มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่กำลังส่งผลกระทบกับสุขภาพของคนเมือง ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากขบวนการผลิต กิจกรรมด้านการเกษตร การระเหยของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย
ฝุ่นละอองและมลพิษที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะ
บริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจากการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ไปจนถึง PM 2.5 สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
...
ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน อาจแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นปี ฝุ่นละอองในบรรยากาศอาจแยกได้เป็นฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายสู่บรรยากาศจากแหล่งกำเนิดโดยตรงและฝุ่นละอองซึ่งเกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาต่างๆ ในบรรยากาศ เช่นการรวมตัวด้วยปฏิกิริยาทางฟิสิกส์ หรือปฏิกิริยาทางเคมี หรือปฏิกิริยาเคมีแสง (Photochemical reaction) ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการรวมตัวฝุ่นละออง เช่น ควัน (Smoke) ฟูม (fume) หมอกน้ำ ค้าง (mist) ฝุ่นละอองอาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นดิน ทราย หรือเกิดจากควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์การจราจร และการอุตสาหกรรม ฝุ่นที่ถูกสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ รบกวนการมองเห็น และทำให้สิ่งต่างๆ สกปรกเสียหาย ปริมาณฝุ่นละออง 30% เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยใกล้ถนนฝุ่นละออง 70-90% เกิดจากการกระทำของมนุษย์และพบว่าฝุ่นละอองมีสารตะกั่วและสารประกอบโบไมด์สูงกว่าบริเวณนอกเมือง อันเนื่องมาจากมลพิษที่เกิดจากยานพาหนะ ฝุ่นละอองเมื่อแยกตามขนาด พบว่า 60% โดยประมาณ จะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ฝุ่นประเภทนี้เกิดจากรถประจำทางและรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล บางส่วนมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนมากจะพบอยู่ทั่วไปในเขตเมืองเขตอุตสาหกรรมและเขตกึ่งชนบท หากพบในปริมาณที่สูงจะมีผลต่อสุขภาพ เนื่องจากมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจหรือโรคปอด เกิดการระคายเคืองและทำลายเยื่อหุ้มปอด หากได้รับในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะเกิดการสะสม ทำให้เกิดพังผืดและเป็นแผลได้ ทำให้การทำงานของปอดลดลง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของฝุ่นละออง ส่วนฝุ่นขนาดใหญ่อีกประมาณ 40% ที่เหลือเกิดจากการก่อสร้างและการฟุ้งกระจายของฝุ่นจากพื้นที่ว่างเปล่า ฝุ่นประเภทนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัยมากนักเพียงแต่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนต้น และอาจเป็นเพียงการรบกวนและก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น
ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 เป็นที่รู้กันดีว่ามีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการจากแบบจำลองของปี ค.ศ. 2010 ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากฝุ่น PM 2.5 ประมาณ 3.1 ล้านคน อายุขัยเฉลี่ยประชากรโลกลดลง 8.6 เดือน สำหรับประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากมลพิษอากาศในปี ค.ศ. 2013 ประมาณ 50,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท
...
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ข้อมูลโดยอ้างการศึกษาจาก Source Apportionment ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นในบรรยากาศพื้นที่กรุงเทพฯ ของ Kim Oanh ในปี 2550 และ 2560 พบว่าฝุ่น PM 2.5 จากการตรวจวัดที่เขตดินแดงในปี 2550 มาจากไอเสียรถดีเซล ร้อยละ 52 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 35 ฝุ่นทุติยภูมิและอื่นๆ ร้อยละ 13 ส่วนในปี 2560 พบว่าฝุ่น PM2.5 มาจากไอเสียรถดีเซลร้อยละ 20.8-29.2 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 24.6-37.8 ฝุ่นทุติยภูมิร้อยละ 15.8-20.7 และอื่นๆ ทั้งนี้ในช่วงหน้าแล้งจะมีการเผาชีวมวลสูงกว่าในช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูหนาวต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายฤดูร้อน จะมีการเผาที่ก่อให้เกิดมลภาวะมากกว่าช่วงอื่น
...
Mercedes-Benz เปิดโครงการ “Charge to Change” ชวนผู้ใช้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดทุกยี่ห้อร่วมกันชาร์จไฟเพื่อเปลี่ยนโลก ลดปัญหา PM 2.5 สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น พร้อมสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นให้คนไทยจากปัญหาฝุ่นควันพิษในเมืองใหญ่ที่กำลังส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทย Mercedes-Benz เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อม เปิดตัวโครงการ “Charge to Change” อย่างเป็นทางการ ชวนผู้ใช้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันหันมาชาร์จไฟเพื่อช่วยทำให้อากาศในเมืองดีขึ้น โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานมาชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้บ่อยขึ้น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหา PM 2.5 สร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น พร้อมทั้งสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย
...
โรลันด์ โฟล์เกอร์ ประธานบริหาร Mercedes-Benz กล่าวว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โควิด-19 เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบกับผู้คนทั่วโลก นำไปสู่การทิ้งระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการระบาด ส่วนปัญหามลภาวะทางอากาศของฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้นั้นดูเหมือนจะบรรเทาเบาบางลง และไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก ทว่าในความเป็นจริง ปัญหานี้ยังอยู่กับคนไทย ไม่ได้หายไปไหน และการเดินทางด้วยรถยนต์ก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด PM 2.5 ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุชัดเจนว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของฝุ่นละออง PM 2.5 นั้นมาจากการเดินทางโดยรถยนต์ และเฉพาะในกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีจำนวนรถยนต์จดทะเบียนอยู่มากกว่า 10 ล้านคัน ไม่ว่าจะมีโควิดหรือหลังจากโควิดผ่านพ้นไป ปัญหา PM 2.5 จะยังเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยทุกภาคส่วนต้องหันมาร่วมมือกันแก้ไข
Mercedes-Benz ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ที่เข้ามาลงทุนและทำตลาดในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในเมืองที่มีฝุ่นพิษเยอะขึ้นทุกปี โดยพยายามหาทางออกว่าจะมีทางใดที่สามารถใช้รถยนต์ต่อไปแต่ช่วยให้อากาศสะอาดขึ้นได้บ้าง รถยนต์ EQ Power หรือรถยนต์รุ่นปลั๊กอินไฮบริดที่ Mercedes-Benz จำหน่ายในประเทศไทยนั้นสามารถเดินทางโดยปราศจากมลพิษ (ในระยะทางสั้นๆ) ให้กับผู้ขับได้ แต่การจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในวงกว้างนั้นต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากผู้ใช้รถยนต์ Plug in Hybrid ทุกยี่ห้อ เป็นที่มาของโครงการ “Charge to Change” เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้ง Mercedes-Benz รวมถึงรถยนต์ Plug in Hybrid ของทุกแบรนด์ตระหนักว่า สามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนโลกให้สะอาดขึ้นได้ พร้อมทั้งช่วยลดปัญหา PM 2.5 ด้วยการหันมาใส่ใจกับการชาร์จไฟในรถยนต์ Plug ib Hybrid ให้บ่อยขึ้น Mercedes-Benz ยังประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้กรุงเทพฯ กลายเป็นฮับของการเดินทางโดยรถยนต์พลังงานสะอาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
โครงการ “Charge to Change” เป็นโครงการระยะยาวที่จะแบ่งออกเป็น 3 เฟส ได้แก่
เฟสที่ 1 การกระตุ้นให้ผู้ใช้รถยนต์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Mercedes-Benz พบว่า ผู้ใช้รถยนต์ EQ Power Plug in Hybrid หลายท่านมักจะไม่ชาร์จพลังงานไฟฟ้า ด้วยสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ ไม่ทราบว่ารถยนต์ของตัวเองชาร์จได้ ไม่ทราบว่าจะชาร์จได้ที่ไหนบ้าง และไม่สนใจที่จะชาร์จ เพราะเติมน้ำมันแล้วขับด้วยน้ำมันสะดวกกว่า ส่วนแบรนด์ตราดาวพยายามสร้างความตระหนักรู้ ผ่านวิดีโอออนไลน์และการร่วมมือกับบุคคลชั้นนำในวงการต่างๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่จะกระตุ้นให้ผู้ใช้รถยนต์ Plug in Hybrid รับรู้ว่า เมื่อโหมดการขับขี่ไฟฟ้าในทุกวัน สามารถมีส่วนช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ทันทีในทุกการขับขี่ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรถยนต์ Mercedes-Benz เท่านั้น แต่ผู้ใช้รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอินจากแบรนด์ใดก็สามารถมีส่วนช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาดขึ้นได้เช่นกัน
เฟสที่ 2 เนื่องจากประเทศไทยยังมีสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ Plug in Hybrid น้อยเกินไป ทำให้การใช้งานยานยนต์พลังงานสะอาดไม่ค่อยมีความสะดวกหรือมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์เหล่านี้ที่มีความพร้อมและสะดวกมากขึ้นยังคงมีอยู่ไม่มาก Mercedes-Benz ร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหลายวงการเพื่อขยายเครือข่ายการชาร์จ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จ เพื่อทำให้ประสบการณ์ในการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเป็นประสบการณ์ที่ทั้งสะดวกและเข้าถึงง่ายที่สุดสำหรับผู้ใช้รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด Mercedes-Benz จะเริ่มต้นด้วยการมอบ Wallbox สำหรับการชาร์จไฟฟ้าจำนวน 100 ชุดให้กับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง
เฟสที่ 3 สู่การสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า Mercedes-Benz แจ้งว่า จะใช้โครงการนี้ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่ของการขับขี่ด้วยพลังงานสะอาด ลดปัญหามลภาวะทางอากาศ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว
Mercedes-Benz ยังได้เปิดเผยยอดขายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ว่า รถยนต์สปอร์ตสมรรถนะสูงภายใต้แบรนด์ Mercedes-AMG สามารถทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึง 54% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีที่แล้ว ส่วนรถยนต์ EQ Power หรือรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของแบรนด์ตราดาวมีสัดส่วนของยอดขายเพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า เทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์พลังงานทางเลือกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสร้างสรรค์โครงการ “Charge to Change” ซึ่งจะเป็นโครงการระยะยาวที่ค่ายดาวสามแฉกมีความตั้งใจจะทำเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาตระหนักในการมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคต
นอกจากการเปิดตัวโครงการ “Charge to Change” อย่างเป็นทางการแล้ว ภายในงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ยังได้นำรถยนต์รุ่น Mercedes-Benz G 350 d Sport ที่สุดแห่งยนตรกรรมออฟโรดที่พร้อมพาคุณพิชิตทุกจุดหมายในการเดินทางได้อย่างมั่นคงด้วยวิถีของเมอร์เซเดส-เบนซ์ G-Class ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยหมาดๆ มาจัดแสดงภายในงานด้วย.