ฟันธงค่าเงินหลุด 30 บาท/ดอลล์

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ฟันธงค่าเงินหลุด 30 บาท/ดอลล์

Date Time: 4 ก.ค. 2562 08:15 น.

Summary

  • ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มแข็งค่าหลุดระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปลายปีนี้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีก 2-3% (29.89-29.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นผลจากปีนี้ธนาคารกลาง สหรัฐฯ หรือเฟด

Latest

ศูนย์สอบ CISA ภูมิภาค!!

ธปท.จ่อคลอดมาตรการดูแลบาทแข็งกว่าชาวบ้าน

นายโฮมิน ลี นักกลยุทธ์ เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารลอมบาร์ด โอเดียร์ จากสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยในงานสัมมนา “Kbank Private Banking : Mid-year Economic Outlook 2019 ว่า Lombard” ว่า ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มแข็งค่าหลุดระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปลายปีนี้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีก 2-3% (29.89-29.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นผลจากปีนี้ธนาคารกลาง สหรัฐฯ หรือเฟด ปรับลดดอกเบี้ย 2 รอบๆละ 0.25% ครั้งแรกเกิดขึ้นในการประชุมเดือน ก.ค.-ก.ย.นี้ และอีกรอบระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค.62 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดดอกเบี้ยหลังจากเฟดปรับลดดอกเบี้ย

“การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ส่งผลดีต่อการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ มีเงินไหลเข้าไปลงทุนในตลาดทั้งในหุ้น และตราสารหนี้ เนื่องจากผลตอบแทนในสหรัฐฯจะปรับลดลง นักลงทุนจะเริ่มแสวงหาผลตอบแทนที่มากกว่า”

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องที่ ธปท.ติดตามใกล้ชิด และสายที่ดูแลเรื่องนี้กำลังเตรียมหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อเข้ามาดูแลความผันผวนที่เร็วกว่าที่คาดของค่าเงินบาท ทั้งนี้ มาตรการที่ออกมาคาดว่าจะต้องความผลกระทบต่อตลาดได้ในระดับพอสมควร อย่างไรก็ตาม การลดวงเงินการออกพันธบัตรของ ธปท.ในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้นั้น ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท.ได้ชี้แจงว่า เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพคล่องในระบบการเงินของไทย เนื่องจากเป็นเดือนที่ภาครัฐออกพันธบัตรจำนวนมาก จึงลดการออกในส่วนของพันธบัตร ธปท.ลง

“ธปท.มีความกังวลกรณีที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และแข็งกว่าประเทศในภูมิภาค ทั้งนี้ เท่าที่ติดตามยังไม่ได้กระทบโดยตรงต่อจำนวนคำสั่งซื้อสินค้าจากไทย แต่กระทบในส่วนของกำไรจากยอดขายมากกว่า แต่ทั้งนี้ สิ่งที่เริ่มเห็นและมีความกังวล คือ ตัวเลขการจ้างงานในภาคส่งออกเริ่มลดลง ซึ่งส่วนนี้สายนโยบายการเงินจะติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจจะกระทบต่อเนื่องถึงการบริโภคและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ