นวัตกรรมทางการแพทย์แห่งอนาคตที่น่าสนใจจาก ฟิลิปส์ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในตัวช่วยสร้างระบบที่รองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ทำให้เกิดการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
แน่นอนว่าสถานการณ์ในปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก (Stroke) กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและคนทั่วโลกที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศวัย
ส่วนใหญ่แล้ว โรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก) มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนส่งผลให้เซลล์สมองเสียหายอย่างถาวร

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Ischemic Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของโลก และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการระยะยาว
โดยข้อมูลจากระบบรายงานฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 ประเทศไทย พบผู้ป่วยสะสมโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 358,062 ราย และเสียชีวิตจำนวน 39,086 ราย และสถานการณ์ทั่วโลกพบว่า 1 ใน 4 ของประชากรป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 12 ล้านคน ทุก ๆ 3 วินาที พบผู้ป่วยรายใหม่ 1 คน และเสียชีวิตมากถึง 6.5 ล้านคน
...
แน่นอนว่าหากพูดถึงสโตรกแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกว่าเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นลำดับต้น ๆ แต่สโตรกนั้นยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี เป็นจำนวนมากอยู่เช่นกัน ซึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 12 ล้านคนที่เกิดขึ้นต่อปี ที่กล่าวมาข้างต้นมีแนวโน้มพบในคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น
รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองทั้งทางตรงและทางอ้อม คาดการณ์ว่ามีมูลค่าประมาณ 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และอาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในอีก 25 ปีข้างหน้า

เหตุนี้เองทำให้ รอยัล ฟิลิปส์ (Philips) ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก และพันธมิตรมุ่งมั่นพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกขั้นตอนของการดูแล ตั้งแต่การพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสม ไปจนถึงการสนับสนุนให้ประชากรทั่วโลกสามารถเข้าถึงการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก
โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2023 จนถึงปัจจุบัน ฟิลิปส์ได้ร่วมมือกับองค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลก (WSO) ในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และร่วมรณรงค์ให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของโรค และได้ร่วมกันจัดทำเอกสารนโยบายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาและช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพราะหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดอัตราการพิการ การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายการรักษาได้

แนวทางล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด 6 มาตรการเชิงนโยบายในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์การรักษา ลดค่าใช้จ่ายโดยตรง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขที่กำลังเผชิญกับปัญหา ได้แก่
- การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดคุณภาพ ประเมินช่องว่างในการรักษา และให้ความสำคัญกับโรคหลอดเลือดสมองในแผนสุขภาพระดับโลก ระดับชาติ และระดับภูมิภาค
- ขยายและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการบริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่จำเป็น ประกอบด้วย เช่น หน่วยรักษาเฉพาะทาง และการให้ยาละลายลิ่มเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous Thrombolysis)'
- ขยายและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง เช่น การใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการกำจัดลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง (Mechanical Thrombectomy)
- เพิ่มทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากรทางการแพทย์
- ระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจำเป็นต้องครอบคลุมทั้งบริการพื้นฐาน และการรักษาขั้นสูง
- วางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ทั้งในระดับพื้นฐานและขั้นสูง
...

จากแนวทางที่ได้กล่าวมา ทำให้ทางฟิลิปส์ มีความตั้งใจที่จะขยายการเข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกด้วยเทคนิค “Endovascular Treatment” ได้ปฏิวัติแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ปี 2015
โดยช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนมากรอดพ้นจากความพิการตลอดชีวิตได้ เพราะทุก ๆ 2 วินาที มีคนป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก แต่ 40% ของผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไป สำหรับการรักษาขั้นพื้นฐาน และปัจจุบันมีผู้ป่วยน้อยกว่า 5% ที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีโซลูชันที่ช่วยยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้ว แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยน้อยกว่า 5% ที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การเพิ่มการเข้าถึงการรักษาจำเป็นต้องอาศัยการลงทุน ทั้งในโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง

...
รวมนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็ว และสำหรับการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

Tempus ALS Monitor – เครื่องติดตามสัญญาณชีพสำหรับหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่สามารถส่งข้อมูลผู้ป่วยจากข้างนอกไปยังโรงพยาบาลแบบเรียลไทม์ ขณะที่กำลังเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบนรถพยาบาล พร้อมแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อเตรียมการรักษา
Telestroke Program – ระบบให้คำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบทางไกล เพื่อช่วยผู้ป่วยในการวินิจฉัย และเพิ่มโอกาสในการได้รับยาละลายลิ่มเลือด (tPA) ได้ทันเวลา
การวินิจฉัยด้วย Spectral CT 7500 และ SmartSpeed MR – ช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดและรวดเร็ว สามารถมอนิเตอร์และปรับปรุงการรักษาให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องที่สุด
Nicolab StrokeViewer – ช่วยให้แพทย์อ่านผลวินิจฉัยและตัดสินใจรักษาได้รวดเร็วขึ้น โดยสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ไม่สามารถประมวลผลได้จากภาวะหลอดเลือดโต (LVO) ลง 20%
...
Azurion Image Guided Therapy – เครื่องสวนหลอดเลือดสมองที่วินิจฉัยและตอบสนองได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

ePatch – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AFib) ตั้งแต่ระยะแรก ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมแห่งอนาคตสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

นวัตกรรมที่เป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยนวัตกรรมทั้งหมดจะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการช่วยชีวิตผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองด้วยการเข้าถึงการรักษาที่ทันท่วงที รักษาผู้ป่วยได้มากขึ้นและปรับปรุงผลลัพธ์ของการดูแลรักษาให้ดีขึ้น

- "อัปเดต CT มาตรฐานใหม่" ใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
แน่นอนว่า CT หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ใช้ในการสแกนสมองได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว ถูกนำมาใช้วินิจฉัย ใช้งานมากที่สุดในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองถึง 95% ของเคสทั้งหมด
โดย CT รุ่นใหม่นี้ สามารถระบุชนิดของโรคหลอดเลือดสมองได้ ไม่ว่าจะเป็นเลือดออกในสมอง (hemorrhagic) หรือการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง (ischemic) รวมถึงการแสดงตำแหน่งความเสียหายของสมองได้: สามารถระบุบริเวณสมองที่ได้รับความเสียหาย และสามารถประเมินว่าส่วนใดของสมองที่ยังสามารถรักษาได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเสนอแนวทางในการรักษาเพื่อให้แพทย์เลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด
- "Smart Speed with Philips MR" คมชัด รวดเร็ว สำหรับผู้ป่วยทุกคน
เครื่อง MRI เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเครื่อง Philips MRI ได้มีการพัฒนามาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Speed ที่ให้ภาพคุณภาพสูง สามารถตรวจผู้ป่วยได้หลากหลาย มาพร้อมฟีเจอร์ Compressed SENSE ที่มีอัลกอริธึม AI เข้ามาช่วยให้การสแกนทำได้รวดเร็วขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับ MRI รุ่นก่อนหน้านี้ และยังได้ภาพที่ละเอียดคมชัดขึ้น 65%
รวมไปถึงฟีเจอร์ภาพ Black Blood ยังช่วยให้แพทย์สามารถแยกสัญญาณเลือดในหลอดเลือดจากสัญญาณเลือดในลำตัวของหลอดเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจในการวินิจฉัยโดยการถ่ายภาพสมองแบบ 3 มิติ ด้วยความละเอียดภาพขั้นสูงอีกด้วย

- "Philips Azurion" เครื่องตรวจสวนหลอดเลือดแบบนำวิถี ช่วยให้การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
Philips Azurion จะเข้ามาช่วยในการทำหัตถการทั้งแบบทั่วไปและขั้นสูงได้อย่างมั่นใจด้วยการมอบประสบการณ์ใช้งานที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ผสานเข้ากับระบบภาพนำวิถีอัจฉริยะ
ทั้งหมดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความซับซ้อนของกระบวนการรักษา และให้ภาพคมชัดทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ
ทำงานควบคู่กับโซลูชันส์ที่ช่วยปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ในห้องปฏิบัติการให้สะดวกง่ายดายแก่เจ้าหน้าที่ มีระบบคำแนะนำขณะใช้งาน รองรับการทำงานที่ซับซ้อน และช่วยลดความท้าทายในขณะทำหัตถการเพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
