ไฮเวย์ไทยแลนด์ 4.0 เชื่อมไทยให้ทันโลก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ไฮเวย์ไทยแลนด์ 4.0 เชื่อมไทยให้ทันโลก

Date Time: 4 ต.ค. 2560 05:01 น.

Summary

  • เป็นสังคมไทย 4.0 มีความเท่าเทียมในสังคม...เป็นคนไทย 4.0 ที่มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม...เป็นเกษตรกร 4.0 เกษตรกรสมัยใหม่ Smart Farmers ที่บริหารจัดการดี ต้นทุนการผลิตต่ำ

Latest

อสังหาฯภูเก็ต ขายดีพุ่ง! 500% “บางเทา-เชิงทะเล” สวรรค์ชายฝั่งของชาวต่างชาติ ทำเลทอง วิลล่าหรู

“เน็ตประชารัฐ” ปลุก “ดิจิทัลไทยแลนด์” สร้างฐานราก เหนือ...ใต้...ออก...อีสาน...กลาง ทุกภาคทั่วไทยให้เท่าเทียมเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ไทยเรายังมีโครงการ “เคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ” ที่วาดหวังกันว่าจะนำประเทศไปสู่ศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของภูมิภาค (ASEAN Digital Hub)

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์โครงการเน็ตประชารัฐให้ข้อมูลว่า โครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ระบบ Asia-Africa-Europe-1 (AAE-1) มีมูลค่าการลงทุน 20,000 ล้านบาท เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย บมจ.ทีโอทีฯได้ร่วมลงทุนกับกลุ่มทุนจากบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำระหว่างประเทศอีก 18 ประเทศ ได้แก่

ฝรั่งเศส, อิตาลี, กรีซ, อียิปต์, ซาอุดีอาระเบีย, จิบูตี, เยเมน, กาตาร์, ยูเออี, โอมาน, ปากีสถาน, อินเดีย, เมียนมา, กัมพูชา, เวียดนาม, ฮ่องกง, มาเลเซีย, สิงคโปร์

ในการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำความจุสูงระบบแรกที่มีเส้นทางหลักผ่านประเทศไทย แนวเส้นทางเคเบิลจากฮ่องกง พาดผ่านภาคใต้ซึ่งมีจุดขึ้นบกที่จังหวัดสงขลา และเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงภาคพื้นดินไปยังจังหวัดสตูล เชื่อมโยงไปยุโรป

โครงการระบบ AAE-1 ใช้เทคโนโลยีล่าสุด 100Gbps ต่อหนึ่งคลื่นนำแสง มีความจุอย่างน้อย 32 ถึง 40 Tbps ปัจจุบันภาพรวมของโครงการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 90 โดย เฟส 1...เส้นทางประเทศไทย-ยุโรป ได้เปิดใช้งานแล้ว และเส้นทางประเทศไทย-สิงคโปร์ อยู่ระหว่างการทดสอบ สำหรับ เฟส 2 เส้นทางประเทศไทย-ฮ่องกง จะสามารถเปิดใช้งานได้ประมาณไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยทีโอทีได้ติดตั้งอุปกรณ์สถานีเคเบิลใต้น้ำปากบารา ที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล และได้ดำเนินการติดตั้งเคเบิลใยแก้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว

น่าสนใจว่า...โครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ระบบ AAE-1 จะสร้างประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศไทย โดยสามารถเพิ่มความจุวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ รองรับความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตของประเทศได้อย่างหลากหลาย...เพียงพอในระยะยาว

ที่สำคัญ...ช่วยลดต้นทุนในการเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ ส่งผลให้บริการของผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศไทยลดลง ทำให้การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ภาคราชการ ธุรกิจถูกลง

แน่นอนว่า โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนที่มีรายได้น้อย ...สามารถใช้เป็นเส้นทางสำรองในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น จากสมอเรือ แผ่นดินไหวกลางทะเล ทำให้การสื่อสารของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล จังหวัดสตูล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดใช้งานเน็ตประชารัฐทั่วประเทศ และบริการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ระบบ Asia-Africa-Europe-1 (AAE-1) อย่างเป็นทางการ

โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยานในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่โมเดลใหม่

“ประเทศไทย 4.0”...ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐบาลได้ขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือโครงการเน็ตประชารัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อย่างที่พอจะรู้กันไปบ้างแล้วว่า ก็เพื่อ ...สร้างโอกาส สร้างรายได้ ต่อยอดการใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษา เศรษฐกิจ สาธารณสุข และสังคม

พลเอกประยุทธ์ ย้ำว่า จากนี้ไปประเทศไทยได้ก้าวสู่ประเทศดิจิทัลเต็มรูปแบบ ด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเราที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค โดยมีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เวียดนาม เป็นประตูสู่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้ง...เมียนมา ลาว กัมพูชา

ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมผ่านโครงการขนาดใหญ่เป็นถนนที่เชื่อมโยงประเทศไทยกับนานาประเทศในภูมิภาค อาทิ ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ระเบียงเศรษฐกิจใต้ (Southern Economic Corridor) และ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic
Corridor) แล้ววันนี้

ประเทศไทยได้ก้าวสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ

พุ่งเป้าไปที่ “โครงการเน็ตประชารัฐ” การขยายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 24,700 หมู่บ้าน สู่ 5 ภูมิภาค...เหนือ...ใต้...ออก...อีสาน...กลาง ทั่วประเทศ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม

เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” บวกกับการลงทุนสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศความยาวถึง 25,000 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่สำคัญของโลก

...เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออก แอฟริกา ยุโรป นำประเทศสู่ศูนย์กลางด้านการสื่อสารของภูมิภาค “ASEAN Digital Hub” รองรับการใช้งานทั้งในและต่างประเทศ

เสริมแกร่งเต็มกำลังในยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลของประเทศ ภายใต้นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0”

โครงการเน็ตประชารัฐ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.netpracharat.com  สำหรับความคืบหน้าในวันนี้ มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที บอกว่า

ณ วันที่ 26 กันยายน 2560 เน็ตประชารัฐได้ติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 16,375 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 66.29 แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 13,435 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 9,007 หมู่บ้าน

ภาคเหนือ จำนวน 4,398 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 2,761 หมู่บ้าน ภาคใต้ จำนวน 4,398 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 2,287 หมู่บ้าน ภาคกลาง จำนวน 2,072 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 1,348 หมู่บ้าน ภาคตะวันออก จำนวน 1,542 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 913 หมู่บ้าน

กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 81 หมู่บ้าน...ติดตั้งแล้วเสร็จ 59 หมู่บ้าน

“รัฐบาลมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สนับสนุนชุมชนทั่วประเทศในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มศักยภาพ และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เติบโต”

เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล...การใช้ประโยชน์จากข้อมูล ตั้งแต่ประกอบอาชีพ การเรียนรู้ ค้าขาย ทำมาหากิน ลดต้นทุน...เพิ่มผลผลิตไปจนถึงเพิ่มช่องทางการขาย เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและเร็วขึ้น เพิ่มความสะดวก ลดเวลา ลดข้อจำกัด เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้ในที่สุดเดินหน้าไปสู่...“ทำน้อยแต่ได้มาก” นำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนรอบด้าน

...เป็นสังคมไทย 4.0 มีความเท่าเทียมในสังคม...เป็นคนไทย 4.0 ที่มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม...เป็นเกษตรกร 4.0 เกษตรกรสมัยใหม่ Smart Farmers ที่บริหารจัดการดี ต้นทุนการผลิตต่ำ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรจากการแปรรูป...เป็น SME 4.0 ที่มีความสามารถทางการค้าขาย เข้าถึงตลาดในประเทศ ตลาดอาเซียน และตลาดโลก และ...เกิดจังหวัด 4.0 ที่มีการกระจายความเจริญทั่วประเทศ เศรษฐกิจขยายตัว ชุมชนเข้มแข็ง

นำ “คนกล้า”...คืนถิ่นฐานบ้านเกิด ท้ายที่สุด “ไทยแลนด์ 4.0”...ฝันให้ไกลแล้วต้องไปให้ถึง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ