รมว.พาณิชย์ เดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับนานาชาติ เล็งไปตุรกี 16-20 ก.ค.

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รมว.พาณิชย์ เดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับนานาชาติ เล็งไปตุรกี 16-20 ก.ค.

Date Time: 5 ก.ค. 2560 01:45 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • รมว.พาณิชย์ เดินหน้าเจรจาการค้า ทั้งเอฟทีเอและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับหลายประเทศ เตรียมเดินทางเยือนตุรกี 16-20 ก.ค.นี้ ถกระดับรัฐมนตรีเร่งทำเอฟทีเอระหว่างกัน...

Latest


รมว.พาณิชย์ เดินหน้าเจรจาการค้า ทั้งเอฟทีเอและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับหลายประเทศ เตรียมเดินทางเยือนตุรกี 16-20 ก.ค.นี้ ถกระดับรัฐมนตรีเร่งทำเอฟทีเอระหว่างกัน...

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2560 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงว่า ในปีนี้ ไทยยังคงเดินหน้าเจรจาจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ (Strategic Partnership) และเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟที) ของไทยกับประเทศต่างๆ ซึ่งขณะนี้การจัดทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ มีความคืบหน้ามากแล้ว ทั้งกับปากีสถาน ศรีลังกา ตุรกี และอังกฤษ โดยวันที่ 16 – 20 ก.ค.นี้ เตรียมเดินทางไปเจรจาเอฟทีเอกับรัฐมนตรีของตุรกี เพราะการเจรจามีวามคืบหน้าค่อนข้างมาก

“ตุรกีต้องการให้เดินทางไปเจรจาในระดับรัฐมนตรี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการสานสัมพันธ์ทางการค้า และตุรกีเป็นตลาดสำคัญที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าไทย เพราะเป็นสะพานเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออก แอฟริกาตอนเหนือ นอกจากนี้ ยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน และให้การคุ้มครองนักลงทุน จึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในตุรกี และโอกาสส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ประมง รวมทั้งผลิตอาหารฮาลาล” รมว.พาณิชย์ กล่าว

สำหรับเอฟทีเอไทย-ตุรกี เดิมมีกำหนดจะประกาศเริ่มเปิดเจรจาต้นปี 59 แต่เกิดสถานการณ์รุนแรงในตุรกี จึงต้องเลื่อนกำหนดการออกไป ภายใต้เป้าหมายการลดภาษีสินค้าเป็น 0% ในทันทีมีความตกลงมีผลบังคับใช้สำหรับสินค้า 90% ของสินค้าทั้งหมดค้าขายระหว่างกัน

ส่วนเอฟทีเอ ไทย – ศรีลังกาจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งไทยจะโอกาสการค้าไปสู่ตลาดใหม่อย่างแอฟริกา เพราะศรีลังกาตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย มีเส้นทางการเดินเรือที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่ง ไทยสามารถใช้ศรีลังกาเป็นประตูไปยังแอฟริกาใต้ รวมถึงอินเดียและปากีสถาน นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบที่ไทยสนใจ และต้องการนำเข้า เช่น อัญมณี และประมง

ขณะที่เอฟทีเอไทย – อิหร่าน ขณะนี้กระทรวงยังอยู่ระหว่างการศึกษายกระดับข้อตกลงการค้า จากเดิมที่จะทำข้อตกลงในรูปแบบพันธมิตรทางการค้า ในการขอลดภาษีสินค้าบางอย่าง แต่เนื่องจากอิหร่านเป็นตลาดที่มีโอกาสในการส่งออก จึงจะขยายกรอบความร่วมมือเป็นเอฟทีเอแทน ซึ่งไทยได้เสนออิหร่านไปแล้ว สำหรับเอฟทีเอไทย – สหภาพยุโรป (อียู) ขณะนี้ยังชะลอการเจรจาออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะอียูอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนภายใน แต่ไทยสนใจจะเจรจาเอฟทีเอกับอังกฤษก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ