งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 เพิ่มวงเงิน 3.35 ล้านล้าน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 เพิ่มวงเงิน 3.35 ล้านล้าน

Date Time: 5 ม.ค. 2566 07:50 น.

Summary

  • สำนักงบประมาณ สภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบกรอบการจัดทำงบประมาณรายจ่าย

Latest

เปิด 5 ข้อควรระวัง “เด็กจบใหม่” อยากรวยเร็ว จะเริ่มต้นลงทุนต้องรู้

นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า ที่ประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย สำนักงบประมาณ สภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบกรอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 (ต.ค.2566-ก.ย.2567) วงเงิน 3.35 ล้านล้านบาท โดยปรับเพิ่มขึ้นมาจากงบประมาณปี 2566 ที่มีวงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 165,000 ล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 593,000 ล้านบาท หรือขาดดุลลดลงจาก ปี 2566 ประมาณ 102,000 ล้านบาท โดยจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 10 ม.ค.2566

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า การจัดทำกรอบงบประมาณปี 2567 ดังกล่าวถือว่าเหมาะสมในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากโควิด-19 โดยการตั้งสมมติฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2567 ไว้ที่ 3.3-4.3% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 3.8% นั้นถือว่าไม่สูงจนเกินไป เนื่องจากปริมาณการค้าโลกใน 2567 จะฟื้นตัว โดยจะขยายตัวได้ถึง 3.7% เพิ่มจากปี 2566 ที่การค้าโลกจะหดตัวลงเหลือ 2.5% จาก 4.5% ในปี 2565

ส่วนการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐและลดการขาดดุลงบประมาณลงในการจัดทำงบฯปี 2567 ถือว่าส่งผลดีต่อสถานะการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวเนื่องจากการจัดทำงบขาดดุลต่อเนื่องนั้นไม่เป็นผลดี รัฐบาลจึงมีการวางแผนลดการขาดดุลลง ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐด้วย ขณะเดียวกัน การจัดทำงบประมาณปี 2567 ที่มีการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณ และลดการขาดดุลงบประมาณลง ทำให้เกิดวินัยการเงินการคลังของประเทศมากขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ