5 ทางออก มนุษย์เงินเดือน  ลงทุนให้เป็น ใช้ "เงิน" ให้รอบคอบ สร้างเงินล้าน ยุคเงินเฟ้อ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

    5 ทางออก มนุษย์เงินเดือน ลงทุนให้เป็น ใช้ "เงิน" ให้รอบคอบ สร้างเงินล้าน ยุคเงินเฟ้อ

    Date Time: 2 มี.ค. 2567 07:00 น.

    Video

    เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

    Summary

    • ทำอย่างไรให้มีเงินพอใช้ ในยุคเงินเฟ้อเกินต้าน หากคุณกำลังเจอปัญหา “เงินขาดมือ หนี้รุงรัง รายได้ทางเดียว” 5 ทางออกของมนุษย์เงินเดือน อาจช่วยได้แค่ตั้งงบประมาณ แจกแจงรายได้ รายจ่าย ใช้เงินอย่างรอบคอบ และลงทุนให้เป็น อาจช่วยได้

    Latest


    เมื่อโลกต้องเผชิญกับภาวะข้าวยากหมากแพงกันอย่างถ้วนหน้า ทำให้มนุษย์ทำงานที่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ต่างเผชิญกับสถานการณ์ทางการเงินที่ยากลำบากไปตามๆ กัน สิ่งสำคัญคือการมีแนวทางรับมือปัญหาและควบคุมค่าใช้จ่ายให้ยังมีทางรอดต่อไปได้ผ่าน 5 วิธีดังนี้

    1. ตั้งงบประมาณ

      การตั้งงบประมาณคือสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในภาวะเงินเฟ้อ เพื่อช่วยให้เราสามารถเห็นภาพรวมทั้งรายรับและรายจ่ายได้กว้างพอที่จะจัดลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้อง เช่น คำนวณรายรับทั้งหมดว่ามีรายรับเข้ามาจากทางไหนบ้าง, แจกแจงรายจ่าย ตั้งแต่ ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เรื่องสุขภาพ รายการหนี้ จัดลำดับความสำคัญของรายจ่าย ตั้งแต่จัดลำดับจากรายจ่ายจำเป็น–รายจ่ายไม่จำเป็น, ภาระหนี้สิน, ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน

    2. หาช่องทางประหยัดเงิน

      ลดทอนรายจ่ายไม่จำเป็นหรือรายจ่ายที่ต่อให้ไม่ต้องซื้อก็มีชีวิตอยู่ได้ อย่างการกินข้าวนอกบ้านบ่อยครั้ง การ Subscription บริการพรีเมียมต่างๆ การช็อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมราคาแพง 

    3. ลงทุนให้เป็น

      การลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินเริ่มต้นตั้งแต่การตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ลงทุนเพื่อวางแผนเกษียณหรือเพื่อการออมเงิน สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลืมติดตามข่าวสารและกระแสตลาดเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เช่น ควรลงทุนในธุรกิจใด ควรลงทุนประเภทไหน โดยไม่รีบเร่งลงทุนตามกระแสความนิยมแต่ต้องเท่าทันกลไกและความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเพื่อใช้วิเคราะห์การลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

    4. ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

      เมื่อข้าวของพากันขึ้นราคา สิ่งที่คนธรรมดาอย่างเราๆ จะหาทางรับมือกับภาวะทางเศรษฐกิจได้ก็ด้วยการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ แม้ว่าอาจจะลดทอนความสะดวกสบายที่เคยมีเพราะไม่สามารถหยิบจ่ายโดยไม่คิดอะไรได้เหมือนอย่างเคย พฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าอย่างประหยัดทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ, ใช้คูปองและส่วนลดราคา, ไม่ยึดติดกับแบรนด์
       
    5. มองหางานที่เงินเดือนสูงขึ้นหรือหารายได้เสริม
      ทางออกสุดท้ายคือต้องยอมรับว่า แหล่งรายได้เดิมอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกต่อไป จึงควรมองหาโอกาสทางหน้าที่การงานที่ให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสมกับทักษะที่มีอาจเป็นทางออกที่ดีกว่า เริ่มต้นไขว่คว้าความก้าวหน้าตั้งแต่การประเมินความสามารถที่ตัวเองมีเพื่อให้สามารถเลือกตำแหน่งงานที่รองรับได้ 
      จากนั้นจึงศึกษาเรื่องเส้นทางอาชีพเพื่อเข้าใจในคุณสมบัติของตำแหน่งที่มุ่งหวังและฐานเงินเดือน ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำเช่นกันคือการอัปเดต Resume ให้เป็นปัจจุบัน การลงเรียนคอร์สเพื่อเพิ่มเติมทักษะก็เป็นอีกหนทางที่จะเพิ่มเงินตอบแทน หรือสามารถหารายได้เสริมจากทักษะที่สร้างขึ้นใหม่นี้เช่นกัน

    Author

    กองบรรณาธิการ

    กองบรรณาธิการ