เมื่อเร็วๆนี้ด้วยความพยายามร่วมมือกันของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและมหาวิทยาลัยโมนาช ในออสเตรเลีย ได้ค้นพบหลุมดำขนาดประมาณ 55,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ทีมระบุว่าหลุมดำแห่งนี้เป็นหลุมดำมวลปานกลาง (Intermediate-mass black hole)
นักวิจัยเผยว่าการระเบิดของรังสีแกมมาเพียงชั่วแวบในเวลาครึ่งวินาที แสงพลังงานสูงที่ปล่อยออกมาจากดวงดาวที่ควบรวมกันคู่หนึ่ง ก็ถูกสังเกตพบการส่งคลื่นความถี่สูงสะท้อนจากหลุมดำมวลปานกลางที่เข้ามาแทรก โค้งเส้นทางของแสงที่เดินทางมายังโลกนั้นทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นแสงวาบเท่ากัน 2 ครั้ง ทีมวิจัยดังกล่าวเชื่อว่าหลุมดำที่เพิ่งค้นพบนี้อาจเป็นหลุมดำดึกดำบรรพ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเอกภพหรือจักรวาลยุคแรกๆ ก่อนที่ดาวฤกษ์และกาแล็กซีกลุ่มแรกจะก่อตัวขึ้นมา
การค้นพบนี้จะทำให้เกิดความกระจ่างใหม่ๆ เกี่ยวกับการก่อตัวของหลุมดำมวลยิ่งยวด หรือหลุมดำยุคแรกๆ เหล่านี้อาจเป็นต้นกำเนิดของหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อาศัยอยู่ในใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกในปัจจุบันก็เป็นได้ ทั้งนี้ นักวิจัยคาดว่ามีหลุมดำมวลปานกลางประมาณ 46,000 แห่ง อยู่ใกล้กับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา.
(ภาพประกอบ Credit : NASA/JPL-Caltech)