ภาพอินฟราเรดที่ถ่ายในช่วง 4 เดือนท้ายของปี 2564 โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุภาคพื้นดินทั่วโลก ที่ร่วมสังเกตการณ์เทหวัตถุท้องฟ้าจนเป็นเครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Inter ferometer-VLBI) ในชิลี ได้ให้ภาพที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยจับภาพบริเวณรอบๆหลุมดำมวลยิ่งยวด “ซาจิทาเรียส เอ สตาร์ (Sagittarius A* หรือย่อสั้นๆว่า Sgr A*) ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่เกิดจากก๊าซร้อนและฝุ่นรอบๆตรงใจกลางดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

ทีมนักดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของสถาบันมักซ์พลังค์ ในเมืองการ์ชิง แห่งเยอรมนี เผยว่า การใช้ประโยชน์จากการรบกวนของ คลื่นแสงโดยลำแสงของกล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวเพื่อสร้างภาพที่คมชัดกว่ากล้องโทรทรรศน์เพียงตัวเดียว ทำให้ภาพที่ได้มานั้นมีความละเอียดเชิงพื้นที่อย่างน่าทึ่ง แสดงให้เห็นจุดแสงที่โคจรรอบวัตถุศูนย์ กลาง ดูแล้วก็เหมือนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ แต่แท้จริงแล้วมันเป็นดาวฤกษ์ที่หมุนรอบหลุมดำมวลยิ่งยวดที่ใจกลางทางช้างเผือกนั่นเอง

นอกจากนี้ การศึกษาวิถีโคจรและคำนวณจากดาวแต่ละดวง ทีมนักดาราศาสตร์ยังสามารถประเมินขนาดของมวลหลุมดำดังกล่าวที่ใจกลางทางช้างเผือกได้แม่นยำที่สุดคือ 4 ต่อ 30 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์.

(ภาพประกอบ Credit : ESO/GRAVITY collaboration)