นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAIST) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแบคทีเรียด้วยวิธีการนาโนวิศวกรรม เพื่อใช้ในการต่อต้านโรคมะเร็ง งานวิจัยดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจาก รศ.อิจิโร มิยาโกะ และนักศึกษาในโครงการวิจัย คือ ชิอิตัล เรกุ ตีพิมพ์ในวารสาร Nano Letters ระบุว่า อนุภาคนาโนที่เรียกว่า ICG ที่ห่อหุ้มด้วย Cremophor EL ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น สามารถนำไปใช้กับแบคทีเรีย NIR เลเซอร์ ที่ผ่านกระบวนการวิศวกรรมนาโน เพื่อใช้ในการบำบัดโรคด้วยภูมิคุ้มกันที่ได้จากความร้อนของแสง ต่อยอดจากเดิมที่วิธีการทางนาโนเทคโนโลยีถูกนำไปใช้ในการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของแบคทีเรีย
แบคทีเรีย NIR เป็นแบคทีเรียเชิงแสงที่กระตุ้นการมองเห็น มีคุณสมบัติเด่นในการดูดกลืนแสง เรืองแสง และสามารถแปลงความร้อนด้วยแสงที่มีประสิทธิภาพ เมื่อนำมาใช้ในการบำบัดรักษามะเร็ง แบคทีเรียดังกล่าวช่วยให้การมองเห็นเนื้องอกที่ชัดเจนขึ้น และกำหนดเป้าหมายทางชีวภาพของก้อนเนื้อได้มากขึ้น การเรืองแสงของแบคทีเรีย NIR ที่ถูกกระตุ้นด้วยนาโนเทคโนโลยี ช่วยในการเข้าไปรักษาก้อนมะเร็งให้ลดขนาดลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แม้การค้นพบครั้งนี้จะยังเป็นแค่ความสำเร็จในขั้นสัตว์ทดลอง
แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการค้นพบประสิทธิภาพทางเคมีที่แข็งแกร่งของการลดทอนเซลล์แบคทีเรียที่มีชีวิต น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายแสง รวมถึงนำไปสู่การพัฒนายามะเร็งที่มีประสิทธิภาพในอนาคตด้วย.