ธปท.บีบแบงก์ลดดอกอย่าแค่ยืดหนี้ ต่อลมเอสเอ็มอีขยายเวลาพักหนี้

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ธปท.บีบแบงก์ลดดอกอย่าแค่ยืดหนี้ ต่อลมเอสเอ็มอีขยายเวลาพักหนี้

Date Time: 12 มิ.ย. 2564 05:30 น.

Summary

  • ประเด็นที่ ธปท.เน้นย้ำและต้องการมากกว่าการพักหนี้ชั่วคราว หรือยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป คือจูงใจให้สถาบันการเงินหาวิธีปรับโครงสร้างหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Latest

"อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ" 35ปีในธุรกิจออร์กาไนเซอร์ "ทุนมนุษย์ผู้มีทักษะ"คือฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงมาตรการขยายเวลาในการพักชำระหนี้ของเอสเอ็มอี ออกไปก่อนจนถึงสิ้นปีนี้ ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบหนักขึ้น

เช่น กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งผู้โดยสาร ส่วนเหตุผลที่ขยายขนาดของเอสเอ็มอีที่ขอพักหนี้ให้มีวงเงินสินเชื่อมากกว่า 100 ล้านบาทนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นวงกว้างมากขึ้นและตรงกับผู้ได้รับผลกระทบจริง นอกจากนั้น มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ผ่านมาที่เจาะจงเฉพาะหนี้ที่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ที่ผ่านมาลูกหนี้กว่า 65% กลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติแล้ว และอีก 30% คาดว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ได้ในเดือน มิ.ย.นี้ ทำให้การประกาศพักหนี้ครั้งนี้ไม่ได้ทั่วไป แต่ให้ในกรณีที่จำเป็น

“อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ ธปท.เน้นย้ำและต้องการมากกว่าการพักหนี้ชั่วคราว หรือยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป คือจูงใจให้สถาบันการเงินหาวิธีปรับโครงสร้างหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับรายได้ที่ลูกหนี้จะได้กลับมาหลังโควิด เพราะหากเป็นการพักหนี้ หรือยืดหนี้ออกไป ลูกหนี้ยังต้องเสียดอกเบี้ย และกลับมาชำระหนี้ในอัตราที่สูงเมื่อครบกำหนด การปรับโครงสร้างหนี้เพื่อหาวิธีผ่อนชำระแบบใหม่ที่เหมาะสมที่ดีกว่าแค่ยืดหนี้ ลดดอกเบี้ยบางส่วนจะเป็นหนทางที่ช่วยลูกหนี้ได้มากกว่า”

ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.64 ที่จัดทำโดย สนค. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต และลดลงในทุกภูมิภาคทุกสาขาอาชีพ เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอก 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมอยู่ที่ระดับ 41.6 ลดลงจาก 43.5 ในเดือน เม.ย.64

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน อยู่ที่ 34.3 ลดลงจากระดับ 36.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต อยู่ที่ 46.5 ลดจาก 48.2 ทั้งนี้ หากจำแนกเป็นรายภูมิภาค พบว่า ลดลงในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคกลาง ลดลงมากที่สุด โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 44.2 มาอยู่ที่ระดับ 39.7 รองลงมาคือกรุงเทพฯและ ปริมณฑล จากระดับ 41.5 มาอยู่ที่ระดับ 38.5 และภาคเหนือจากระดับ 43.5 มาอยู่ที่ระดับ 40.5 ส่วนเมื่อแยกเป็นรายอาชีพ ก็ลดลงทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา ส่วนกลุ่มพนักงานของรัฐ ลดจาก 49.6 มาอยู่ที่ระดับ 47.4 กลุ่มผู้ประกอบการ ลดจาก 43.1 มาอยู่ที่ระดับ 41.2 กลุ่มพนักงานเอกชน ลดจาก 42.4 มาอยู่ที่ระดับ 40.6 กลุ่มเกษตรกร ลดจาก 44.3 มาอยู่ที่ระดับ 42.6 และกลุ่มรับจ้างอิสระ ลดจาก 41.0 มาอยู่ที่ระดับ 39.3.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ