวงที่อยู่ซ่อนอยู่ตรงส่วนบนของกระจังหน้าช่วยส่องแสงให้รายละเอียดปรากฏชัด ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนายนตรกรรมต้นแบบในช่วงแรกนั้นยังมีเอฟเฟกต์ที่ดูมากเกิน แสงที่สะท้อนออกมาจากกระจังหน้าขัดเงาดูเข้มไป ดังนั้น ด้วยจิตวิญญาณแห่งสุนทรียศาสตร์แบบ ‘โพสต์ ออปพิวเลนซ์’ ทีมวิศวกรของแบรนด์ได้ตบแต่งด้านหลังของแถบกระจังโลหะ เพื่อลดการสะท้อนแสง ทำให้เอฟเฟกต์อ่อนลง และได้แสงที่นุ่มนวลตามที่ต้องการ
สำหรับการออกแบบกลาสเฮาส์ (glasshouse) ซึ่งหมายรวมถึงกระจกหน้า กระจกหลัง หน้าต่างรถ เสา และหลังคานั้น เจตนาให้มีความสมดุล ประตูทั้งส่วนของคนขับและผู้โดยสารด้านหลังจะได้รับสัดส่วนของหน้าต่างที่เท่ากัน แสดงให้เห็นว่า ‘นิว โกสต์’ นั้นต้องการให้เกิดความสมดุลทั้งในฐานะยนตรกรรมสำหรับให้พนักงานขับและยนตรกรรมที่เจ้าของขับเอง แนวหลังคาโค้งอย่างประณีตบ่งบอกถึงเจตจำนงอันทรงพลัง ส่วนท้ายรถสานต่อความรู้สึกของการเคลื่อนไหวนี้ และจบด้วยแนวเส้นที่ลาดลง
รูปทรงของไฟท้ายที่แทบจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้กลายเป็นหลักของการออกแบบร่วมสมัยของโรลส์-รอยซ์ ซึ่งรูปทรงนี้ยังคงอยู่ แต่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยด้วยการเอียงมาข้างหน้าเล็กน้อย และเนื่องจากรอยต่อรอบไฟได้หายไป จึงทำให้ไฟท้ายดูเหมือนเป็นเกาะที่ได้รับการแต่งแต้มสี ลอยเด่นอยู่บนผิวรถ
ภายใน
การสร้างสภาพแวดล้อมภายในยนตรกรรมที่ถูกนิยามด้วยการลดทอน เน้นความเรียบง่าย และความสง่างาม ถือเป็นความพยายามที่ยากยิ่ง และต้องจัดหาวัสดุที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหนัง ไม้ และโลหะ ซึ่งไม่มีทางรอดพ้นสายตาของลูกค้าที่มีความรู้กลุ่มนี้ไปได้หากไม่ได้รับการตกแต่งให้สวยงาม ดังนั้นหนังสัตว์ครึ่งแผ่นทั้งหมด 20 ชิ้น ที่นำมาใช้ในการตกแต่งภายในของ ‘นิว โกสต์’ จะถูกควบคุมคุณภาพอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่ทำกันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นผิวหุ้มหนังทั้งหมด 338 จุด ไม่ว่าจะอยู่ในที่ลับสายตามากแค่ไหน จะมีคุณภาพดีที่สุด การทำเช่นนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถของแบรนด์เรื่องงานเครื่องหนัง ส่วนงานปักที่ซับซ้อนและยุ่งเหยิงได้ถูกตัดออก แล้วแทนที่ด้วยฝีเย็บเส้นเดี่ยวบางๆ แต่ยาวและตรงอย่างสมบูรณ์แบบ และแน่นอนว่าพร้อมเผชิญการทดสอบด้วยสายตาลูกค้าของแบรนด์อีกครั้ง
ชุดไม้สำหรับ ‘นิว โกสต์’ เป็นแบบเปิดผิวไม้ที่เผยให้เห็นวัสดุอันเปลือยเปล่าอย่างไม่เหนียมอาย แท้จริงแล้วมีการพัฒนาสีเคลือบ 2 สีใหม่โดยเฉพาะ สีแรกชื่อว่า Obsidian Ayous ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากความหลากหลายของสีที่พบในหินลาวา สีที่สองชื่อ Dark Amber ซึ่งมอบเสน่ห์เย้ายวนให้กับชุดห้องโดยสาร ด้วยการผสานแนวเส้นของอนุภาคอลูมิเนียมละเอียดเข้ากับไม้สีเข้ม การเคลือบหนังก็เช่นเดียวกัน ผิววัสดุจะถูกเผยให้เห็นได้ชัดเจน แผ่นหนังจะเป็นแผ่นยาวแผ่นเดียว และจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยช่องระบายอากาศที่ทำจากโลหะแท้เพียงเท่านั้น และช่องระบายเหล่านี้เอง เป็นจุดที่อากาศจากระบบฟอกอากาศ MEPS จะผ่านเข้ามา
บีสโป๊ก
แผงหน้าปัดเรืองแสง ‘Illuminated Fascia’
ทีมออกแบบ Bespoke Collective ที่ประกอบด้วยนักออกแบบ วิศวกร และช่างศิลป์ได้สร้างแผงหน้าปัดเรืองแสง ‘Illuminated Fascia’ สำหรับ ‘นิว โกสต์’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกของโลกที่สอดคล้องไปกับเพดานห้องโดยสาร ‘สตาร์ไลต์ เฮดไลเนอร์’ ที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์เฉพาะตัวของโรลส์-รอยซ์ เช่นเดียวกับสัญลักษณ์สปิริต ออฟ เอ็กสตาซี แผงกระจังหน้าทรงแพนธีออน และโมโนแกรมตัว “R” คู่
หลังจากใช้เวลาพัฒนากว่า 10,000 ชั่วโมง ตลอด 2 ปี แผงหน้าปัด ‘Illuminated Fascia’ ที่มาพร้อมชื่อยนตรกรรมโกสต์แบบเรืองแสง รายล้อมด้วยดาวมากกว่า 850 ดวง ก็ถูกนำมาประดับไว้ภายในห้องโดยสารของ ‘นิว โกสต์’ กลุ่มดาวและข้อความบริเวณแผงหน้าปัดจะถูกซ่อนจนแทบมองไม่เห็นเมื่อเครื่องยนต์ดับอยู่
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการออกแบบ ‘โพสต์ ออฟพิวเลนซ์’ ของ ‘นิว โกสต์’ ทีมออกแบบ Bespoke Collective เลือกที่จะไม่ใช้หน้าจอแบบปกติเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ที่น่าหลงใหลนี้ ในทางกลับกันพวกเขาสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่อันเป็นแก่นแท้ของความหรูหราและซับซ้อนอย่างแท้จริง การเรืองแสงเป็นผลมาจากการติดไฟ LED 152 ดวงไว้ทั้งด้านบนและด้านล่างของแผงหน้าปัด สีที่นำมาใช้ได้รับการเลือกอย่างพิถีพิถันให้เข้ากับนาฬิกาของห้องโดยสารและไฟที่หน้าปัดบอกข้อมูลการขับขี่ และเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความ ‘Ghost’ จะสว่างสม่ำเสมอเท่ากันหมด มีการสลักจุดกว่า 90,000 จุดลงบนพื้นผิวของเส้นนำแสงความหนา 2 มิลลิเมตร เพื่อช่วยให้แสงกระจายตัวได้ทั่วถึงกัน พร้อมกับสร้างเอฟเฟกต์ที่ระยิบระยับเมื่อทอดสายตาผ่านแผงหน้าปัด เข้ากับประกายที่นุ่มนวลของเพดานสตาร์ไลต์ เฮดไลเนอร์
งานวิศวกรรมขนานใหญ่ถูกนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าแผงหน้าปัด ‘Illuminated Fascia’ จะไม่มีทางมองเห็นได้เลยในขณะที่ยังไม่ได้เดินเครื่องยนต์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ทีมวิศวกรได้ใช้วัสดุคอมโพสิต 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นพื้นผิวสีดำ Piano Black ซึ่งฉลุด้วยเลเซอร์เพื่อลบสีดำออกบางส่วนและปล่อยให้แสงส่องผ่านคำว่า ‘Ghost’ และกลุ่มดาว พื้นผิวนี้ถูกทับด้วยชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นแลคเกอร์สีเข้ม เข้ามาช่วยซ่อนตัวอักษรเอาไว้เมื่อยังไม่ติดเครื่องยนต์ ชั้นสุดท้ายถูกทาทับด้วยแลคเกอร์ในเฉดสีที่กลมกลืน และขัดด้วยมือเพื่อให้ได้ผิวเคลือบหนา 0.5 มิลลิเมตรที่มีความมันเงาเสมอกัน และสอดคล้องกับการตกแต่งในส่วนอื่นของตัวรถที่เน้นบางจุดให้เด่นขึ้นด้วยเทคนิคไฮกลอส
ข้อมูลทางเทคนิค
ขนาด
ความยาวของตัวรถ 5,546 มม. / 218 นิ้ว
ความกว้างของตัวรถ 2,148 มม. / 85 นิ้ว
ความสูงของตัวรถ (ขณะไม่บรรทุกสัมภาระ) 1,571 มม. / 62 นิ้ว
ฐานล้อ 3,295 มม. / 130 นิ้ว
น้ำหนัก
น้ำหนักรถขณะไม่บรรทุกสัมภาระ (สถาบันมาตรฐานแห่งเยอรมนี) 2,490 กก. / 5,489.5 ปอนด์
น้ำหนักรถเปล่า (สหรัฐอเมริกา) 2,553 กก. / 5,628.4 ปอนด์
เครื่องยนต์
เครื่องยนต์ / กระบอกสูบ / วาล์ว 6.75 / 12 / 48
ระบบจัดการเชื้อเพลิง หัวฉีดตรง
แรงบิดสูงสุด 850 นิวตันเมตร ที่ 1,600 รอบต่อนาที
กำลัง 571 แรงม้า / 420 กิโลวัตต์ ที่ 5,000 รอบต่อนาที
สมรรถนะ
ความเร็วสูงสุด 155 ไมล์/ชั่วโมง, 250 กม./ชั่วโมง (ความเร็วควบคุม)
อัตราเร่ง 0-60 ไมล์ต่อชั่วโมง 4.6 วินาที
อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4.8 วินาที
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง2
ขับในเมือง 27-27.7 ลิตร/100 กม. / 10.2-10.5 ไมล์ต่อแกลลอน
(คลาส Le Mans Prototype)
ขับในชานเมือง 12.3-12.9 ลิตร/100 กม. / 21.9-23 ไมล์ต่อแกลลอน
(คลาส Le Mans Prototype)
อัตราสิ้นเปลืองรวม 15.2-15.7 ลิตร/100 กม. / 18-18.6 ไมล์ต่อแกลลอน
(คลาส Le Mans Prototype)
อัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (รวม) 347-358 กรัม/กม.