ยักษ์ใหญ่ 25 ประเทศ ถกธุรกิจยางไทย คาดสั่งซื้อมากกว่า 1.5 หมื่นล้าน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ยักษ์ใหญ่ 25 ประเทศ ถกธุรกิจยางไทย คาดสั่งซื้อมากกว่า 1.5 หมื่นล้าน

Date Time: 2 ส.ค. 2560 15:00 น.

Video

“โกษาปาน ดิสติลเลอรี่” สุรากลั่นเชื่อมวัฒนธรรม | BrandStory Special EP x เมรัยไทยแลนด์

Summary

  • "พาณิชย์" เปิดเวทีจับคู่ธุรกิจยางพารา ดึงยักษ์ใหญ่ 25 ประเทศกว่า 100 ราย เจรจาผู้ประกอบการไทย คาดยอดสั่งซื้อมากกว่า 1.5 หมื่นล้าน ด้านเอกชน ชี้ราคายางครึ่งปีหลังปรับขึ้น หลังตลาดโลกกลับมาซื้อยางไทย และน้ำท่วม ทำผลผลิตหาย 30%

Latest


"พาณิชย์" เปิดเวทีจับคู่ธุรกิจยางพารา ดึงยักษ์ใหญ่ 25 ประเทศกว่า 100 ราย เจรจาผู้ประกอบการไทย คาดยอดสั่งซื้อมากกว่า 1.5 หมื่นล้าน ด้านเอกชน ชี้ราคายางครึ่งปีหลังปรับขึ้น หลังตลาดโลกกลับมาซื้อยางไทย และน้ำท่วม ทำผลผลิตหาย 30%...

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้จัดงานเจรจาการค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพารา ระหว่างผู้นำเข้าต่างประเทศและผู้ประกอบการไทย โดยมีผู้ซื้อ ผู้นำเข้ากว่า 100 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลก เช่น จีน อินเดีย บังกลาเทศ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐ ฯลฯ ร่วมเจรจาซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางพาราในครั้งนี้ คาดว่าจะเกิดมูลค่าการซื้อขายภาพรวมมากกว่า 15,000 ล้านบาท

“กิจกรรมการเจรจาการค้าครั้งนี้ จะเป็นความสำเร็จของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการขยายตลาด และการสร้างพันธมิตรกับคู่ค้ารายใหม่ รวมทั้งยังเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ทางการค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ โดยสินค้ายางพาราที่ได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าต่างประเทศ ได้แก่ ยางล้อ ยางธรรมชาติ ถุงมือยาง ยางคอมปาวด์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ” นางอภิรดี กล่าว

ด้านนางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ผู้นำเข้ายางและผลิตภัณฑ์รายใหญ่จากต่างประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยผู้นำเข้าจากประเทศจีน อาทิ บริษัท ชิงต่าว ดับเบิ้ลสตาร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ภายใต้แบรนด์ดับเบิ้ลสตาร์ ซึ่งเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของจีน, บริษัท ชิงต่าว เซนทูรี่ ไทร์ ผู้ผลิตและจำหน่ายล้อรถยนต์และเครื่องบิน มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีกำลังการผลิต 27 ล้านล้อต่อปี และบริษัท กวางโจว ซิโน รับเบอร์ ผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่ของมณฑลกวางตุ้ง

นอกจากนี้ ยังมีบริษัท บาเรซ อินดัสเตรียล คอมเพล็กซ์ จากอิหร่าน ผู้ผลิตยางรถยนต์และอะไหล่รถยนต์ทำจากยางพาราใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ, บริษัท คาเร็กซ์ เบอร์ฮัด จากมาเลเซีย ผู้ผลิตถุงยางอนามัยรายใหญ่ของโลก มีกำลังการผลิต 5 ล้านชิ้นต่อปี, บริษัท เดอะ เซาเทิร์น รับเบอร์ อินดัสตรี จากเวียดนาม ผู้ผลิตนำเข้าและผู้ผลิตยางในรถจักรยาน จักรยานยนต์ และรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นต้น มาเจรจาซื้อขายกับผู้ประกอบการไทยรายสำคัญที่เข้าร่วมงาน อาทิ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยฮั้ว ยางพารา จำกัด (มหาชน) บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด และสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภทบ่อทอง จำกัด

ขณะที่ นายกรกฏ กิตติพล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยฮั้วยางพารา กล่าวว่า แนวโน้มราคายางพาราในช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสปรับตัวดีขึ้น โดยราคาน่าจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม (กก.) ละ 60-70 บาท จากปัจจุบัน กก.ละ 52-23 บาท เพราะคาดว่าผู้ซื้อในตลาดโลกจะได้กลับเข้ามาซื้อยางพาราแล้ว จากก่อนหน้านี้ชะลอการซื้อ รวมทั้งปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคอีสาน ส่งผลให้กำลังการผลิตยางพาราในประเทศหายไปประมาณ 30% โดยปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก และส่งออกไปตลาดจีนอันดับหนึ่ง สัดส่วนประมาณ 40% รองลงมาเป็นอินเดีย สหรัฐฯ เป็นต้น

สำหรับการส่งออกยางพาราในเดือน มิ.ย. 60 มีมูลค่า 14,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.8% เทียบกับเดือน มิ.ย. 59 การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา 28,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.7% ส่วนการส่งออกยางพาราในช่วง 6 เดือน (เดือน ม.ค.-มิ.ย.) ปี 60 มีมูลค่า 113,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 170,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.2%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ