แก้กฎเพิ่มสิทธิ์ดึงคนออมเงิน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แก้กฎเพิ่มสิทธิ์ดึงคนออมเงิน

Date Time: 6 พ.ย. 2562 05:15 น.

Summary

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบที่ไม่มีระบบบำนาญรองรับรวมจำนวนทั้งสิ้น 21 ล้านคน

Latest

เปิด 5 ข้อต้องห้าม นักลงทุนมือใหม่ อย่าทำถ้าไม่อยากขาดทุน

นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบที่ไม่มีระบบบำนาญรองรับรวมจำนวนทั้งสิ้น 21 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ กอช. มีเป้าหมาย จะนำแรงงานนอกระบบดังกล่าว ให้เข้าสู่ระบบการออมจำนวน 15 ล้านคนในปี 2565 จากปัจจุบันมีสมาชิก กอช.รวมทั้งหมด 2.2 ล้านคน ดังนั้นเพื่อจูงใจบุคคลที่ยังอยู่นอกระบบเหล่านี้ กอช. อาจต้องมีมาตรการจูงใจหรือการให้สวัสดิการเพิ่ม อาทิ การทำประกันภัยกลุ่ม ซึ่งอาจใช้เงินจากกองทุน กอช. หรือให้สมาชิกจ่ายเองบางส่วนในอัตราที่ต่ำ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายกอช. เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้เงินกองทุน เนื่องจากปัจจุบันเงินกองทุนไม่สามารถนำไปใช้จ่ายอื่นได้ นอกจากจ่ายให้เมื่อสมาชิกเกษียณอายุ

“ตามกฎหมาย กอช.กำหนดให้คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และไม่มีระบบสำรองเลี้ยงชีพรองรับ สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนนี้ได้และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วจะต้องเก็บเงินให้อยู่ในกองทุนไปจนถึงอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จึงจะได้รับเงินบำนาญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งระยะเวลาการออมที่ยาวถึง 45 ปี สำหรับกรณีที่คนออมเริ่มออมเงินตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยผู้ออมจะไม่สามารถเบิกเงินออกมาก่อนได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับนิสัยของคนไทยที่ยังไม่เคยชินกับการออมระยะยาวเพื่อใช้หลังเกษียณ”

นายเอ็นนู กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กอช.กำลังพิจารณาการปรับเพิ่มเงินสมทบของภาครัฐให้สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน เพื่อให้เพียงพอต่อการยังชีพหลังเกษียณอายุ โดยอาจจะปรับเพิ่มเงินสมทบต่อปีให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้คนออมมากขึ้น ซึ่งตามกฎหมายของ กอช.กำหนดเพดานเงินสมทบของภาครัฐที่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อคนต่อปี แต่ปัจจุบันรัฐสมทบสูงสุดให้อยู่ที่เพียงแค่ 1,200 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น

ทั้งนี้ปัจจุบันการจ่ายเงินสมทบของรัฐจ่ายเป็นแบบขั้นบันได คือกรณีที่สมาชิกมีอายุตั้งแต่ 15-30 ปี รัฐจ่ายเงินสมทบให้ 50% ของเงินออมของสมาชิก แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี อายุมากกว่า 30-50 ปี จาก 80% แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี และอายุมากกว่า 50-60 ปี จ่าย 100% แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ