“สุริยะ” ผุดไอเดียย้าย “หมอชิต2-เอกมัย-สายใต้”มาจอยกันที่ “สถานีกลางบางซื่อ"

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สุริยะ” ผุดไอเดียย้าย “หมอชิต2-เอกมัย-สายใต้”มาจอยกันที่ “สถานีกลางบางซื่อ"

Date Time: 19 ก.พ. 2568 08:00 น.

Summary

  • “สุริยะ”ผุดไอเดีย!ย้ายสถานีขนส่ง 3แห่ง “หมอชิต2-เอกมัย-สายใต้”มารวมศูนย์ที่สถานีกลางบางซื่อ สั่ง สนข.เร่งศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน

Latest

"อุยกูร์" ไม่กระทบส่งออกไปสหรัฐฯ "พิชัย" ย้ำเจรจาได้-เอกชนยันคุ้มครองแรงงาน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจึงมีแนวนโยบายที่จะให้ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารที่รับผิดชอบโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)ทั้งสถานีขนส่งผู้โดยสาร เอกมัย สายใต้ และหมอชิต 2 มาอยู่ในบริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน โดยแนวคิดสถานีขนส่งผู้โดยสารจะสร้างเป็นตึกและสถานีขนส่งผู้โดยสารแต่ละภาคอยู่ในแต่ละชั้น เมื่อเดินทางเข้า ออก จะสามารถเดินทางเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งที่รวมทุกโหมดได้ในพื้นที่เดียวกัน เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)จะไปศึกษาแนวคิดอย่างละเอียด พร้อมทั้งให้ศึกษาผลกระทบการดำเนินการ งบประมาณก่อสร้าง การบริหารการจราจรภายในและโดยรอบให้มีความคล่องตัว

“เป้าหมายการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารมาที่สถานีกลางกรุงเทพฯ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ และนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟ รถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน ที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีอื่นๆ ซึ่งมีค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย  รวมถึงสามารถขึ้นและทางด่วนเข้า ออกต่างจังหวัดในทุกภาคได้เลย”

ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะเวลา 3 – 4 เดือน และในระหว่างนี้ สนข.จะเสนอขอตั้งงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษามาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ พร้อมออกแบบเบื้องต้น แนวทางคือการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร เอกมัย สายใต้ และหมอชิต 2 มาอยู่ที่เดียวกันโดยรูปแบบจะเป็นการสร้างตึกรองรับทั้ง 3 สถานี แต่อยู่คนละชั้น โดยรถจะวนเข้ามารับ -ส่งและออกจากสถานีกลางฯ ด้วยการขึ้นทางเชื่อมต่อกับทางด่วนออกไป  ซึ่งแนวคิดรวมสถานีขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่เดียวกันก็เป็นที่นิยมในเมืองใหญ่ๆที่การเดินทางจำนวนมา แต่ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า โดยใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น เมืองโตเกียวและโอซาก้า มาปรับใช้กับประเทศไทย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ