ค่าแรง 400 บริษัทธุรกิจพัง-ตกงานระนาว

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ค่าแรง 400 บริษัทธุรกิจพัง-ตกงานระนาว

Date Time: 8 พ.ค. 2567 08:09 น.

Summary

  • สมาคมการค้าต่างๆ ที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ 54 สมาคม ได้ส่งรายชื่อคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ มาที่หอการค้าไทย เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนจนไม่เหลือกำไร

Latest

แบงก์ชาติ เปิดผลกระทบไทย 5 ด้าน หลังสหรัฐขึ้น “ภาษี” ห่วงเจรจาแลก “นำเข้า” ซ้ำเติมภาคการผลิตล้น

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.67 ว่า สมาคมการค้าต่างๆ ที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ 54 สมาคม ได้ส่งรายชื่อคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ มาที่หอการค้าไทย เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนจนไม่เหลือกำไร หอการค้าไทยจะนำรายชื่อดังกล่าว และคาดจะมากถึง 100 สมาคมยื่นต่อ รมว.แรงงาน วันที่ 13 พ.ค.นี้ ก่อนประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ในวันที่ 14 พ.ค.นี้

ทั้งนี้ เข้าใจถึงนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย แต่ขอคัดค้านการปรับขึ้นครั้งนี้ ที่ไม่คำนึงถึงผลการศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 67 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรปรับครั้งที่ 3

“ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 400 บาท เป็นอัตราที่เกินกว่าสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม เพราะแต่ละจังหวัด แต่ละธุรกิจ มีความพร้อมของสภาพเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน การปรับค่าแรงสูงเกินจริงจะทำให้ต้นทุนการผลิต ขนส่ง การบริการ การจ้างงานสูงขึ้น กระทบโดยตรงต่อภาคเกษตร การค้าและบริการ ท่องเที่ยว เอสเอ็มอี จนอาจต้องหยุดหรือลดขนาดกิจการ หรือเอาธุรกิจออกนอกระบบภาษีนำไปสู่การปลดลูกจ้างและเลิกจ้าง และยังกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในไทย เพราะทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ”

ด้านนายอธิป พีชานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยกล่าวว่า การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศจะทำให้คนตกงานแน่นอน และลดการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติ จากขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง เชื่อว่าจะเกิดภาวะช็อก และไม่น้อยกว่า 6 เดือน หลังจากนี้จะเกิดการชะลอการลงทุน และสุดท้ายค่าครองชีพจะสูงขึ้น แรงงานไม่ได้รับประโยชน์จากค่าจ้างที่เพิ่ม เพราะจะเกิดภาวะเงินเฟ้อแน่นอน

ส่วนนายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ในกลุ่มค้าปลีกมีการจ้างงานถึง 65 ล้านคน สูงสุดของการจ้างงานทั้งประเทศ หากขึ้นค่าจ้าง 400 บาท ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 13.5%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ