ไวรัสร้ายพ่นพิษ “สศช.” ตีกลับ รถไฟทางคู่รวม 7 เส้นทาง!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ไวรัสร้ายพ่นพิษ “สศช.” ตีกลับ รถไฟทางคู่รวม 7 เส้นทาง!

Date Time: 3 ก.ย. 2563 06:45 น.

Summary

  • ที่ประชุมได้มอบให้ ขร. ไปศึกษา ตรวจสอบ ทบทวนโครงการฯ ใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งพิจารณาผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ และปริมาณการขนส่งสินค้าว่าเป็นไปตามสมมติฐานเดิมที่กำหนดไว้หรือไม่

Latest

อสังหาฯภูเก็ต ขายดีพุ่ง! 500% “บางเทา-เชิงทะเล” สวรรค์ชายฝั่งของชาวต่างชาติ ทำเลทอง วิลล่าหรู

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยหลังการประชุมการจัดลำดับความสำคัญโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวม 273,000 ล้านบาท โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้มอบให้ ขร. ไปศึกษา ตรวจสอบ ทบทวนโครงการฯ ใหม่อีกครั้ง พร้อมทั้งพิจารณาผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ และปริมาณการขนส่งสินค้าว่าเป็นไปตามสมมติฐานเดิมที่กำหนดไว้หรือไม่ ตามข้อซักถามของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ได้ถามไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจาก รฟท.ยังไม่สามารถตอบคำถามได้

“สาเหตุที่ต้องมาทบทวนโครงการใหม่ เนื่องจากด้วยสภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบันหลังเกิดโควิด-19 รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ติดลบ จึงต้องพิจารณาการลงทุนว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ การขนส่งสินค้าทางรางสามารถแข่งขันกับโหมดสินค้าอื่นๆได้หรือไม่ และพิจารณาความจำเป็น รวมถึงการออกแบบสถานีว่าต้องมีการปรับลดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาทบทวนไม่เกิน 3 เดือนนับจากนี้ ก่อนที่จะเสนอมายังที่ประชุมฯ และกระทรวงคมนาคม เพื่อเร่งรัดผลักดันโครงการ จากนั้นจะเสนอไปยัง สศช.อีกครั้งหนึ่ง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป หากโครงการใดต้องมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ด้วย”

ทั้งนี้ จากการพิจารณาโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ เบื้องต้นประเมินว่า สายขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. ที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องเร่งขับเคลื่อน เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ชาติ เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของลาวในเส้นทางที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 แต่คาดว่าเส้นทางขอนแก่น-หนองคายจะศึกษาให้แล้วเสร็จใน
1 เดือน เพื่อเดินหน้าโครงการต่อไป และต้องมีการพิจารณาก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง โดยมีพิธีการศุลกากรด้วย (ICD Port) ที่บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าชายแดนแบบเบ็ดเสร็จ จากเดิมเป็นเพียงแค่ย่านกองเก็บสินค้า (CY)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ