เปิด 3 เหตุผล ทำไมแบงก์เก็บ "ค่าธรรมเนียม" กดเงินตู้ ATM ถอนเคาน์เตอร์?

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิด 3 เหตุผล ทำไมแบงก์เก็บ "ค่าธรรมเนียม" กดเงินตู้ ATM ถอนเคาน์เตอร์?

Date Time: 3 ธ.ค. 2561 18:22 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ทีมข่าวเจาะประเด็น ไล่เรียง 3 เหตุผลที่แบงก์พาณิชย์ต่างๆ เล็งจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกดเงิน ATM และค่าธรรมเนียมถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร มาจากอะไร ตามไปดู!

ทีมข่าวเจาะประเด็น ไล่เรียง 3 เหตุผลที่แบงก์พาณิชย์ต่างๆ เล็งจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกดเงิน ATM และค่าธรรมเนียมถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร มาจากอะไร ตามไปดู!

แม้ว่า ช่วงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ได้ทยอยประกาศฟรีค่าธรรมเนียมใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเฉพาะโอนข้ามเขต โอนข้ามธนาคาร เพื่อลดการใช้เงินสดของประชาชน แต่ล่าสุด ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้เข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอเก็บค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด กรณีทำธุรกรรมหน้าเคาน์เตอร์ของธนาคารพาณิชย์ และตู้เอทีเอ็ม เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง

นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็นว่า ที่ผ่านมา ธนาคารต่างๆ ยังไม่มีทางเลือกให้กับประชาชนมากนัก ประชาชนจึงต้องเบิกถอนเงินสด เพื่อทำธุรกรรมประเภทต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดจะมีค่าใช้จ่ายที่ธนาคารต้องดูแลรับผิดชอบค่อนข้างสูง

ดังนั้น เมื่อธนาคารได้เพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมผ่านดิจิตอลแบงกิ้งได้ ทางสมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จึงมีการหารือเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดหน้าเคาน์เตอร์ และเครื่องเอทีเอ็ม โดยมีการหารือร่วมกับธปท.มาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากเรื่องดังกล่าว ธปท. ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย
นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

โดยสาเหตุที่จะต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั้น นายกอบศักดิ์ กล่าวว่ามาจาก 1. ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสด มีต้นทุนที่ธนาคารต้องดูแลรับผิดชอบค่อนข้างแพงมาก 2. ธนาคารได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมโอนเงินและชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลแบงกิ้งไปแล้ว และ 3. เมื่อธนาคารมีต้นทุนที่จะต้องแบกรับ เพราะฉะนั้น ธนาคารย่อมสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนั้นๆ กับผู้ใช้บริการได้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากเรานำบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ไปกดกับธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอยู่แล้ว เราจะเสียค่าธรรมเนียมการกดเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มหรือไม่?

นายกอบศักดิ์ ให้คำตอบว่า “เมื่อคุณนำบัตรเอทีเอมของแบงก์ ก. ไปกดกับแบงก์ ก. แบงก์ ก. เขามีต้นทุนที่ให้บริการในส่วนนี้นะครับ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นก็คือ ต้นทุนของตู้เอทีเอ็ม, ต้นทุนของการทำธุรกรรม, ต้นทุนการขนเงินสดไปเข้าตู้ และต้นทุนอื่นๆ อีกหลายประการที่จะต้องเกิดขึ้น แต่อาจจะไม่ใช่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตั้งแต่ครั้งแรกที่กดเงิน อาจเป็นครั้งต่อไปที่กดเงิน หรืออย่างไรก็ตาม ต้องหารือกันก่อน”

“แทนที่คุณจะไปกดเงินตู้เอทีเอ็มจ่ายค่าอาหารให้เพื่อน คุณก็แค่โอนเงินผ่านดิจิทัลแบงกิ้งก็จะสะดวกกว่า และไม่มีค่าธรรมเนียมด้วย” นายกอบศักดิ์ กล่าว

ส่วนกำหนดเวลาที่จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการกดเงินสด และถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารนั้น นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า “ไม่ใช่เดือนนี้ หรือเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ต้องรอคณะทำงานฯ หารือให้รอบคอบเสียก่อน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ