แซม หันหัวเรือโปรเจกต์ “Worldcoin” จากสแกนม่านตาแลกคริปโตฯ สู่ “ระบบยืนยันตัวตน”

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แซม หันหัวเรือโปรเจกต์ “Worldcoin” จากสแกนม่านตาแลกคริปโตฯ สู่ “ระบบยืนยันตัวตน”

Date Time: 21 ต.ค. 2567 17:44 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • แซม อัลท์แมน ซีอีโอของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ประกาศรีแบรนด์โปรเจกต์ “WorldCoin” สู่ “World” หลังถูกเพ่งเล็งหนักเรื่องการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากโปรเจกต์ดังกล่าวเรียกร้องให้ผู้คนยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพผ่านการสแกนม่านตาเพื่อแลกกับเหรียญคริปโตเคอเรนซี

Latest


Worldcoin บริษัทลูกของ Tools for Humanity ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 โดย แซม อัลท์แมน และ อเล็กซ์ บลาเนีย ผู้ร่วมก่อตั้ง ที่มีเป้าหมายสร้างสกุลเงินสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันบนแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการสร้าง Universal Basic Income (UBI)

พร้อมอ้างถึงการสร้างมาตรฐานการเงินใหม่ที่ปลอดภัยระดับโลกด้วยการใช้เทคโนโลยีสแกนม่านตาเพื่อระบุตัวตนที่เรียกว่า ไอริสไบโอเมตริก (Iris Biometrics) หรือการเก็บข้อมูลบุคคลจากลักษณะของม่านตา ด้วยเครื่อง “Orb” ที่มีลักษณะคล้ายลูกบอลสีเงินขนาดประมาณลูกโบว์ลิ่ง เพื่อสร้างบัญชีส่วนบุคคลในระบบ ซึ่งผู้ใช้จะได้รับ World ID ในการเข้าใช้ World App เมื่อผู้ใช้สร้างตัวตนแล้ว ก็สามารถรับโทเคน Worldcoin (WLD)

บทความที่เกี่ยวข้อง 

จากข้อมูลบริษัทระบุว่านับตั้งแต่เปิดตัวโครงการในเดือนกรกฎาคม 2023 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อสแกนม่านตาแล้ว 7 ล้านรายทั่วโลก อย่างไรก็ตามโปรเจกต์ Worldcoin ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงด้านจริยธรรม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ สเปนและโปรตุเกสได้ออกคำสั่งห้ามชั่วคราว รวมถึงอาร์เจนตินาและอังกฤษกล่าวว่าพวกเขาจะตรวจสอบ World Network ด้วยเช่นกัน

โดยงานที่จัดขึ้นภายในสัปดาห์ที่ผ่านมา Tools for Humanity เปิดตัว World Network และ Orb เวอร์ชันใหม่ พร้อมกับวิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายการยืนยันตัวตนของโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามครั้งสำคัญในการขยายขนาดการดำเนินการครั้งใหญ่ พร้อมเผยโฉมอุปกรณ์สแกนม่านตารุ่นใหม่ที่อ้างว่าปรับปรุงระบบความปลอดภัยและคุณสมบัติการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล อีกทั้งยังเปิดเผยว่าระบบดังกล่าวตั้งใจทำมาเพื่อแก้ไขปัญหา AI Deepfakes

ข้อมูลชีวภาพที่ได้จะทำหน้าที่เสมือน “Digital Passport" ซึ่งพัฒนาจากระบบสแกนม่านตาในช่วงแรกไปสู่เทคโนโลยียืนยันตัวตนที่สามารถใช้งานกับ NFC ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถยืนยันอายุและสัญชาติของตนได้โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว พร้อมทั้งแผนขยายระบบไปยังแอปฯ ส่งข้อความยอดนิยมอย่าง FaceTime, WhatsApp และ Zoom

นอกจากนี้ยังระบุว่า Orb รุ่นล่าสุดใช้ชิปเซ็ต Jetson ของ Nvidia และกำลังเพิ่มแนวทางให้ผู้คนรับเครื่องนี้ไปใช้ที่บ้านเพียงกดสั่งผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อนำไปใช้ในการยืนยันตัวตนได้แบบเรียลไทม์ เพื่อสร้างการเข้าถึงอุปกรณ์ที่แพร่หลายนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท โดยความเคลื่อนไหวในครั้งนี้อัลท์แมนได้เน้นย้ำถึงปัญหาเรื่อง DeepFake ที่ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่สืบเนื่องจากศักยภาพของ AI ในปัจจุบันที่สามารถสร้างสรรค์ภาพและเสียงที่เลียนแบบมนุษย์ได้สมจริงมากยิ่งขึ้น

ที่มาข้อมูล Bloomberg 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -   


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ