ฝันรถไฟซีแอลเอ็มวีทีเชื่อมอินเดีย

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ฝันรถไฟซีแอลเอ็มวีทีเชื่อมอินเดีย

Date Time: 19 ก.ค. 2561 08:32 น.

Summary

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commissions-HLJC) ครั้งที่ 4

Latest

"อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ" 35ปีในธุรกิจออร์กาไนเซอร์ "ทุนมนุษย์ผู้มีทักษะ"คือฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ

ญี่ปุ่นผลักดันไทยเข้าร่วมซีพีทีพีพี “สมคิด” อ้อนลงทุนไฮสปีดเทรน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commissions-HLJC) ครั้งที่ 4 ที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นประธานร่วมว่า การหารือได้ครอบคลุมความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจรอบด้าน โดยญี่ปุ่นรับปากที่จะผลักดันไทยเข้าสู่การเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกที่ครอบคลุมและก้าวหน้า (ซีพีทีพีพี) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 11 ชาติ โดยญี่ปุ่นกับประเทศสมาชิกอยู่ระหว่างการประชุม และยืนยันว่า ในการรับรองประเทศสมาชิกใหม่จะมีไทยในลำดับต้นๆ ซึ่งการเข้าร่วมในความตกลงนี้จะมีประโยชน์กับไทยมาก เห็นได้จากประเทศเวียดนามที่เจริญมาได้ก็เพราะอยู่ในกลุ่มนี้ ฉะนั้น ไทยจึงต้องเป็นสมาชิกกับกลุ่มนี้

“มีประเด็นที่สำคัญมากซึ่งไทยได้ชักชวนทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮ่องกง ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือแอคเมคส์ ประกอบด้วย กลุ่มซีแอลเอ็มวีที คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ซึ่งล่าสุดกับญี่ปุ่น ผมเสนอให้ร่วมมือกันทำโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบรถไฟทางคู่จากเวียดนาม ผ่านกัมพูชา ลาว ไทย เมียนมา ไปจนถึงอินเดีย ซึ่งมีการศึกษาเฟส 1 ไปแล้วจึงขอให้มาร่วมในเฟส 2 ซึ่งไทยเคยกระทุ้งไปเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่ตอนนั้นญี่ปุ่นสนใจเส้นทางไปนิคมอุตสาหกรรมทวายของเมียนมา แต่ในตอนนี้ขอให้ญี่ปุ่นมองเน้นที่แอคเมคส์”

สำหรับการลงทุนในประเทศไทยนั้น ญี่ปุ่นสนใจทุกโครงการที่ไทยกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และที่ผลักดันมากคือ ขอให้ไทยเร่งรัดนำโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งใช้ระบบของรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็ว เนื่องจากมีผลการศึกษาออกมาแล้วภายใต้มูลค่าลงทุน 420,000 ล้านบาท ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ระบุว่าพร้อมนำเข้า ครม.ในเดือน ส.ค.นี้ ขณะที่ตนเองเสนอให้ญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนกับไทยในเส้นทางนี้ แทนการขายเพียงอุปกรณ์และเทคโนโลยี ซึ่งต้องรอว่าญี่ปุ่นจะมีคำตอบอย่างไร.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ