มีหนี้หลายก้อนแก้อย่างไรดี? 3 วิธีบริหาร “หนี้” ให้จบไว

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มีหนี้หลายก้อนแก้อย่างไรดี? 3 วิธีบริหาร “หนี้” ให้จบไว

Date Time: 24 ก.พ. 2567 07:00 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • บางครั้งการเป็น “หนี้” ก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลักการสำคัญในการตัดสินใจเป็นหนี้คือ ควรเลือกก่อหนี้ดี เพราะเมื่อเป็น “หนี้” แล้วเรามีหน้าที่ต้องใช้คืนเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาทั้งหมด #Thairath money ได้รวบรวม 3 วิธีบริหาร “หนี้” ให้จบไว เมื่อมีหนี้หลายก้อน ปิดจ๊อบง่าย หมดไว ไร้กังวล

Latest


บางครั้งการเป็น “หนี้” ก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลักการสำคัญในการตัดสินใจเป็นหนี้คือ ควรเลือกก่อหนี้ดีซึ่งได้แก่ หนี้ที่จะสร้างอนาคตหรือความมั่นคงระยะยาวและหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่พึงระวัง ซึ่งได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่ม หรือ ไม่ได้ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นต้น เพราะเมื่อเป็น “หนี้” แล้วเรามีหน้าที่ต้องใช้คืนเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาทั้งหมด 

ดังนั้นหากเราไร้การบริหารจัดการที่ดี ก็อาจจะนำมาซึ่ง “หนี้” ที่พอกพูน จนไม่สามารถปิดจบได้ กลายเป็นพันธะพันผูก และขาดสภาพคล่องในที่สุดนั่นเอง

ทำความรู้จัก “หนี้ดี” (ก่อให้เกิดรายได้) 

  1. หนี้สร้างอนาคต เช่น กู้เงินเพื่อการศึกษา เป็นหนี้ที่เพิ่มโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต
  2. หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว เช่น กู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพราะไม่ต้องเสียค่าเช่า เมื่อผ่อนหมดก็จะกลายเป็นทรัพย์สินของเราที่สามารถขายต่อหรือให้เช่าเพื่อสร้างรายได้
  3. หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ เช่น กู้เงินซื้อรถหรือเครื่องจักร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 

หนี้ที่ต้องพึงระวัง

หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อการบริโภคหรือเพื่อสร้างความสุขสบายอย่างขาดความมีเหตุผล เช่น หนี้บัตรเครดิตจากการใช้สนองนีดของตัวเอง เพราะความคิดที่ว่า “ของมันต้องมี” เช่น เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ ตามแฟชั่น ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดภาระทางการเงินเกินสมควร และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางการเงิน 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสัดส่วนการผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน

นอกจากนี้ เมื่อคิดจะก่อหนี้ ต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการเงินที่ได้มาให้ดี เพื่อให้สามารถชำระคืนหนี้ได้ตรงตามเวลาและบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งใจได้โดยไม่สร้างภาระจนเกินตัว ซึ่งรวมถึงการหาข้อมูลจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เพื่อใช้เปรียบเทียบหาสินเชื่อที่เหมาะกับความต้องการและได้รับสิทธิประโยชน์มากที่สุด และอย่าลืมอ่านสัญญารวมทั้งเอกสารอื่นๆ ให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วนก่อนทำสัญญาสินเชื่อ

มีหนี้หลายก้อน ไม่รู้จะแก้ยังไง เริ่มแก้ตามนี้ได้เลย 

  • เรียงหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด หรือ เรียงหนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยสุด
  • วางแผนจัดการหนี้ตามความสามารถ
  • คุยและเจรจากับเจ้าหนี้

ตัวอย่างเช่น 

  • หนี้ (นอกระบบ) อัตราดอกเบี้ย 140% ต่อปี ยอดหนี้คงเหลือ 10,000 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 4,500 บาท (จ่าย 3 เดือน) 
  • หนี้บัตรกดเงินสด อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี ยอดหนี้คงเหลือ 10,000 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 307 บาท (จ่ายขั้นต่ำ) 
  • หนี้เช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี ยอดหนี้คงเหลือ 70,000 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 2,000 บาท

เริ่มจัดการทันทีได้โดย

  • คุยกับเจ้าหนี้นอกระบบเพื่อขอให้ช่วยลดดอกเบี้ย พร้อมหาทางแก้ไข เช่น กู้เงินจากในระบบมาปิด
  • ขอเปลี่ยนหนี้บัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อระยะยาว เพื่อขยายระยะเวลาและลดค่างวดผ่อนชำระ
  • เจรจาขอลดค่างวดเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ให้น้อยลง จะได้แบ่งเบาภาระไปอีกหน่อย

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ