Made in India ทางออก Apple ?  ชดเชยต้นทุนสินค้านำเข้าจากจีนพุ่ง แห่ตุน iPhone ป้อนตลาดอเมริกา

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Made in India ทางออก Apple ? ชดเชยต้นทุนสินค้านำเข้าจากจีนพุ่ง แห่ตุน iPhone ป้อนตลาดอเมริกา

Date Time: 10 เม.ย. 2568 15:15 น.

Video

ธุรกิจลับ Toyota ถ้าไม่ได้ขายรถ หาเงินจากไหน ทำไมถึงยิ่งใหญ่อยู่วันยังค่ำ ? | Digital Frontiers

Summary

  • เมื่อ "อินเดีย" กลายเป็นเบาะรองรับใหม่ของ Apple จากมาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ครั้งใหญ่ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ฐานผลิตใหญ่ที่สุดของ iPhone พบบริษัทกักตุนสินค้าคงคลัง เพิ่มจำนวนเที่ยวบินขนส่ง iPhone และเพิ่มการนำเข้าอุปกรณ์ที่ผลิตในอินเดียเข้ามาในตลาดสหรัฐฯ ชดเชยต้นทุนสินค้านำเข้าจากจีนที่อาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อผู้บริโภค

Latest


Apple กำลังเผชิญกับภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดต่อธุรกิจในรอบหลายปี เมื่อมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าตอบโต้กันไปมาระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ฐานผลิตใหญ่ที่สุดของ iPhone อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น ประสิทธิภาพในการทำกำไรลดลง ตลอดจนการคาดการณ์ว่าราคาสินค้าของ Apple ที่ผลิตในจีนอาจเพิ่มขึ้นกว่า 100% ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้บริโภคอเมริกันโดยตรง

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า Apple กำลังกักตุนสินค้าคงคลังไว้เพื่อรองรับภาษีและเพิ่มการนำเข้าอุปกรณ์ที่ผลิตในอินเดียเข้ามาในตลาดสหรัฐฯ โดยพบว่า บริษัทมีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินขนส่ง iPhone หลังจากการประกาศมาตรการขึ้นภาษี โดยมีเที่ยวบินอย่างน้อย 10 เที่ยวบินที่ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติเจนไนไปยังสหรัฐฯ อ้างอิงตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่อินเดีย 3 รายที่ทราบเรื่องนี้

ทั้งนี้แผนเรียกเก็บภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ต่ออินเดียอยู่ที่ 26% ขณะที่จีน ทรัมป์ได้เพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% แล้วเมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งหากเปรียบเทียบแล้วจะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าจีนเกือบ 5 เท่า

Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีของอินเดีย กล่าวในงานแถลงว่า Apple ส่งออก iPhone มากกว่า 1.5 ล้านล้านรูปี (17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากอินเดียในปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน โดยอินเดียส่งออกสมาร์ทโฟนมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านรูปี ในปีงบประมาณจนถึงเดือนมีนาคม 2025 ซึ่งเพิ่มขึ้น 54% จากปีก่อนหน้า

Made in India ทางออก Apple ชดเชยต้นทุน iPhone นำเข้าจากจีนพุ่ง

ปัจจุบัน Apple ยังคงจัดส่ง iPhone ประมาณสี่ในห้าจากจีนหรือประมาณกว่า 80% ในจีน ตามการวิจัยของ Counterpoint Research แม้จะมีความพยายามที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศต่างๆ อย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา เช่น อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย

เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งของจีนถูกมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงมีความมั่นใจเมื่อเขาเจรจากับทรัมป์และสร้างภาพลักษณ์ที่ท้าทายต่อผู้ชมในประเทศ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่ซับซ้อนในที่อื่นขึ้นมาใหม่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานหลายปี

อย่างไรก็ตาม Apple ถือเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดรายหนึ่งของวอลล์สตรีท จากนโยบายขึ้นภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยสูญเสียมูลค่าตลาดไปราว 7 แสนล้านดอลลาร์นับตั้งแต่มีการประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาของธุรกิจที่อาศัยการผลิตขั้นสูงในจีนเป็นหลัก

ซึ่งแน่นอนว่าจุดยืนแข็งกร้าวต่อจีนนั้นกำลังผลักดันให้แผนการกระจายความเสี่ยงของ Apple ดำเนินต่อไป โดยมีอินเดียและประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะกลายเป็นเป้าหมายฐานผลิตใหม่หลังจากนี้ Apple ต้องพึ่งพาการกระชับความสัมพันธ์กับอินเดียเพื่อช่วยรับมือกับผลกระทบในทันทีจากมาตรการขึ้นภาษีที่เข้มงวด ครอบคลุมไปถึงการเพิ่มแผนลงทุน

โดย Apple เริ่มขยายธุรกิจอย่างเงียบๆ ในอินเดีย หลังการปิดโรงงานผลิต iPhone ที่ใหญ่ที่สุดในจีนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในปี 2019 ที่สร้างความเสียหายให้กับห่วงโซ่อุปทานในจีน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียมอบเงินอุดหนุนช่วยให้ Foxconn Technology Group และหน่วยการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของ Tata Group ที่ได้ซื้อโรงงานของ Wistron และ Pegatron ในอินเดียเพื่อขยายการประกอบ iPhone ในท้องถิ่น

ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi ที่ต้องการเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตทางเทคโนโลยี ซึ่ง Tata Group กำลังสร้างกำลังการผลิตในฐานะซัพพลายเออร์ที่ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของเครือข่ายการผลิตของ Apple ในปัจจุบันที่กระจายอยู่ทั่วเอเชีย

อินเดีย ชาติที่ไม่เสียหายมากนักจากศึกนี้

แม้ว่าอินเดียจะตกเป็นเป้าหมายของทรัมป์ด้วยภาษีในอัตรา 26% แต่ประเทศดังกล่าวก็พยายามเอาใจทรัมป์ โดยเปิดการเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ ซึ่งชาวอินเดียหวังว่าภาษีศุลกากรจะลดลง

และยิ่งไปกว่านั้นคาดว่าอินเดียจะเป็นหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์จากการประกาศระงับการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมกับประเทศต่างๆ ที่ยินดีจะเจรจา โดยประเทศเหล่านี้จะยังคงถูกเรียกเก็บภาษี 10% จากสินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยกเว้นจีน นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้เสนอแนวคิดว่าบริษัทเอกชนบางแห่งจะได้รับการยกเว้นจากผลกระทบของภาษีอีกด้วย

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากจีน อินเดีย แล้ว บริษัทยังเผชิญกับแรงกดดันในเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ส่งออก MacBook รายใหญ่ที่รับผลกระทบภาษีนำเข้าถึง 46% แม้ว่ารัฐบาลของประเทศจะเสนอให้ลดภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ ลงเป็นศูนย์ก็ตาม

ไม่ว่าจะทำอย่างไรสินค้า Apple จะแพงขึ้นอยู่ดี

Wamsi Mohan นักวิเคราะห์จาก Bank of America กล่าวว่า แผนการสงวนการผลิต iPhone ทั้งหมดของอินเดียไว้สำหรับสหรัฐฯ จะทำให้อินเดียสามารถผลิต iPhone ได้ประมาณ 30 ล้านเครื่องจากทั้งหมด 50 ล้านเครื่องที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ในแต่ละปี จากเดิมที่การผลิต iPhone ในอินเดียคิดเป็น 14% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

อย่างไรก็ตามแม้ว่าตอนนี้ Apple จะหันมาพึ่งพาอินเดียมากขึ้น แต่บริษัทไม่มีห่วงโซ่อุปทานในประเทศที่จะกระตุ้นการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้บริษัทต้องเผชิญกับภาษีศุลกากรที่สูงมากในระยะยาวต่อไปและอาจต้องพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับไฮเอนด์หรือหาวิธีที่จะยอมรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการถกเถียงเรื่องการตั้งฐานผลิตใหม่ในสหรัฐฯ

ด้าน Erik Woodring นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley กล่าวว่า Apple มีห่วงโซ่การผลิตที่ฝังรากลึกในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานหลายทศวรรษ และดูเหมือนว่าตอนนี้จะต้องเผชิญกับแรงกดดันที่จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดทั้งหมดในการสร้างและกำหนดราคา iPhone

แม้ว่าการประกอบ iPhone ในสหรัฐฯ จะสามารถทำได้ในทางเทคนิคแต่ Mohan กล่าวว่าประเด็นเรื่องส่วนประกอบต่างๆ ที่นำมาผลิต iPhone จะถูกเรียกเก็บภาษีหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้วบริษัทยังคงต้องพึ่งพาส่วนประกอบจากประเทศผู้ผลิตใจเอเชียที่อาจถูกเรียกเก็บภาษีต่อไป โดยเฉพาะ จีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการประกอบ iPhone โดยบริษัทต่างๆ เช่น Foxconn และ Pegatron ของไต้หวัน

นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่าพวกเขาคาดว่าการปรับขึ้นราคาใดๆ จาก Apple จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ในเดือนกันยายน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในครั้งนี้

อ่านเพิ่มเติม

อ้างอิงข้อมูลจาก Financial TimesBloomberg 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -   


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ