“โบนัส” ฝันหวานส่งท้ายปีของเหล่าพนักงานกินเงินเดือน บางคนตั้งหน้าตั้งตารอสลิปแจ้งจำนวนโบนัสด้วยใจอันจดจ่อ บางคนเฮ บางคนโฮ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทเป็นสำคัญ ทีมข่าวเจาะประเด็น ถือโอกาสนี้ ไล่เรียงจำนวนโบนัสของบริษัท ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ เป็นตัวเลขที่สูงขึ้นจากปีก่อนที่จ่าย 7.5 เดือน เนื่องจาก ทอท. สามารถทำรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ ด้วยปริมาณผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นทั้ง 6 ท่าอากาศยาน จึงคาดว่ารายได้ในปี 2561 จะเติบโตกว่า 10% แตะระดับ 56,000 ล้านบาท และทำกำไรสุทธิเพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท
กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการจัดสรรงบ 2,700 ล้านบาท เพื่อจ่ายโบนัสประจำปี 2561 แก่ข้าราชการและบุคลากรของ กทม. ที่ปัจจุบันมีอยู่ 90,000 คน แบ่งเป็น ข้าราชการ 30,000 คน ข้าราชการครู 10,000 คน และเป็นลูกจ้าง 50,000 คน
อัตราการจ่ายโบนัสในปี 2561 มีแนวโน้มต่ำกว่าปีก่อนๆ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 5 เท่าของเงินเดือน เนื่องจากก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2561 เพียงไม่กี่วัน ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้การทางพิเศษฯ จ่ายค่าชดเชยรายได้ที่ลดลงแก่บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เป็นวงเงิน 1,790 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย รวมเป็นวงเงินกว่า 4,000 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจาก บริษัท ปตท. ได้ 1.75 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าแบ่งการจ่ายเป็น 2 ส่วนคือ เงินพิเศษตามผลการประเมิน (เคพีไอ) ของพนักงาน 1-1.5 เดือน และอีกส่วนจ่ายโบนัสอีก 6 เดือน รวมทั้งสิ้น 7.5 เดือน
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงข้อมูลผลดำเนินงานของแบงก์รัฐ 6 แห่ง ปี 2561 ซึ่งหนึ่งในนั้นมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งพบว่า เติบโตกว่าปีก่อน
ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1.17 หมื่นล้านบาท และถึงแม้ว่า กฟภ.จะมีกำไรสูงและนำเงินส่งเข้ารัฐสูง แต่ด้วยความที่มีพนักงานจำนวนมาก จึงเฉลี่ยโบนัสได้คนละไม่มาก
ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้ 4.08 หมื่นล้านบาท และถูกกำหนดให้จ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 3.75 เท่าของเงินเดือน
ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากธนาคารออมสิน ได้ 1.73 หมื่นล้านบาท โดยสามารถนำส่งรายได้ได้มากกว่าปีก่อน ซึ่งอยู่ท่ี 1.31 หมื่นล้านบาท
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ประกาศจ่ายโบนัสและเงินพิเศษ ประมาณ 4 เดือน
โตโยต้า กำหนดจ่ายโบนัสในอัตรา 7.5 เดือน แบ่งจ่ายเป็น 2 รอบ คือ เดือน มิ.ย.อยู่ที่ 3.5 เดือน และในเดือน ธ.ค. อีก 3 เดือน บวกเพิ่มเงินพิเศษมูลค่า 20,000 บาท
ขณะที่ ค่ายฮอนด้า ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จ่ายโบนัส 7.5 เดือน บวกเงินพิเศษ 25,000 บาท
อ้างอิงข้อมูลจาก การประเมินของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ปี 2560
อ้างอิงข้อมูลจาก การสำรวจโบนัสที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์มอบให้กับผู้บริหารและพนักงาน ปี 2560
*ข้อมูลอัพเดตล่าสุด