เกษตรกรท่าตะเกียบ ยิ้มรับ ต่อยอดอาชีพ-เงินสะพัดเศรษฐกิจชุมชน

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เกษตรกรท่าตะเกียบ ยิ้มรับ ต่อยอดอาชีพ-เงินสะพัดเศรษฐกิจชุมชน

Date Time: 14 ก.ย. 2561 21:28 น.

Video

เปิดแผนตลาดหลักทรัพย์เรียกความเชื่อมั่น เร่งปลุกมาตรการกระตุ้นตลาดทุน | Money Issue EP.36

Summary

  • งบเสริมสร้างรายได้ ถึงมือเกษตรกรฉะเชิงเทรา 339 โครงการ 113 ชุมชน ชาวท่าตะเกียบ เฮ!! รับโอกาส 2 เด้ง ได้ไฟเขียวจัดซื้อเครื่องผลิตอาหารสัตว์ ลดต้นทุนมหาศาล มีรายได้เพิ่มขึ้น เล็งผลิตอาหารสัตว์

งบเสริมสร้างรายได้ ถึงมือเกษตรกรฉะเชิงเทรา 339 โครงการ 113 ชุมชน ชาวท่าตะเกียบ เฮ!! รับโอกาส 2 เด้ง ได้ไฟเขียวจัดซื้อเครื่องผลิตอาหารสัตว์ ลดต้นทุนมหาศาล มีรายได้เพิ่มขึ้น เล็งผลิตอาหารสัตว์ขาย...

นายสุวิน พ่วงแพ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์คลองตะเกรา ชุมชนที่ 13 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ในโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ว่า ที่ผ่านมาทางกลุ่มได้เสนอโครงการอาชีพเลี้ยงสัตว์แบบยั่งยืน โดยได้รับอนุมัติงบประมาณ 190,000 บาท สำหรับจัดซื้อเครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์ เช่น เครื่องบดอาหาร เครื่องโม่ผสม เนื่องจากกลุ่มได้ร่วมกับสมาชิกประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในชุมชุนอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมและยั่งยืนเท่าที่ควร รวมทั้งประสบปัญหาต้นทุน คือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น หัวเชื้อและอื่นๆ มีราคาแพง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่มักขาดแคลน จึงมีแนวคิดว่า หากเรากลุ่มมีเครื่องโม่ บด สับอาหาร แล้วนำไปถนอมเก็บไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลนวัตถุดิบ ก็จะทำให้ประหยัดต้นทุนได้มาก

ทั้งนี้คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม จึงได้มีมติเสนอโครงการเรื่องการผลิตอาหารสัตว์ใช้ภายในกลุ่มและจำหน่ายในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารและเพิ่มรายได้แล้ว ยังถือเป็นการช่วยเหลือสมาชิกโดยการรับชื้อวัตถุดิบจากสมาชิกและชุมชน ทำให้มีรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง และเป็นการสร้างเศรษฐกิจและเงินหมุนเวียนในชุมชนไปพร้อมๆ กัน

“โครงการนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มได้มาก อย่างแรก คือ ไม่ต้องสิ้นเปลืองปัจจัยในการซื้อหัวเชื้ออาหารสัตว์ แต่สามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น ต้นกล้วย ต้นกระถิน เอาไป โม่ บด สับ แล้วถนอมเก็บไว้ให้สัตว์ ซึ่งเมื่อต้นทุนลดก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไปในตัว ขณะที่สมาชิกในชุมชนมีอาหารปลอดภัยและราคาประหยัดบริโภค ลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยในเบื้องต้นกลุ่มจะผลิตอาหารสัตว์ไว้ใช้ในชุมชนเป็นหลัก แต่ในอนาคตอาจขยายเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายให้ผู้เลี้ยงโค-กระบือต่อไป” นายสุวิน กล่าว

สำหรับพื้น จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีกลุ่มเกษตรกรนำเสนอโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย และได้รับการอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 339 โครงการ จาก 113 ชุมชน โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ขับเคลื่อนทั้งการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาการเกษตร เพื่อเสริมทักษะอาชีพ การรวมกลุ่ม และประกอบธุรกิจการเกษตรขนาดเล็ก และกิจกรรมพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ