แม้วิชา STEM จะสำคัญต่อตลาดแรงงานยุค AI แต่ความคิดสร้างสรรค์และการเห็นใจผู้อื่นจำเป็นกว่า

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แม้วิชา STEM จะสำคัญต่อตลาดแรงงานยุค AI แต่ความคิดสร้างสรรค์และการเห็นใจผู้อื่นจำเป็นกว่า

Date Time: 8 ม.ค. 2567 14:44 น.

Video

เปิดแผนตลาดหลักทรัพย์เรียกความเชื่อมั่น เร่งปลุกมาตรการกระตุ้นตลาดทุน | Money Issue EP.36

Summary

  • นักเศรษฐศาสตร์ตลาดแรงงาน เจ้าของรางวัลโนเบล ออกโรงเตือน คนรุ่นใหม่ที่แห่เรียนกลุ่มวิชา STEM อาจไม่สำคัญเท่าการมีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Christopher Pissarides (คริสโตเฟอร์ พิสซาไรด์ส) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics ผู้รับรางวัลโนเบลสาขานักเศรษฐศาสตร์ด้านตลาดแรงงาน เผย แม้แต่แรงงาน IT ก็ต้องเผชิญความเสี่ยงในอนาคต "ความเห็นอกเห็นใจ" และ “ความคิดสร้างสรรค์” อาจเป็นหนทางรอด  

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา พิสซาไรด์ส เข้าร่วมเซสชันหนึ่งที่จัดขึ้นภายในงาน Lujiazui Forum ครั้งที่ 14 ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยระบุว่า แม้ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มวิชา STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) หรือกลุ่มทักษะด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ได้รับความนิยมมาก อย่างไรก็ตามสายงานที่ต้องใช้ทักษะแบบเผชิญหน้ากัน (Traditional face-to-face skills) จะยังมีความสำคัญและครองตลาดงานในอนาคตไม่แพ้กัน ยกตัวอย่าง งานด้านการบริการ การดูแลสุขภาพ  

พิสซาไรด์ส แสดงความกังวลว่า ถึงแม้กลุ่มวิชา STEM กำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจสมัยใหม่และการแข่งขันของเทคโนโลยีทั่วโลก ทำให้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มองว่าพวกเขาจะมีงานทำ และอยู่รอดในโลกแห่งการทำงานหลังจากนี้ที่ AI จะเข้ามาทดแทนได้ตลอดเวลา

แต่การเน้นไปที่อุตสาหกรรมนี้อย่างเดียว เหมือนเป็นหว่านเมล็ดพันธุ์ที่สามารถทำลายตนเอง เนื่องจาก สายงาน STEM หรือแม้แต่แรงงานด้าน IT บางประเภทก็มีความเสี่ยงและอาจตกงานได้ในอนาคต เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะถูกแทนที่โดยเทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI ไม่ต่างกัน 

อย่างไรก็ดีในระยะยาว พิสซาไรด์ส บอกว่า ทักษะด้านการบริหารจัดการ การสื่อสาร การบริการลูกค้า การดูแลสุขภาพ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง ทักษะในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการสูง เพราะ ทักษะเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีหรือ AI ทดแทนได้ยาก นั่นเอง 

อ้างอิง Bloomberg 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ