อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษาเงินสะพัดลด

Personal Finance

Financial Planning

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษาเงินสะพัดลด

Date Time: 12 ก.ค. 2562 05:05 น.

Summary

  • นางอุมากมล สุนทรสุรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาในปี 2562

Latest

ถอดแง่คิด มุมมองการใช้ชีวิต 16 ข้อจากซีรีส์ When Life Gives You Tangerines ยิ้มไว้ในวันที่ส้มไม่หวาน

ห่วงปัญหาปากท้องมากกว่า เน้นเข้าวัด“ตักบาตร-ทำบุญ”

นางอุมากมล สุนทรสุรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาในปี 2562 ที่จาก 1,210 ตัวอย่างทั่วประเทศ คาดจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 6,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% จากปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 4 ปี เพราะประชาชนกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว

ส่วนกิจกรรมที่ประชาชนนิยมทำในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษามากที่สุด คือ ตักบาตร โดยใช้เงินเฉลี่ย 408 บาท รองลงมาคือทำบุญใช้เงิน 803 บาท ถวายสังฆทานใช้เงิน 635 บาท เวียนเทียนใช้เงิน 310 บาท นอกจากนี้ ยังถือโอกาสท่องเที่ยว ทั้งในและ ต่างประเทศ โดยใช้เงินเฉลี่ย 4,515 บาท และ 21,700 บาทตามลำดับ โดยสาเหตุที่เดินทางไปต่างประเทศ เพราะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่า และบริษัททัวร์จัดโปรโมชันราคาถูก ขณะที่แหล่งเงินที่นำมาใช้จ่ายผู้ตอบ 78.8% ระบุว่ามาจากรายได้ประจำ ขณะที่ 12.7% มาจากเงินออม และอีก 7.4% มาจากรายได้พิเศษ โบนัส

ส่วนพรที่ขอ ได้แก่ ขอให้มีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ครอบครัวมีความสุข ขอให้มีโชคมีลาภ หมดหนี้หมดสิน มีเงินมีทองใช้ตลอดปี ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ขอให้กิจการงานค้าขายเจริญรุ่งเรือง ขอให้ประเทศไทย สงบสุขและเศรษฐกิจดีขึ้น ขอให้ประสบความสำเร็จทุกด้าน ปลอดภัยจากอันตราย

ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์ยังได้ถามทัศนะต่อนโยบายภาครัฐ โดยนโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งดำเนินการด่วนตามลำดับคะแนนเต็ม 10 ได้แก่ ปัญหาค่าครองชีพและสินค้าราคาแพงเป็นอันดับ 1 ที่ 8.81 คะแนน รองลงมาคือ พัฒนาระบบการศึกษา 8.31 คะแนน, ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ 8.23 คะแนน, หนี้ครัวเรือน 7.68 คะแนน, ปัญหายาเสพติด 7.57 คะแนน, ทุจริต 7.42 คะแนน, สร้างความสามัคคี ลดขัดแย้ง 7.40 คะแนน เป็นต้น

“เรื่องของปากท้องเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ปัญหา แม้ว่าสินค้าหลายชนิดราคาไม่ได้ปรับขึ้น แต่เมื่อรายได้ประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้น และหลายคนมีหนี้สินมาก ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าสินค้ายังแพงอยู่ ขณะเดียวกัน ยอมรับว่ายังมีสินค้าบางประเภทที่ปรับตัวสูงต่อเนื่อง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ที่หลายรายต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่าย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ