นักวิทยาศาสตร์จินตนาการมานานแล้วถึงการพัฒนาวัสดุที่อ่อนนุ่มให้สามารถเปลี่ยนแปลงสีเรืองแสงที่หลากหลายไปมาได้อย่างง่ายดาย แต่การจะสร้างจากวัสดุสังเคราะห์ดูเหมือนจะไม่อาจเปลี่ยนสีได้อย่างแนบเนียนเหมือนกับกิ้งก่า เพราะโครงสร้างของเปลือกหุ้มแกนซ้อนกัน 2 ชั้นถือเป็นความแปลกใหม่เชิงวิวัฒนาการของกิ้งก่าพันธุ์คาเมเลียนแพนเธอร์ ที่ช่วยให้ผิวหนังของพวกมันแสดงโครงสร้างสีที่ซับซ้อนได้

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนและเยอรมนี นำโดยสถาบันเทคโนโลยีวัสดุและวิศวกรรมศาสตร์หนิงโป แห่งสภาวิทยาศาสตร์จีน เผยว่าได้ออกแบบวัสดุเปลี่ยนสีเทียมที่เลียนแบบผิวกิ้งก่าโดยมีใช้ลูมิโนเจนซึ่งเป็นโมเลกุลที่ทำให้ผลึกเรืองแสง วางเป็นชั้นแกนกลางและชั้นเปลือกที่แตกต่างกัน เนื่องจากวิธีการและปฏิกิริยาที่ชั้นแกนกลางและเปลือกของไฮโดรเจลเมื่อซ้อนทับกันก็ทำให้เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินหรือสีเขียวได้เมื่อถูกกระตุ้นโดยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือค่าพีเอช (pH)

ผลวิจัยพบว่าสารเคมีไฮโดรเจลที่ใช้ 2 ลูมิโนเจนซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยการออกแบบนี้ สามารถตรวจจับความสดของอาหารทะเลได้โดยการเปลี่ยนสี โดยตอบสนองต่อไอระเหยของสารเอมีนที่จุลินทรีย์ปล่อยออกมาในขณะที่ปลากำลังเน่า นักวิจัยมองว่าในอนาคตจะใช้วัสดุใหม่นี้ไปพัฒนาใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยืดหยุ่นได้ เช่น การเตือนภัยในหุ่นยนต์และเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลง.


(ภาพประกอบ Credit : Lu et al./Cell Reports Physical Science)