รอชี้ขาด "อันตราย" สารเร่งเนื้อแดง

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

รอชี้ขาด "อันตราย" สารเร่งเนื้อแดง

Date Time: 20 ก.พ. 2562 08:50 น.

Summary

  • นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่สหรัฐฯมีความพยายามจะส่งออกเนื้อหมูและเครื่องในที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนในการเลี้ยงมายังไทย

Latest

ทรู-เอไอเอสทางโล่ง! ควงแขนประมูลคลื่น

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่สหรัฐฯมีความพยายามจะส่งออกเนื้อหมูและเครื่องในที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนในการเลี้ยงมายังไทยว่า เมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการระหว่างสหรัฐฯและไทยที่พิจารณาเรื่องดังกล่าว ได้ประชุมทางไกล (เทเล คอนเฟอเรนซ์) ร่วมกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว โดยฝ่ายไทยยืนยันว่า ผลการศึกษา และวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการบริโภคเนื้อหมูและเครื่องในที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างตามมาตรฐานของโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (โคเดกซ์) นั้น จะแล้วเสร็จในเดือน มี.ค.นี้ตามกำหนด ซึ่งหากผลออกมาว่าการบริโภคหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงดังกล่าวเป็นอันตรายกับคนไทยจริง รัฐบาลจะไม่อนุญาตให้นำเข้าโดยเด็ดขาด

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (ทิฟา) เมื่อกลางปี 61 ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จใน 8 เดือน หรือประมาณเดือน มี.ค.62 และตกลงว่าผลทางวิทยาศาสตร์ออกมาอย่างไรจะปฏิบัติตาม

“หากในเดือน มี.ค.นี้ ผลการทดสอบออกมาว่า การบริโภคเนื้อหมูและเครื่องในที่มีสารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนตกค้างตามมาตรฐานของโค-เดกซ์ เป็นอันตรายกับคนไทย รัฐบาลไทยจะไม่อนุญาตให้นำเข้าโดยเด็ดขาด ที่สำคัญ ในไทยมีกฎหมายห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงปศุสัตว์ และห้ามตกค้างในอาหารโดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นผู้เลี้ยงและผู้ค้าจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อไทยห้ามคนในประเทศใช้จะยอมให้สินค้านำเข้ามีสารตกค้างได้อย่างไร”

อย่างไรก็ตาม หากไทยจะไม่อนุญาตให้นำเข้าโดยอ้างว่ามีสารเร่งเนื้อแดงที่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค แต่สหรัฐฯก็มีความพยายามที่จะให้ไทยยอมรับมาตรฐานโคเดกซ์ ที่กำหนดให้มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมูและเครื่องในได้ในระดับเล็กน้อย ซึ่งยืนยันว่าในการประชุมของโคเดกซ์เมื่อหลายปีก่อน เพื่อให้สมาชิกพิจารณายอมรับการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงนั้น ที่ประชุมครั้งนั้นมีการล็อบบี้กรรมการให้เห็นด้วย รวมถึงมีการล็อบบี้กรรมการจากไทยด้วย และการลงคะแนนในกลุ่มที่เห็นด้วยมีมากกว่าไม่เห็นด้วยเพียง 1 คะแนนเท่านั้น ไม่ได้เป็นมติเอกฉันท์.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ