ส.ว.สถิตย์ เสนอใช้ประโยชน์การแลกเปลี่ยนข้อมูลจาก "อนุสัญญาภาษีซ้อน"

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส.ว.สถิตย์ เสนอใช้ประโยชน์การแลกเปลี่ยนข้อมูลจาก "อนุสัญญาภาษีซ้อน"

Date Time: 4 ก.ย. 2563 11:46 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • สถิตย์ เสนอใช้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษี เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรมการจัดเก็บภาษี

สถิตย์ เสนอใช้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษี เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรมการจัดเก็บภาษี

ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ได้อภิปรายกล่าวถึงความเป็นมาของความร่วมมือทางภาษีระหว่างประเทศ โดยเริ่มจากอนุสัญญาความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน หรือเรียกสั้นๆ ว่า อนุสัญญาภาษีซ้อน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการขจัดภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเสียภาษีเดียวกัน ซ้ำซ้อนกันในอีกประเทศหนึ่ง อนุสัญญาภาษีซ้อนเป็นความตกลงสองฝ่ายหรือทวิภาคี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีสัญญากับ 61 ประเทศ

สำหรับอนุสัญญาภาษีซ้อนนั้น จะมีบทบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลภาษีซึ่งกันและกัน

ทั้งนี้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ได้ก่อตั้งกรอบความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีระหว่างประเทศ โดยกำหนดมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทุกรูปแบบระหว่างกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 59

โดยครั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีได้พัฒนาไปสู่ ความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ไทยเข้าร่วม เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 60 ความตกลงฯ นี้ เป็นความตกลงหลายฝ่ายหรือ พหุภาคี ปัจจุบันมีประเทศแสดงเจตจำนงเข้าร่วมแล้ว 137 ประเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามความตกลงฯ นี้

นอกจากเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีแล้ว ยังมีการให้ความช่วยเหลือในการติดตามจัดเก็บภาษีค้างชำระ และการให้บริการจัดหาเอกสารรูปแบบการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยไม่จำต้องได้รับการร้องขอ

ดร.สถิตย์ กล่าวอีกว่า การเข้าร่วมความตกลงฯ นี้ เป็นการแสดงจุดยืนถึงความโปร่งใสในการบริหารการจัดเก็บภาษีของประเทศ อันจะทำให้เป็นที่เชื่อถือของนักลงทุนและนานาประเทศ และยังเป็นการแสดงความชัดเจนของการเป็นประเทศที่มิใช่แหล่งหลบภาษีระหว่างประเทศ

โดยการเข้าร่วมความตกลงฯ นี้ หน่วยงานจัดเก็บภาษีจะต้องเตรียมความพร้อม ในการจัดทำกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลงฯ และเตรียมพร้อมด้านการบริหารจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านหน่วยงาน บุคลากร เทคโนโลยี และควรวางแผนใช้ประโยชน์จากการได้ข้อมูลตามความตกลงฯ นี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ให้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีจากบริษัทข้ามชาติ ซึ่งมีจำนวนเงินภาษีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยจัดเก็บภาษีได้ประมาณร้อยละ 17 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในขณะที่มาตรฐานของประเทศกำลังพัฒนาระดับเดียวกับไทยจัดเก็บภาษีได้ประมาณร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ระหว่างบริษัทในประเทศกับบริษัทระหว่างประเทศ และระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับบริษัทขนาดเล็กอีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ