ฮับรถ EV ในไทย “ฝันไว้ไกล ต้องไปให้ถึง” กับ 2 ปัจจัยท้าทายอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ฮับรถ EV ในไทย “ฝันไว้ไกล ต้องไปให้ถึง” กับ 2 ปัจจัยท้าทายอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

Date Time: 3 พ.ย. 2566 14:07 น.

Video

คุยกับผู้บริหาร Tinder “ไทยต้นแบบความเท่าเทียมทางเพศ”

Summary

  • รู้หรือไม่? ทุกๆ การผลิต “รถยนต์ไฟฟ้า” ในประเทศไทย 1 แสนคัน จะมีผลทำให้ GDP ของไทยเติบโตขึ้นราว 0.2% หรือมากกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทั้งรัฐบาลชุดเก่า และชุดใหม่ พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) และชิ้นส่วนที่สำคัญของภูมิภาค ติด Top 10 ระดับโลกให้ได้ ผ่านความพยายามดึงนักลงทุนรายใหม่ๆ ให้เข้ามาตั้งฐานผลิตในประเทศ

Latest


ตั้งเป้าปี 2568 ไทยจะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 250,000 ต่อปี และในปี 2573 จะเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น 750,000 คันต่อปี หรือ 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 2,500,000 คัน เพื่อตอบรับกับโอกาสครั้งใหญ่ที่มาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกในรอบ 100 ปี 

ค่ายรถ EV ต่างชาติ แห่ลงทุนในไทย 

ขณะเดียวกัน แนวโน้มกระแสความนิยมของคนไทยต่อรถ EV ยี่ห้อต่างๆ ยังเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ โดย BOI หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เผย ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม - กันยายน 2566) มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จำนวน 50,340 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.6 เท่า  

สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2560 ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการต่างๆ ได้แก่

  • ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) 
  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ 
  • การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ 
  • สถานีอัดประจุไฟฟ้า

สำหรับค่ายรถที่ประกาศลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถ EV ในไทยมีแล้วหลายราย เช่น 

  • บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
  • บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
  • บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 
  • บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด
  • บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 
  • บริษัท BYD จากประเทศจีน
  • บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของจีน

นอกจากนี้ยังมีบริษัทรถ EV สัญชาติยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน อีกหลายค่ายที่อยู่ระหว่างพิจารณาเข้ามาลงทุนผลิตรถ EV ในประเทศไทยอีกด้วย

เปิดมาตรการส่งเสริม “รถ EV” ของไทยล่าสุด

ในด้านมาตรการสนับสนุนการใช้รถพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย หรือ เงินอุดหนุนรถ EV ให้กับผู้ซื้อ และผู้ประกอบการนั้น ล่าสุด 1 พ.ย. 2566 บอร์ดอีวีชุดใหม่ยังได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ที่จะใช้ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2567-2570) แล้ว โดยจะครอบคลุมสิทธิทั้งสำหรับรถยนต์นั่ง รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเงื่อนไขมาตราการ EV 3.5 นั้นจะได้รับการอุดหนุนคร่าวๆ ดังนี้ 

  1. กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000-50,000 บาท/คัน
  2. กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน (เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ)
  3. กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5,000-10,000 บาท/คัน (เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ)

ขณะเดียวกัน มาตรการ EV 3.5 จะลดภาษีนำเข้าไม่เกิน 40% สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ.2567-2568) กรณีเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทอีกด้วย 

อุตสาหกรรมรถ EV ในไทย บนบาดแผลผู้ผลิตระบบเก่า


จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่ประเทศไทยตั้งไว้เริ่มเห็นเค้าลางความเป็นไปได้ และคาดว่าจะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจสูง จากการที่อุตสาหกรรมรถ EV เป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ที่จะถูกส่งเสริมในแง่การลงทุนใหม่ๆ ก่อเกิดการจ้างงาน และพัฒนาด้านเทคโนโลยีไปพร้อมๆ กัน 

SCB EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังประเมินนัยต่อเศรษฐกิจไทยจากการก้าวไปเป็น Regional EV hub ว่า ไม่เพียงแต่จะมาจากเข้ามาลงทุนของต่างชาติ และภาคการส่งออกเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับมูลค่าเพิ่มจากภาคธุรกิจที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม EV ที่กำลังทยอยเกิดขึ้นอย่างครบวงจรภายในประเทศอีกด้วย ทั้งอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ สถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนบางประเภท ซึ่งเดิมเป็น Supplier ให้กับผู้ผลิตรถสันดาป 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นโอกาสต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน และอุปกรณ์รถยนต์บางกลุ่มมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มความต้องการที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบส่งกำลัง และเชื้อเพลิง 

โดย SCB EIC คาดว่า มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมเหล่านี้จะปรับลดลง 3.8 พันล้านบาท หรือราว 10% จากปี 2022 หากรถ EV สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 15% ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก ภายในปี 2025

2 ความท้าทาย อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ทั้งนี้ SCB EIC ระบุว่า สำหรับความท้าทายสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในระยะข้างหน้า คือ การเร่งพัฒนาระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า และการส่งเสริมภาคธุรกิจให้สามารถปรับตัวได้สอดรับกับความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจาก 2 ประการใหญ่ๆ ดังนี้ 

  • การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน และระบบนิเวศน์ EV ให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างครบวงจร เพื่อลดการนำเข้ายานยนต์ และชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจกรรมการผลิตที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเป็นหลัก
  • การส่งเสริมภาคธุรกิจให้สามารถปรับตัว และมีความพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ๆ โดยกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตไปพร้อมๆ กับตลาด EV อาทิ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า ยางล้อ และชุดสายไฟ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ 

ขณะที่กลุ่มเปราะบางควรมีแนวทางการขยายฐานลูกค้าในต่างประเทศ อาทิ ชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ EV คาดว่าจะเกิดขึ้นช้ากว่า รวมถึงการเจาะตลาดอะไหล่ (REM) ซึ่งอุปสงค์ยังเติบโตได้ตามอายุการใช้งานรถยนต์ที่ยาวนานขึ้นในหลายประเทศ.


 


ที่มา : SCB EIC 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ