Credit Scoring กับการเติบโตของเศรษฐกิจ

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Credit Scoring กับการเติบโตของเศรษฐกิจ

Date Time: 23 ก.ย. 2567 07:02 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • หวังว่ารัฐบาลใหม่จะผลักดันให้กลไกเศรษฐกิจดำเนินการไปอย่างยุติธรรม ไม่ใช่การเพิ่มภาระภาษีแบบเฉพาะกลุ่มแบบไม่มีที่สิ้นสุด

Latest


สภาวะเศรษฐกิจที่การค้าขายของผู้ประกอบการทั่วไปดูจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ยอดปฏิเสธสินเชื่อพร้อมๆ กับยอดหนี้ที่มีปัญหา เช่น ชำระล่าช้าจนกระทั่งหนักๆ คือ เป็นหนี้เสียที่ไม่มีการชำระหนี้เลยมีมูลค่าหรือสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นในสถาบันการเงินทุกแห่ง

ปัญหาของเศรษฐกิจไทยที่ไม่ใช่ระเบิดเวลา แต่ปัญหาจะหนักๆ ขึ้นเรื่อยๆ มาจาก 2 ปัจจัย คือ

1. ค่านิยมการมีครอบครัวของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะครอบครัวขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการมีคู่ครองแต่ไม่มีบุตรหรือ DINK (Dual Income No Kids) หรือการอยู่เป็นโสดใช้ชีวิตอย่างอิสระและเก็บออมเงินเพื่อบริหารชีวิตหลังเกษียณอายุแบบพึ่งพาตนเอง ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเกิดของประชากรไทยลดต่ำลงโดยต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาประเทศเดียวที่มีอัตราการเพิ่มประชากรติดลบ กล่าวคือมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด

2. จำนวนของผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขไทย รวมถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง 2 ประเด็นข้างต้นส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เมื่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมีขนาดเล็กลง ความน่าสนใจที่ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนก็ลดต่ำลง ทำให้ตำแหน่งงานหรือการจ้างงานลดน้อยลง วนเวียนเป็นวงจรเลวร้ายทางเศรษฐกิจ (Vicious Cycle) จากสภาพการกีดกันการค้า หรือถึงขั้นการทำสงครามการค้า ทั้งการตั้งกำแพงภาษี หรือการกำหนดเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศใหม่ๆ

เช่น Carbon Credit จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ากำลังซื้อของคนในประเทศ คือ แรงผลักดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันสถาบันการเงินทุกแห่งต่างให้น้ำหนักการให้สินเชื่อจากข้อมูล บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่ถูกละเลยคือ คะแนนความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Scoring

โดยประชาชนทั่วไปแทบไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วอัตราดอกเบี้ยสำหรับการให้สินเชื่อมีอัตราที่เรียกว่า ดอกเบี้ยสำหรับรายย่อยชั้นดี หรือ MRR (Minimum Retail Rate) ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MRR ควรสอดคล้องกับ Credit Scoring แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญกับการรักษาสิทธิของผู้บริโภค ไม่ปรากฏว่ามีสถาบันการเงินใด ประกาศอย่างชัดเจนว่าหากลูกค้าได้ Credit Scoring ระดับใดจึงจะสามารถเข้าถึงสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี

ผู้เขียนได้ลองขอคะแนนเครดิตของตนเองจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้รับรายงานตามภาพ

จากภาพที่แสดงข้างต้น สร้างความแปลกใจให้ผู้เขียนอย่างมาก เพราะผู้เขียนไม่เคยมีการค้างชำระสินเชื่อแม้แต่รายการเดียว แต่คะแนนเครดิตที่ได้รับมาจากประเด็นที่มีน้ำหนักมากที่สุด 5 ข้อหลักๆ คือ จำนวนบัญชีที่เยอะ ซึ่งผู้เขียนมีบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดหลายที่ แต่ไม่มีการใช้วงเงินแต่อย่างใด สำหรับยอดหนี้คงค้าง เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ผู้เขียนไม่พบว่าในรายงานฉบับเต็มผู้เขียนมียอดหนี้รวมที่ค้างชำระแต่อย่างใด

สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่ถูกนำมาคำนวณ Credit Scoring ล้วนแล้วแต่สร้างความฉงนงงงวยกับวิธีทำ Credit Scoring ของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด การที่ไม่แสดงข้อมูลการคำนวณ Credit Scoring ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่น่าจะช่วยให้คนทั่วๆ ไปสามารถทราบแนวทางการปรับปรุงพฤติกรรมทางการเงินของตนเองได้ กล่าวโดยสรุป Credit Scoring สามารถเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบได้มากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยชั้นดีควรมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ Credit Scoring

ขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน หรือออมเงิน หรือบริหารหนี้สิน จะเป็นไปโดยมีแรงจูงใจจาก Credit Scoring ซึ่งน่าเสียดายที่ผ่านมาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินนี้ที่ใช้เวลานับทศวรรษกว่าจะมี Credit Scoring ระดับชาติ แต่กลไกการรักษาผลประโยชน์ให้ผู้บริโภคจากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวกลับเลือนลาง

ผู้เขียนจึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลใหม่จะผลักดันให้กลไกเศรษฐกิจดำเนินการไปอย่างยุติธรรม ไม่ใช่การเพิ่มภาระภาษีแบบเฉพาะกลุ่มแบบไม่มีที่สิ้นสุด หรือ Earmark Taxes แล้วอ้างไปว่าช่วยจำกัดการบริโภค แต่เงินภาษีที่เก็บเพิ่มนี้ไม่ได้ชดเชยภาระการบริโภคของคนกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้นเลย

รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรกิตติ์ เนตินิยม หัวหน้าภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ